ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหาร


ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหาร
แบบมีส่วนร่วม ในยุคปฏิรูปการศึกษา
--------------------------------------------
สถานศึกษาเป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการหล่อหลอม สร้างคนออกไปรับใช้สังคม ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีบทบาทเป็นผู้นำ ที่จะสามารถนำผู้อื่นให้สามารถทำงานบรรลุเป้าหมาย ของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะเป็นสัญลักษณ์ขององค์กร จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการปฏิรูปการศึกษา ให้ประสบความสำเร็จ โดยการยึดการบริหารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐาน ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคนี้ต้องมีคุณลักษณะ ในการใช้ทักษะ การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีความรู้ในหลักการบริหาร หลักธรรมาภิบาล การสร้างทีมงาน จิตวิทยาชุมชน ความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรอบรู้ มีวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การจัดการศึกษา การบริหารงานใดๆ จะเกิดประสิทธิผลได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารมีภาวะผู้นำ กระจายความรับผิดชอบ อย่างเป็นธรรมไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยต้องใช้ภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้งานเกิดประสิทธิผล
การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participatory Management) การปฏิรูประบบราชการ จะประสบผลสำเร็จได้ผู้บริหารของหน่วยงานจะต้องให้ความสำคัญและความสนใจอย่างจริงจัง (Set Tone) และทำตนเป็นตัวอย่างเพื่อให้ข้าราชการในสังกัดร่วมดำเนินการอย่างจริงจัง ข้าราชการจะต้องสร้างกระบวนการเพื่อทำให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง (People Empowerment)
ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวจักรสำคัญในองค์กร ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ขององค์กร ในการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าการปฏิรูปการศึกษา เป็นการเปลี่ยนแปลงการศึกษาทั้งระบบเป็น Systemic Change เป็นการปรับรื้อและปรับปรุงครั้งใหญ่ อันได้แก่ การบริหาร หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และวิชาชีพ ที่เราเรียกกันว่า ปรับ 4 องค์ประกอบใหญ่ (Components) การบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโดยตรงที่ดำรงตำแหน่ง ตามสิทธิและหน้าที่ของตำแหน่งนั้น การบริหารมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นและเห็นชัดขึ้น เมื่อองค์กรมีขนาดใหญ่ มีสมาชิกมากขึ้น ลักษณะงานซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร ซับซ้อนขึ้น หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างหน่วยงาน นโยบายของรัฐ ตลอดทั้ง ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ซึ่งผู้บริหารต้องอาศัยหลักการและทฤษฎีต่างๆ ทางการบริหารเพื่อเป็นแนวทางในการทำ ความเข้าใจ ทำนาย ตัดสินใจ และควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ในหน่วยงานให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของหน่วยงาน ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ เป็นปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารแบบมีส่วนร่วม ในการบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาไทย ในปัจจุบันนี้จะต้องดำเนินการตามแนวการจัดการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

ขั้นตอนการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในกระบวนการตัดสินใจนั้น ประการแรกที่ต้องทำคือ การกำหนดความต้องการ และการจัดลำดับความสำคัญ ต่อจากนั้นเลือกนโยบายและ ประชากรที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจในช่วงเริ่มต้น การตัดสินใจในช่วงวางแผน และการตัดสินใจ ในช่วงการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของการดำเนินงานโครงการนั้น จะได้มาจากคำถามที่ว่า ใครจะทำประโยชน์ให้แก่โครงการใดบ้าง และจะทำประโยชน์ได้โดยวิธีใด
ขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์นั้น นอกจาก ความสำคัญของผลประโยชน์ในเชิงปริมาณและคุณภาพแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึงการกระจาย ผลประโยชน์ภายในกลุ่มด้วย ผลประโยชน์ในโครงการนี้ ร่วมทั้งผลที่เป็นประโยชน์ทางบวก และผลที่เกิดขึ้นทางลบที่เป็นผลเสียของโครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์และโทษต่อบุคคลและสังคมด้วย
ขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล สิ่งสำคัญที่จะต้องสังเกต คือ ความเห็น (Views) ความชอบ (Preferences) และความคาดหวัง (Expectations) ซึ่งจะมีอิทธิพล สามารถแปรเปลี่ยน พฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มต่างๆ ได้
การบริหารแบบมีส่วนร่วม นั้นนักปราชญ์ทางสังคมศาสตร์ยืนยันว่าเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับชีวิตมนุษย์เฉพาะในสังคมประชาธิปไตย ในการพัฒนางาน ในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ แม้แต่สถาบันครอบครัวก็ตาม การมีส่วนร่วมในภาพกว้างจะหมายถึงการมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิก ด้วยกัน ระหว่างสมาชิกกับองค์กร ด้วยข้อเท็จจริงและความเชื่อที่ว่า งานจะสำเร็จได้ก็ด้วย ความร่วมมือของสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือ แห่งการดำรงชีวิตในสังคม หรือองค์กรเดียวกัน

สรุปการบริหารในยุคปัจจุบัน เป็นการมุ่งเน้น การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเกิดขึ้น โดยการที่ผู้บริหาร ผู้ใต้บังคับบัญชา ชุมชน สังคม องค์กรเอกชน องค์กรภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมภาคภูมิใจ ยิ่งผู้บริหารสนับสนุนให้มี การร่วมมือกันเท่าไร ยิ่งเพิ่มพูนอำนาจและความศรัทธาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นเท่านั้น มากกว่า การที่ผู้บริหารใช้อำนาจหน้าที่ตามลำพัง เพราะว่าผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาต้องทำงาน กันเป็นทีม

อ้างอิง บทความ ดร.ณัฐฐินันท์ พราหมณ์สังข์

คำสำคัญ (Tags): #ชัยภูมิ8
หมายเลขบันทึก: 429463เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2011 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การบริหารแบบมีส่วนร่วม นั้นนักปราชญ์ทางสังคมศาสตร์ยืนยันว่าเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับชีวิตมนุษย์เฉพาะในสังคมประชาธิปไตย ในการพัฒนางาน ในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ แม้แต่สถาบันครอบครัวก็ตาม การมีส่วนร่วมในภาพกว้างจะหมายถึงการมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิก ด้วยกัน ระหว่างสมาชิกกับองค์กร ด้วยข้อเท็จจริงและความเชื่อที่ว่า งานจะสำเร็จได้ก็ด้วย ความร่วมมือของสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือ แห่งการดำรงชีวิตในสังคม หรือองค์กรเดียวกัน

การบริหารในยุคปัจจุบัน เป็นการมุ่งเน้น การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเกิดขึ้น โดยการที่ผู้บริหาร ผู้ใต้บังคับบัญชา ชุมชน สังคม องค์กรเอกชน องค์กรภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมภาคภูมิใจ

ยิ่งผู้บริหารสนับสนุนให้มี การร่วมมือกันเท่าไร ยิ่งเพิ่มพูนอำนาจและความศรัทธาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นเท่านั้น มากกว่า การที่ผู้บริหารใช้อำนาจหน้าที่ตามลำพัง เพราะว่าผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาต้องทำงาน กันเป็นทีม

การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีความสำคัญมากยิ่งหน่วยงานเล็กๆ หรือโรงเรียนขนาดเล็กมีครูไม่กี่คนการบริหารแบบมีส่วนร่วมยิ่งมีความสำคัญมากเพราะต้องดึงทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมมือกันพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนที่ใหญ่กว่าซึ่งมันเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท