การพัฒนาสมองในด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ : นางสาวรักชนก พลยูง


การพัฒนาสมองในด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์

 โดยใช้กิจกรรมการต่อเติมภาพลายเส้น

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

           การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542ได้กำหนดไว้ให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมุ่งส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซึ่งมีนโยบายเน้นการจัดประสบการณ์ที่ต้องพัฒนาสมองของเด็ก จากการประเมินคุณลักษณะพื้นฐานและได้ใกล้ชิดเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กโดยทั่วไปมีความสามารถทางด้านความคิดที่แอบแฝงอยู่ในตัว แต่เด็กไม่ได้รับการกระตุ้นหรือส่งเสริมให้นำความคิดส่วนนั้นมาใช้อย่างเต็มที่ จากการสังเกตเด็กบางคนยังทำผลงานจากการวาดภาพกิจกรรมสร้างสรรค์ ลอกเลียนแบบผู้อื่น บางคนวาดภาพเหมือน ๆ ซ้ำ ๆ กันทุกวัน บางคนขีด ๆ เขียน ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่สามารถเชื่อมโยงความคิดถ่ายทอดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ทำให้กิจกรรมสร้างสรรค์หลายคนยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงได้พัฒนาความสามารถในการคิดของเด็กโดยใช้กิจกรรมการต่อเติมภาพลายเส้น เพื่อพัฒนาสมองในด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาสมองในด้านทักษะ การคิดสร้างสรรค์และเชื่อมโยงความคิดในการเล่าเรื่องจากผลงานของเด็กอนุบาล

 ขอบเขตของการจัดกิจกรรม

1. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนรัฐราษฎร์รังสรรค์ จำนวน 25 คน

2. ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม เวลา 08.50–09.20 น. ในวันอังคารของทุกสัปดาห์

3. ดำเนินการจัดกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2553 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2554

 ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ 

       ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิด ผสมผสานความรู้ที่มีอยู่และประสบการณ์จากกิจกรรมการวาดภาพมาใช้ในการคิดเชิงขยายดัดแปลงให้มีความแปลกใหม่หลากหลายรูปแบบ และเชื่อมโยงความคิดในการเล่าเรื่อง ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้

       ทอแรนซ์ (Torrance 1972)กล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์นั้น เป็นการรวบรวม ประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมา เพื่อสร้างรูปแบบอย่างใหม่ ความคิดใหม่ ๆ หรือผลิตผลใหม่ ๆ

        กิลฟอร์ด (Guilford. 1959) กล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมอง เป็นความสามารถที่จะคิดได้หลายทิศทาง หรือแบบอเนกนัยและความคิดสร้างสรรค์นี้ประกอบด้วยความคล่องในการคิด ความคิดยืดหยุ่น และความคิดที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ คนที่มีลักษณะดังกล่าวจะต้องเป็นคนกล้าคิด ไม่กลัวถูกวิพากษ์ วิจารณ์และมีอิสระในการคิดด้วย 

 การประเมินผล

การสนทนาและตอบคำถาม สังเกตการร่วมกิจกรรม ตรวจผลงาน

 ผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน

1. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการวาดต่อเติมภาพได้แปลกใหม่ หลากหลายอย่างเห็นได้ชัดทุกคน

2. เด็กได้พัฒนาทางด้านภาษา การสื่อสาร เล่าเรื่องราวจากผลงานที่ทำเป็น คำเป็น ประโยค และเป็นเรื่องราวสอดคล้องกับภาพได้ดีขึ้นเป็นลำดับ

3. เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือและประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

4. ได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความสุขในการทำกิจกรรมและเกิดความภูมิใจและมั่นใจในตนเองมากขึ้น

5. เด็กมีความถนัดในการจับดินสอลากเส้นได้คล่องแคล่ว เนื่องจากได้พัฒนากล้ามเนื้อมือ ทำให้เด็กร้อยละ 80 สามารถเขียนตัวหนังสือตามรูปแบบได้ดี และส่วนมากเขียนชื่อตนเองได้ทั้งที่ไม่ได้สอนอ่านเขียน

 ปัญหาและข้อเสนอแนะ

1. ครูต้องเอาใจใส่เด็กทุกคน ดูแลให้ทั่วถึง เป็นผู้ที่ช่างสังเกตพฤติกรรมเด็กขณะทำงาน สังเกตผลงาน จดบันทึกพฤติกรรมเพื่อจะได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง เที่ยงตรง

2. การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กว่าควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ เกิดความมั่นใจในผลงานตนเอง

3. แสดงความชื่นชมต่อผลงานความก้าวหน้าของเด็ก

 ตัวอย่างแผนการเรียนรู้

 เรื่อง การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ กิจกรรมการต่อเติมภาพลายเส้น ระดับปฐมวัย ชุดที่ 1

 สาระสำคัญ กิจกรรมต่อเติมภาพลายเส้น เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนมีทักษะในการสังเกต ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาทักษะด้านภาษา

 จุดประสงค์

1. เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

2. พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

3.เพื่อให้นักเรียนสามารถเล่าเรื่องจากผลงานที่วาดได้

 สาระที่ควรเรียนรู้

การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กิจกรรมการต่อเติมภาพลายเส้น ภาพจุด

 

หมายเลขบันทึก: 429599เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท