Lord Buddha as an excellent CEO for 26 centuries


Lord Buddha as an excellent CEO for 26 centuries

Lord Buddha as an excellent CEO for 26 centuries

บรรยายโดย ผศ.ดร. นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สรุปบทเรียนโดย : นวลฉวี  เพิ่มทองชูชัย  นศ. ป.เอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบัน Paradox of our time

- เรามีบ้านเรือนที่ใหญ่โต แต่ครอบครัวเล็กลง

- เราเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆมากมายแต่คุณค่าลดลง

- เรามีความสะดวกสบายมากขึ้นแต่เรามีเวลาน้อยลง

- เรามีความรู้มากมายแต่การตัดสินใจ และใช้วิจารณญาณน้อยลง

- เรามีผู้เชี่ยวชาญมากมายแต่กลับมีปัญหามากขึ้น ใช้ยามากขึ้น แต่สุขภาพแย่ลง

- เราเรียนรู้เกี่ยวกับการรอดชีวิต แต่ไม่เรียนรู้ชีวิต

- เราชนะอวกาศได้แต่เราไม่สามารถชนะสิ่งที่อยู่ภายในได้

- เราสามารถแยกอะตอมได้แต่ไม่สามารถแยกอคติได้

- เราเรียนรู้การรีบแต่ไม่เรียนรู้การรอคอย

- เราใฝ่หาเรื่องปริมาณ แต่คุณภาพยังขาดแคลน

- เรามีเวลาพักผ่อนแต่ความสนุกสนานน้อยลง

- เราพูดเยอะ แต่รักกันน้อยลง โกหกมากขึ้น

- เรามีถนนกว้างขวาง แต่มุมมองเรากลับแคบลง

- เราสามารถไป- กลับดวงจันทร์ได้แต่เรามีปัญหาในการไปเยี่ยมเพื่อนบ้านของเรา

ข้อเสนอ

- ทำให้ทุกวันเป็นวันพิเศษ

- ให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น

- ค้นคว้าหาความรู้มากขึ้น

- ชื่นชมกับสิ่งต่างๆที่เราเห็น

ศาสนาพุทธพระพุทธเจ้าเผยแพร่มากว่า 2600 ปีและความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และ

ไอน์สไตน์บอกว่าศาสนาพุทธมีความเป็นวิทยาศาสตร์สูง

การประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ

การจัดการเชิงระบบจะต้องประกอบไปด้วย คน เงิน ของ ความรู้ ความเป็นผู้นำ การจัดบริการ และเกิดผลลัพธ์ขึ้นมา และในทางพุทธศาสนา

                Man                        : พระสงค์

                Money                   : เป็นเงินบริจาคจากสังคม

                Material                 : สื่อเผยแพร่ต่างๆ

                ความรู้                    : หลักพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าเผยแพร่ออกไป

                ความเป็นผู้นำ       : พระพุทธเจ้า

ความยั่งยืนของพระพุทธศาสนามีองค์ประกอบดังนี้

-          สินค้าที่ดี

-          การเปิดตัวสินค้า

-          การบริหารงานบุคคลหรือองค์กร

-          คุณสมบัติความเป็นผู้นำของพระพุทธเจ้า

-          ความศรัทธาของผู้ปฏิบัติ

สินค้าของพระพุทธเจ้า

  1. อริยสัจ 4
  2. อนัตตา
  3. รูปกับนาม
  4. สังสารวัฏ
  5. กรรมลิขิต
  6. นิพพาน

สรุปจากวิดีทัศน์ What is Nirvana โดยท่าน Thich Nhat Hanh

                พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และเริ่มเข้าใจสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับสาเหตุและผลของสาเหตุและกรรม และสุดท้ายก็ค้นพบสาเหตุของปัญหานั่นคือ กิเลส และอวิชชา และเมื่ออายุ 35 ปี พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้โดยมีองค์ความรู้ที่สุดยอด

Thich Nhat Hanh กล่าวว่านิพพานเป็นสิ่งที่ขจัดความทุกข์ยากทั้งหลายทั้งปวง ถ้ารู้สาเหตุว่าความทุกข์ยากเกิดจากอะไร ซึ่งความทุกข์ยากเกิดจากอวิชชาของเราเอง การทำสมาธิ การฝึกลมหายใจเป้าหมายคือเพื่อจะ Remove wrong perception หรือขจัดความเข้าใจผิดของเรา คำว่า wrong perception คือเราเข้าใจเราผิด และเข้าใจคนอื่นผิด และคนอื่นก็เข้าใจเราผิด จึงนำไปสู่เรื่องของความกลัวความเกียจชัง ถ้าสามารถขจัดความเข้าใจผิดได้ก็จะนำไปสู่สันติภาพได้ ฉะนั้นถ้าจะบรรลุนิพพานได้ต้อง Remove wrong perception ถ้าเราปฏิบัติสมาธิอย่างลึกซึ้งจะรู้ว่า การมีอยู่ การไม่มีอยู่ ตายหรือเกิด ไปหรือมา เป็นการเข้าใจผิด ถ้าเราปฏิบัติและเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้งเราจะมองเห็นความเป็นเช่นนั้นเอง พระพุทธทาสตีความว่า “อนัตตา” คือ ความไม่มีตัวตน

                นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้บอกว่า “เวลาเรามองไปที่เมฆ นี่ก็คือเมฆ เมื่อเมฆกลาย เป็นฝน ก็ไม่มีเมฆแล้ว ถ้ามองให้ลึกจะเห็นว่าเมฆอยู่ในน้ำฝน เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ว่าเมฆจะตาย เมฆสามารถกลายเป็นฝน หิมะ น้ำแข็ง” เวลาบอกว่ามีสิ่งนั้นสิ่งนี้ล้วนเป็นคำสมมุติที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง เพราะมีการเปลี่ยนรูป มีความต่อเนื่อง ดังนั้นการบอกว่าการตายเป็นสิ่งที่ไม่เหลืออะไรเลย จริงๆเข้าใจผิด พระพุทธเจ้ายังไม่ไปไหน ยังมีความต่อเนื่องในรูปแบบของสังขะ พระสงค์และธรรมะของพระองค์ที่ยังคงอยู่ ความคิดของพระองค์ยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นความเข้าใจผิดที่ต้อง Remove ออก ถ้าเรา Remove ออกจากความคิดของเราได้เราก็จะมีอิสรภาพ ไม่เกิดความกลัว ซึ่งเป็นพื้นฐานของนิพพาน ดังนั้นนิพพานอีกความหมายหนึ่งคือ “อิสรภาพ”

                พระพุทธทาสกล่าวว่า “ความสุขหรือนิพพานเกิดได้ ณ เดียวนี้และขณะนี้”

กรมสุขภาพจิตได้นำเอาเรื่องนี้มาประยุกต์ใช้ โดยใช้คำว่า Resilience คือการมีจิตใจที่ยืดหยุ่นซึ่งหมายถึงการที่เราเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เวลามีอะไรมากระทบกับจิตใจ เราสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการกระแทกอย่างรุนแรงลงได้และกลับคืนมาสู่ภาวะปกติได้ มีองค์ประกอบ 4 อย่างดังนี้

  1. รู้สึกดีกับตนเอง
  2. การจัดการชีวิตตนเองได้ เช่นการจัดการกับอารมณ์ตนเอง
  3. มีสายสัมพันธ์เกื้อหนุน
  4. การมีเป้าหมายที่ดีงามในชีวิต

การจะบรรลุเป้าหมายได้ขึ้นอยู่กับ 3 ข้อแรกและแนวคิดนี้สามารถใช้ในชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว และการทำงานได้

                จากหลักการของ Devid Bolw ทำให้เกิดแนวคิดการพูดคุยแบบสุนทรียสนทนา (Dialogue) คือการปล่อยกระแสคลื่นบวกออกมาจะเกิดการหลอมรวมเป็นพลัง ดังนั้นจึงเสนอหลักการสุนทรียสนทนาไว้ 2 ข้อดังนี้

  1. ห้อย แขวนคำตัดสิน แขวนความคิดทางลบ เช่นความรู้สึกดูถูกดูแคลน ไม่เห็นคุณค่าเนื่องจากความเป็นจริงมีหลายชั้น ถ้าเราด่วนสรุปหรือด่วนตัดสินโอกาสจะผิดสูง
  2. ได้ยิน ได้เห็นในสิ่งที่เขาพูด และสิ่งที่เขาไม่พูด เนื่องจากความเป็นจริงมีทั้งที่เป็นสสารและเป็นคลื่น เราต้องมองให้เห็นถึงความเป็นคลื่นหรือส่วนที่เป็นพลังงาน ภาษาท่าทาง เรื่องราวเบื้องหลัง ความตั้งใจที่เขาอยากจะสื่อ ดังนั้นต้องทำความเข้าใจในภาพรวม

ผลลัพธ์จากการสุนทรียสนทนา ต้องไม่คาดหวังว่าจะเกิดผลงาน เกิดความรักความสามัคคี เกิดความคิดดีๆ หรือข้อตกลงข้อสรุปของกลุ่ม แต่ต้องมองว่าเรื่องราวดีๆจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

หมายเลขบันทึก: 429690เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท