นางสาววณิชย ครอบดอน 53D0103118 สาขาหลักสูตรและการสอน รุ่น 9 หมู่ 1


Best  Practice

                    โรงเรียนวัดหลุมข้าว  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา

 

การจัดการรู้แบบโครงงาน

 

1.  แนวคิด/ความเป็นมาของโครงงาน

          การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ  กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้

2.  วัตถุประสงค์และประโยชน์ของโครงงาน

          เพื่อให้นักเรียนรู้จักได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา  ฝึกคิด  วิเคราะห์  การทำงานอย่างมีระบบมีขั้นตอน  ทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ  ด้วยตนเอง  ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี และรู้จักประเมินตนเอง และสามารถพัฒนาตนเองตามศักยภาพ

3.  กลุ่มเป้าหมายในการนำโครงงานไปใช้

          นักเรียนชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3

4.  ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน

     1.  ประชุมปรึกษาหารือ  เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน  จากสิ่งต่อไปนี้

          -  การสังเกต หรือตามที่สงสัย

          -  ความรู้ในวิชาต่าง ๆ

          -  จากปัญหาใกล้ตัว หรือการเล่น

          -  คำบอกเล่าของผู้ใหญ่หรือผู้รู้

     2.  เขียนหลักการ  เหตุผล  ที่มาของโครงงาน

     3.  ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน

     4.  กำหนดวิธีการศึกษา  เช่น  การสำรวจ  การทดลอง  เป็นต้น

     5.  นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม

     6.  สรุปผลการศึกษา  โดยการอภิปรายกลุ่ม

     7.  ปรับปรุงชื่อโครงงานให้ครอบคลุมน่าสนใจ

5.  รายละเอียดของโครงงาน (กิจกรรมการดำเนินงาน  ขั้นตอนการใช้)

     1.  กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง

     2.  วางแผนหรือวางโครงงาน  นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร  ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด  จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย

     3.  ขั้นดำเนินการ  ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา

     4.  ประเมินผล  โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่  มีข้อบกพร่อง และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร

6.  องค์ความรู้/ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการนำ  โครงงาน  ไปใช้

    1.  มีประสบการณ์โดยตรง

    2.  ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ  ด้วยตนเอง

    3.  รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน

    4.  ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

    5.  ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา

    6.  ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา

    7.  ฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง

7.  กระบวนการทบทวน  กลั่นกรอง  ตรวจสอบโครงงาน  เพื่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ

         กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

กระบวนการแบ่งเป็น 3 ระยะใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

          ระยะที่ 1  การเริ่มต้นโครงงาน

          เป็นระยะที่ผู้สอนต้องสังเกต/สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน  จากนั้นตกลงร่วมกันเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาอย่างละเอียด  ผู้สอนสร้างความสนใจให้เกิดกับผู้เรียนซึ่งมีหลายวิธี  โดยอาจศึกษาเรื่องจากการบอกเล่าของผู้ใหญ่หรือผู้รู้  จากประสบการณ์ของผู้เรียน/ผู้สอน  จากเอกสารสิ่งพิมพ์ หรือสื่อต่าง ๆ จากการเล่นของผู้เรียน  จากความคิดที่เกิดขึ้น  จากวัตถุสิ่งของที่ผู้สอนนำมาในห้องเรียน หรือจากตัวอย่างโครงงานที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว  เป็นต้น  เมื่อเกิดความสนใจแล้วก็จะถึงการกำหนดหัวข้อโครงงาน  โดยนำเรื่องที่ผู้เรียนสนใจมาอภิปรายร่วมกัน  แล้วกำหนดเรื่องนั้นเป็นหัวข้อโครงงาน  ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงว่าการกำหนดหัวข้อโครงงานนั้นจะกระทำหลังจากการตรวจสอบสมมติฐานเสร็จสิ้นแล้ว

          ระยะที่ 2  ขั้นพัฒนาโครงงาน

          เป็นขั้นที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็น หรือประเด็นปัญหา  ที่ผู้เรียนสนใจอยากรู้  แล้วตั้งสมมติฐานมาตอบคำถามเหล่านั้น  ทดสอบสมมติฐานด้วยการลงมือปฏิบัติ  จนค้นพบคำตอบตนเอง  ตามขั้นดังนี้

  1. ผู้เรียนกำหนดปัญหาที่จะศึกษา
  2. ผู้เรียนตั้งสมมติฐานเบื้องต้น
  3. ผู้เรียนตรวจสอบสมมติฐานเบื้องต้น
  4. สรุปข้อความรู้จากผลการตรวจสอบสมมติฐาน

ในกรณีที่ผลการตรวจสอบไม่เป็นไปตามสมมติฐาน  ผู้สอนควรให้กำลังใจผู้เรียน

เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม  สิ่งที่ไม่ควรกระทำคือการตำหนิหรือกล่าวโทษ  ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกำลังใจจนสามารถตั้งสมมติฐานใหม่ได้  ในกรณีที่ผลการตรวจสอบเป็นไปตามสมมติฐาน  ให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้จากการค้นพบด้วยการลงมือปฏิบัติของผู้เรียนเองเมื่อได้องค์ความรู้ใหม่แล้ว  ผู้เรียนจะนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ในการทำกิจกรรมตามความสนใจต่อไปได้  ผู้เรียนอาจใช้ความรู้ที่ค้นพบเป็นพื้นฐานของการกำหนดประเด็น  ปัญหาขึ้นมาใหม่เพื่อกำหนดเป็นโครงงานย่อย  ศึกษารายละเอียดในเรื่องนั้นต่อไปอีก

          ระยะที่ 3 ขั้นสรุป

          เป็นระยะสุดท้ายของโครงงานที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบของปัญหา และได้แสดงให้ผู้สอนเห็นว่าได้สิ้นสุดความสนใจในหัวข้อโครงงานเดิม และเริ่มหันเหความสนใจไปสู่เรื่องใหม่ระยะนี้เป็นระยะที่ผู้สอนและผู้เรียนจะได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานและแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการทำงานตลอดโครงงานแก่คนอื่น ๆ มีกิจกรรมที่ผู้สอนให้ผู้เรียนดำเนินการในขั้นตอนนี้  ดังนี้

  1. ผู้เรียนเขียนรายงานเป็นรูปแบบงานวิจัยเล็ก ๆ
  2. ผู้เรียนนำเสนอผลงาน (แสดงเป็นแผงโครงงาน)  ให้ผู้สนรับรู้  สรุปและนำไปใช้ใน

ชีวิตประจำวัน   

          ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานมีดังนี้

          1.  ขั้นนำเสนอ  หมายถึง  ขั้นที่ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้  กำหนดสถานการณ์  ศึกษาสถานการณ์  เกม  รูปภาพ หรือการใช้เทคนิคการตั้งคำถามเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผน  เช่น  สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ที่เป็นขั้นตอนของโครงงาน  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเรียนรู้

          2.  ขั้นวางแผน  หมายถึง  ขั้นที่ผู้เรียนร่วมกันวางแผน  โดยการระดมความคิด  อภิปรายหารือข้อสรุปของกลุ่มเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

          3.  ขั้นปฏิบัติ  หมายถึง  ขั้นที่ผู้เรียนปฏิบติกิจกรรมเขียนสรุปรายงานผลที่เกิดขึ้นจากการวางแผนร่วมกัน

          4.  ขั้นประเมินผล  หมายถึง  ขั้นการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  โดยให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้  โดยมีครู  ผู้เรียนและเพื่อนร่วมกันประเมิน

8.  รูปแบบ/วิธีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงงาน

          1.  นำเสนอด้วยการจัดนิทรรศการ/ด้วยวาจา

          2.  นำเสนอด้วยการจัดทำแผ่นพับ  เมื่อเข้าร่วมจัดนิทรรศการหรือเข้าประกวด

ทุกครั้ง  ในระดับกลุ่มฯ/ ระดับเขตพื้นที่ และระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

9.  การขยายผล  โครงงาน / องค์กร  หน่วยงานที่มีส่วนร่วม

    1.  ขยายผลให้กับหน่วยงานที่มีความสนใจในโครงงานต่าง ๆ  ของโรงเรียน

    2.  ขยายผลให้กับคณะครูโรงเรียนต่าง ๆ  ที่มาศึกษาดูงานที่โรงเรียนทำให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #best practice
หมายเลขบันทึก: 429625เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท