ศูนย์อาเซียนศึกษาจังหวัดจันทบุรี


การพัฒนาโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาต้องอาศัยความร่วมมือกับคณะ กรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่นและผู้ปกครองในการร่วมกันพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างแท้ จริง ซึ่งโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 14 ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากพลังดังกล่าว ที่จะเป็นส่วนหลักและส่วนเสริมในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา ของจังหวัดจันทบุรี และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2553 ทุกท่านสามารถไปศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวของประเทศอาเซียนได้

             สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย

              จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย  เวียดนาม บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ 

                  ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยมผู้นำอาเซียนเห็นชอบต่อปฏิญญาอาเซียนคอนคอร์ดสอง (บาหลี คอนคอร์ดสอง) ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2563 ประชาคมอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นประกอบด้วย 3 เสา คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งเกี่ยวข้องและส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการที่จะทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค

               ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำเน้นย้ำคำมั่นในเรื่องการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558 โดยได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ปี 2558

                ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ได้เห็นพ้องให้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อรองรับการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดทำโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน : Spirit ofASEAN เน้นการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี พ.ศ. 2558 และเพื่อให้สอดรับกับนโยบายดังกล่าว  สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาได้จัดทำโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อผลักดันการดำเนินงานด้านการศึกษาของประเทศไทยให้สอดรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียน และพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะ ที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน และได้มีการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 54 แห่งทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นโรงเรียน Sister School จำนวน 30 แห่ง และโรงเรียน Buffer School จำนวน 24 แห่ง โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 14 อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งใน 30 แห่ง ที่เป็นโรงเรียน Sister School และมีโรงเรียนในเครือข่าย จำนวน 14 แห่ง  ได้แก่ โรงเรียนนายายอามพิทยาคม โรงเรียนคิชฌกูฎวิทยา โรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้าโรงเรียนวัดรำพัน โรงเรียนเขาแก้ววิทยา โรงเรียนวัดหนองคัน โรงเรียนบ้านสังข์ทอง โรงเรียนวัดเสม็ดโพธิ์ศรี โรงเรียนบ้านเตาหม้อ โรงเรียนบ้านยางระหง โรงเรียนวัดเนินยาง โรงเรียนวัดสามผาน โรงเรียนบ้านคลองกะพง และโรงเรียนวัดโขดหอย ในการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาในสถานศึกษามีวัตถุประสงค์ คือ  1) เพื่อให้โรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความพร้อมสำหรับนักเรียน ครูและประชาชน 2) เพื่อให้ครูและนักเรียนในโรงเรียนศูนย์ศึกษาอาเซียนและโรงเรียนเครือข่ายมีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและ 3) เพื่อให้ครูและนักเรียนในโรงเรียนศูนย์ศึกษาอาเซียนและโรงเรียนเครือข่ายสามารถใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศในการสื่อสารกับประเทศในประชาคมอาเซียน

                การพัฒนาโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาต้องอาศัยความร่วมมือกับคณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่นและผู้ปกครองในการร่วมกันพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 14 ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากพลังดังกล่าว ที่จะเป็นส่วนหลักและส่วนเสริมในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาของจังหวัดจันทบุรี และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่  26 สิงหาคม 2553 ทุกท่านสามารถไปศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวของประเทศอาเซียนได้

สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 429516เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2011 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ศน.แกล้วกล้า ศรีหนารถ

อยากให้คุณครูทุกท่านได้อ่านข้อความนี้นะครับ...ถึงเวลาแล้วครับที่เราจะต้องเตรียมตัวเด็กให้ทันกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ...ช่วยกันนะครับ

นางสาวลลิดา อุดมประสิทธิ์กุล

เป็นการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่จะทำให้เตรียมพร้อมเพื่อนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี  2558

 

การพัฒนาโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาต้องอาศัยความร่วมมือกับคณะ กรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่นและผู้ปกครองในการร่วมกันพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างแท้ ค่ะ

สู่ประชาคมอาเซียน:Love to Be ASEAN เป็นคำสำคัญ ในการที่นักเรียนทุกคนต้องเรียนรู้ถึงภาพในอนาคตที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมวลสมาชิก ดังนั้นในฐานะหน่วยงานในการจัดการศึกษาต้องมีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนัก และส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีความพร้อมในทุกเรื่อง เพื่อความอยู่รอดของผู้คนที่ต้องเข้าสู่กระบวนการของการพัฒนาของโลกในอนาคต ดังนั้นหน่วยงานที่จัดการศึกษาควรให้ความสำคัญโดยกำหนดลงไปในหลักสูตรเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษา ศาสนาและวัฒนธรม ของทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน

ศน.แกล้วกล้า ศรีหนารถ

ฃอเชิญชวนให้คุณครูลองเข้าไปเรียนรู้ที่ศูนย์อาเซียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา14 ดูนะครับ แล้วจะรู้ว่ามีอะไรดีๆ...มากมายครับ...

นางสาวจรรยาภรณ์ คีรีรักษ์

แค่ 4 ปีนะค่ะ สำหรับการเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียนมีเวลาไม่มากที่เราจะเรียนรู้เรื่องราวอาเซียนและ 9 ประเทศ เพื่อเป็นพลเมืองที่ดีในอนาคต ศูนย์อาเซียนศึกษาโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๔ ยินดีต้อนรับทุกท่าน  เรามีข้อมูลน่าสนใจให้คอยให้ท่านได้มาศึกษาค่ะ

เป็นสิ่งที่ดี ปลูกฝังให้เยาวชนรู้จักประเทศในสมาชิกอาเซียน กฏบัตร ความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558

รู้คิด รู้ทัน ก้าวล้ำ นำสมาชิก อาเซียน........................

รู้สึกว่าท่านศึกษานิเทศก์ที่ดูแลงานนี้..จะขยันขันแข็งมาก...งั้นเมษานี้ปูนบำเหน็จ 3 ขั้น(บันได)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท