ศรีตรังเบิกบาน
สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง ศรีตรัง

กศน. ตรัง กับการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ


ในสังคมมนุษย์นั้น เราไม่สามารถแยกคนพิการออกจากสังคมได้ เพราะคนพิการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

Large_dsc01689 

อ.จำเป็น กำลังบรรยาย การจัดทำแผน IEP

   วันที่ 3  มีนาคม 2554  สำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง  ได้รับความกรุณาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ซึ่งได้อนุญาตให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำเป็น สังข์มุสิกานนท์  อาจารย์โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษเรื่อง

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และทักษะชีวิตแก่ผู้เรียนที่เป็นบุคคลพิการ “ ในเวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง Ico64_dsc01689

 กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร ข้าราชการ/ครูสอนการศึกษาพิเศษ/ผู้ปกครองนักศึกษาพิการ และตัวแทนจากชมรมผู้ปกคองบุคคลออทิสติกจังหวัดตรัง โดยอาจารย์จำเป็นได้ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาการศึกษาพิเศษ ความหมายของการเรียนร่วม และการศึกษาแบบรวม (Inclusive Education )     ต่อด้วยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช2550 มาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของคนพิการ

มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง

มาตรา 54 บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธาณะและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

ต่อด้วยพรบ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 มาตรที่ 3 ในพระราชบัญญัตินี้ได้กล่าวถึง คนพิการ /ผู้ดูแลคนพิการ/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล/เทคโนโลยีการศึกษาเฉพาะบุคคล/เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก/ครูการศึกษาพิเศษ/การเรียนร่วม/สถานศึกษาเฉพาะความพิการ/ศูนย์การศึกษาพิเศษ/ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ/องค์การคนพิการแต่ละประเภท

Large_dsc01691Large_dsc01686

โฉมหน้า ครูผู้สอนบุคคลพิการ  กศน.ตรัง

   ความหมายของความพิการ/สาเหตุความพิการ/ ในทางการศึกษามีการแบ่งความพิการออกเป็น 9 ประเภท สำหรับที่สำนักงาน กศน.ตรังเรามีนักศึกษาที่มีความพิการ75 คนและมีครบทั้ง 9 ประเภทคือ   เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน/เด็นที่มีความบกพร่องทางการเห็น/เด็นที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา/เด็กที่มีความบกพร่องทางการ/เด็นที่มีปัญหาทางการเรียนรู้/เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา/เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม อารมณ์หรือสมาธิสั้น/เด็กออทิสติก/เด็กที่มีความพิการซ้ำซ้อน       ซึ่งอาจารย์จำเป็นก็ได้ให้รายละเอียดของเด็กพิการแต่ละประเภท ทำให้เรารู้ว่าแม้แต่ประเภท         ออทิสติกเองก็ยังแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท และที่สำคัญ อ.จำเป็นได้อธิบายวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individual  Education Program ) หรือที่เรามักเรียกกันว่า แผน IEP โดยมีแบบฟอร์มและคำชี้แจงให้พวกราฝึกทำกันด้วย เพราะครูทั้ง12  คน (จากอำเภอเมืองตรัง/นาโยง/ปะเหลียน/หาดสำราญ /กันตัง วังวิเศษ )ไม่มีใครจบทางการศึกษาพิเศษโดยตรง  แม้จะจบมาหลากหลายสาขาแต่ทุกคนก็มีใจเต็มร้อมที่จะออกไปช่วยสอนคนที่ขาดโอกาสเหล่านี้ นอกจากนั้นก็มีการอธิบายการทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (individualized Implementation Plan : I.I.P. ) โอกาสหน้า ทางอ.จำเป็นก็สัญญาว่าจะมาให้ความรู้แก่คณะครูและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง..ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้

   หมายเหตุ  1.การทำแผน IEP ครูผู้สอนต้องนำข้อมูลของเด็กแต่ละคนจากประเมินหรือจากผลการเรียนเข้าที่ประชุมซึ่งจะต้องใช้การมีส่วนร่วมของครู /ผู้บริหาร/แพทย์,พยาบาผู้ปกครอง/และบุคคลที่เกี่ยวข้ออื่น ๆที่เหมาะสม

                 2. ส่วนประกอบของแผน IEP ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของบุคคล/ข้อมูลด้านการศึกษาของผู้เรียน/การวางแผนจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียน/ความต้องการสิ่งอำนวยควาสะดวกและสื่อ/คณะกรรมการจัดทำ

                3. เป้าหมายระยะเวลา 1 ปี คือความมุ่งหวังที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนภายใต้ข้อมูลความสามารถพื้นฐานและความเห็นร่วมกันของคณะจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยใช้เวลาให้ประสบการณ์ตามที่ระบุไว้ในวันสิ้นสุดแผน มีการอ่านออกเขียนได้ และการคำนวนทางคณิตศาสตร์ หากสรุปได้ว่าไม่สามารถพัฒนาทางวิชาการได้ในก็ให้พัฒนาทักษะและกิจกรรมเป็นเบื้องแรก

และทางทีมงาน กลุ่มการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ สำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง ก็อยากได้คำแนะนำจากทุกท่านที่มีประสบการณ์และความรู้ด้านนี้ ขอบพระคุณล่วงหน้า      

  

หมายเลขบันทึก: 429442เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2011 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท