ยึดหัวใจยุทธศาสตร์ซุนวู ชนะสงครามโดยไม่ต้องรบ


“รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”

‘ก่อศักดิ์’ ยึดหัวใจยุทธศาสตร์ซุนวู

ชนะสงครามโดยไม่ต้องรบ

“รู้เขารู้เรา  รบร้อยครั้ง  ชนะร้อยครั้ง”  ยุทธศาสตร์หนึ่งในตำราพิชัยสงครามซุนวู  ที่บรรดาผู้นำองค์กรทั้งหลายต่างรู้จัก  และนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง  ทั้งในแวดวงการทหารและธุรกิจ  สำหรับวงการธุรกิจนั้น  ก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท  ซีพี  ออลล์  จำกัด  (มหาชน )  ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้บริหารที่นำปรัชญาตะวันออกมาบริหารองค์กร  เสริมสร้างความสำเร็จ  ตลอดจนสร้างธุรกิจร้านสะดวกซื้อ  เซเว่น  อีเลฟเว่น  ผงาดขึ้นเป็นบริษัทชั้นนำ  “ตำราพิชัยสงครามที่ดัง ๆ ของจีนมี  7  เล่มที่ผมชอบอ่านคือ  “ตำราพิชัยสงครามที่ดัง ๆ  ของจีนมี  7 เล่ม  แต่เล่มที่ผมชอบอ่านคือ ตำราพิชัยสงครามซุนวู  เพราะเล่มอื่น ๆ อีก 6 เล่มจะเน้นเทคนิคการจัดทัพ  และอาวุธ  ขณะที่ตำราพิชัยสงครามของซุนวู  เป็นปรัชญาการเสี่ยงสงคราม  หรือชนะโดยไม่ต้องรบ” ซีอีโอของซีพี  ออลล์  เริ่มต้นสนทนา  ในการบริหารองค์กร  ผมนำหลักปรัชญาของซุนวูมาปรับใช้มากกว่าจะใช้ภาคเทคนิคซึ่งหลักในตำราพิชัยสงครามซุนวูก็คืออย่าเสียทรัพยากรในการทำลายคู่ต่อสู้  ต้องใช้ทรัพยากร  เช่น เงินทอง เวลา  คน  เทคโนโลยี  ทุกอย่างมาสร้างตัวเองให้แข็งแกร่ง  พัฒนาคน  หาต้นทุนที่ถูกลง  ผลิตให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น  ลดต้นทุน  ปรับแพ็กเกจจิ้ง  ฝึกคนให้เก่งขึ้นในเรื่องบริการ  มีการบริการหลังการขายที่ดีให้ลูกค้าประทับใจ  บริษัทที่มีบริการหลังการขายดีจะไปโลด  ต่อให้มีพนักงานขายที่ขายเก่ง  แต่บริการหลังการขายไม่ดีก็แย่  ฉะนั้นทรัพยากรต้องเอามาสร้างตัวเองให้แข็งแกร่ง  จะไม่เอาเงินไปทำลายคู่ต่อสู้  จะแข่งกับตัวเอง  นี่คือหลักการของหมากล้อม  และซุนวู  นอกจากนี้  ก่อศักดิ์  กล่าวอีกว่า  เขาให้ความสนใจในเรื่อง  พลังแฝงหรือพลานุภาพ  ซึ่งคือโมเมนตัม  กล่าวคือเมื่อกองทัพสองฝ่ายซึ่งมีกำลังเท่ากันมาประจันหน้ากัน  กองทัพฝ่ายหนึ่งรุกเข้าไปอีกฝ่ายที่ตั้งรับ  ผลคือฝ่ายรุกซึ่งเป็นฝ่ายที่วิ่งเข้าไปหาจะชนะ  นี่คือพลังของการวิ่ง  หรือเปรียบเทียบกับน้ำ  ยามปกติก็ไหลอ่อน ๆ แต่ไหลมาด้วยความเร็วก็สามารถพัดพาเอาก้อนหินใหญ่ ๆ ไปได้  หรือแรงลม  พายุก็สามารถกวาดต้นไม้ต้นใหญ่ ๆ ให้โค่นลงได้  เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการจัดวางกำลังคนของกองทัพ  ต้องจัดให้เกิดพลังในที่นี่พลังยังหมายถึงความกล้าหาญ  เพราะฉะนั้นฝ่ายที่บุกถูกสอนว่าเมื่อบุกเข้าไปแล้วก็ปล้น  ฆ่า  เป็นโบนัสให้กับกองทัพ  แต่จะเสียกำลังใจสำหรับฝ่ายที่ตั้งรับ  เพื่อปกป้องบ้านเมือง  ปกป้องพี่น้อง  ฉะนั้น  ใจที่ฮึกเหิมของกองทัพคือพลานุภาพ  เมื่อประกอบกับจังหวะสุดท้ายที่โฉบเหยื่อ  กองทัพที่มีผู้นำที่เก่งต้องสามารถทำให้กองทัพเกิดพลานุภาพที่เชี่ยว  และจังหวะต้องสั้น

                สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจช่วงแรก ๆ หรือเพิ่งเริ่มธุรกิจ  ถ้าเข้าใจคำว่า พลัง หรือ พลานุภาพ  ไม่ว่าจะมีทุนมากหรือน้อย  นักธุรกิจจะต้องคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่มีให้เกิดประโยชน์โดยจะต้องรู้จักสร้างคอนเนกชันใช้เงินน้อยแต่มีคนสนับสนุนมีคอนเนกชัน  ก็ประสบความสำเร็จได้  แต่ถ้าทุนน้อย  เพื่อนก็น้อย  ยากที่จะประสบความสำเร็จ ยากที่จะก่อให้เกิดพลัง

                “ในการดำเนินธุรกิจ  ผมจะไม่ยั้งกับลูกทีมว่าจะสร้างกำไรเท่าไร หรือให้ลูกทีมสร้างกำไรสูงสุด  แต่ผมบอกว่าอยากจะได้พลังสูงสุด  เพราะถ้าเมื่อไรที่ธุรกิจเข้าสู่กำไรสูงสุดผู้บริหารก็จะกดดันทีมงานให้หากำไรให้ได้มากที่สุด  ผลก็คือ  เหนื่อย เบื่อ บาดเจ็บ ลาออก สอง จะลดค่าใช้จ่ายในการอบรม ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนก็จะได้กำไรสูงสุด แต่สูญเสียพลังสูงสุด ฉะนั้นถ้าเข้าใจถึงพลังแล้ว บริหารงานให้ทีมงานเกิดพลังสูงสุด โดยยอมสูญเสียกำไรสูงสุด ไม่สูญเสียพลัง จะยั่งยืน”

                ฉะนั้น การบริหารธุรกิจให้ลุล่วงต้องคำนึงถึงพลัง บริหารงานให้เกิดพลังถ้าบริษัทมีทีมงานที่ทุกคนมีใจที่ทุ่มเทและช่วยกันคิดหาวิธีการ มีส่วนร่วมในการบริหาร องค์กรนั้นก็ได้ไปโลด แต่ถ้ามีคนที่เกียร์ว่างมาก องค์กรนั้นพังแน่เพราะมีแต่กลัวผิด กลัวทำผิด พูดผิด ทำให้องค์กรใหญ่แต่เกิดพลังน้อยได้ ซึ่งผู้บริหารต้องรู้ว่า พลังขององค์กรเกิดได้อย่างไร มีกำลังใจหรือไม่ ฉะนั้น คนน้อยอาจมีพลังมาก และคนมากอาจมีพลังน้อยก็ได้

                อย่างเช่น ในการต่อสู้ ตำราพิชัยสงครามซุนวูแนะนำว่า ทำให้คู่ต่อสู้ไม่รู้ว่ากองทัพฝ่ายเราจะบุกไปที่จุดไหน ก็ทำให้ศัตรูต้องแบ่งกำลังออกไปรับหลายจุด สมมติมี 10 จุด ก็จะแบ่งกำลังออกไปยันไว้ครบทุกจุด เท่ากับแต่ละจุดมีกำลังเหลืออยู่ 10 % ฉะนั้นถึงแม้ฝ่ายเรามีกำลังน้อย อาจมีแค่ครึ่งหนึ่งหรือ 50 %ของคู่แข่ง แต่ในที่สุดหลังจากหลอกไปหลอกมาก็บุกไปที่จุดเดียว เท่ากับ 5 เจอ 1 ดังนั้นถึงแม้กำลังน้อยกว่าก็จริงแต่สามารถสร้างสถานการณ์กลับมาได้เปรียบ

                ที่สำคัญกว่านั้น ตำราพิชัยสงครามซุนวูบอกไว้ว่า ชัยชนะไม่ได้มาจากการไปเอามา การชนะจะมาจากการเฝ้าดูจังหวะ ฝ่ายที่คิดจะเอาชนะจะเป็นฝ่ายที่แพ้ กลายเป็นปรัชญาจนถึงปัจจุบันว่า สงครามเป็นเรื่องที่ควรเลี่ยง  โดยแนวคิดของซุนวูก็คือ  ประเทศควรต้องมีการใช้งบในการหาข่าว  ต้องมีสายลับทำไมต้อเอาชีวิตทหารไปเป็นเรื่องเสี่ยง  ถ้ารบแพ้ประเทศย่อยยับ  รบชนะก็บาดเจ็บ  เศรษฐกิจก็พัง  เพราะคนหนุ่มสาวถูกเกณฑ์ไปใช้กับการทหาร  ประเทศสูญเสียเงินมหาศาล  แต่ถ้าใช้เงินสร้างระบบสายลับ  ซึ่งไม่มากเท่าทำสงครามเพื่อรู้ว่าทำไมเขาต้องการรบกับเรา  หาสาเหตุให้เจอแล้วแก้ที่สาเหตุ  สงครามก็สลาย  ถ้าสลายไม่ได้ก็ต้องใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ บีบจนคู่ต่อสู้รู้สึกว่าน่าจะแพ้  ยอมดีกว่า  สลายการบาดเจ็บทั้งคู่  แต่ถ้ายังสลายไม่ได้อีกจำเป็นต้องรบ  ก็จะมีเทคนิคต่าง ๆ แต่มีหลักการว่า  เมื่อได้เปรียบต้องให้คู่ต่อสู้เจรจายอมแพ้ได้อย่าคิดทำลายหมด  แม้แต่วงล้อมก็ไม่ให้กระชับจนไม่มีช่องทางหนีไปได้  อย่าทำให้คู่ต่อสู้กลายเป็นสุนัขจนตรอก  สงครามเพื่อสันติภาพ  เพราะฉะนั้น  ซุนวู จึงรบแบบให้สูญเสียน้อยที่สุด  สามารถชนะได้โดยไม่ต้องรบ  สามารถทำให้คู่ต่อสู้ยอมเปิดประตูเมืองดีกว่าไปทำลายประตูเมือง  และอย่าทำให้คู่ต่อสู้กลายเป็นหมาจนตรอก

                “ผมเคยเปิดทางให้คู่ต่อสู้ที่แพ้และเพลี่ยงพล้ำ  ได้ถอยอย่างมีเกียรติ  ปรากฏว่าเขายินดีเลิกรา  แต่ถ้าให้เขาแพ้อย่างเสียหน้า  เขาก็จะไม่ยอมแพ้  สู้ต่อแม้จะเจ็บกว่า  แต่เราก็เจ็บไปด้วย”

ซุนวู  เจ้าตำรายุทธศาสตร์การทหารคนแรกคนแรกของโลก         

                “ตำราพิชัยสงครามซุนวู”  เป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีนโบราณ  ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด  เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสุดประเสริฐของชนชาติจีน  และเป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารที่เก่าแก่ที่สุดของโลก  โดยมีซุนวูเป็นผู้ประพันธ์เมื่อ 2,500 ปีก่อน

                “ตำราพิชัยสงครามซุนวู”  ประกอบด้วย  13 บท  อันได้แก่  บทวางแผน บททำสงคราม บทจู่โจมเชิงยุทธศาสตร์  เป็นต้น  ซึ่งพอจะกล่าวได้พอสังเขปว่า  ซุนวูมองว่า เรื่องการทหารถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งของบ้านเมืองเพราะหมายถึงการอยู่รอดของบ้านเมืองและประชาชน และเป็นเรื่องความเป็นความตายของชีวิตทหาร  จนประมาทเลินเล่อไม่ได้เป็นอันขาด เพื่อบรรลุภาระหน้าที่ในการปกป้องบ้านเมืองให้ปลอดภัย  มิให้ศัตรูมีโอกาสเข้ามารุรานได้นั้น  ผู้ที่เป็นแม่ทัพควรจะมีคุณสมบัติ 5 ประการ คือ มีสติปัญญา มีสัจจะ มีมนุษยธรรม  มีความกล้าหาญ  และมีระเบียบวินัย  ผู้ที่ขาดคุณสมบัติดังกล่าวแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งไม่สมควรให้ได้รับตำแหน่งหน้าแม่ทัพแต่อย่างไร

                ในปัจจุบัน  มีการนำแนวคิดในตำรายุทธศาสตร์การทหารของซุนวูมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจการค้า  โดยให้ความสำคัญกับผู้บริหารระดับ CEO มากเป็นพิเศษ เพราะCEO ในธุรกิจมีความสำคัญเยี่ยงแม่ทัพ ประเทศใดมีแม่ทัพที่มีความสามารถ  ประเทศนั้นย่อมเข้มแข็ง  ประเทศเพื่อนบ้านก็จะยำเกรง  ไม่กล้าเข้ามารุกราน กิจการใดมี CEO ที่มีสติปัญญาความสามรถในการวางแผน

คำสำคัญ (Tags): #ชัยภูมิ8
หมายเลขบันทึก: 429871เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2011 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท