ภาษาธรรม


อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ภาษาธรรม  (Dharma in mind)

การบำรุงรักษาสิ่งใด ๆ ในโลกการบำรุงรักษาตนคือ ใจเป็นเยี่ยมจุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือ ใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี”

หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต

ภาษาธรรม  (Dharma in mind)

“หลักอนัตตา ในทางพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบของพระองค์มิได้ตรัสว่าอนัตตาเป็นของไม่มีตนไม่มีตัว เป็นของว่างเปล่า พระองค์ ตรัสว่าตนตัว คือ ร่างกายของคนเรา อันได้แก่ขันธ์ทั้ง 5 นี้ มันมีอยู่แล้ว แต่จะหาสิ่งเป็นสาระในขันธ์ 5 นั้นไม่มี

                                หลวงปู่เทสก์  เทสฺรํสี

ภาษาธรรม  (Dharma in mind)

                “บรรดาสิ่งสมมติที่เราไปยึดถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของเรานั้นจะได้เพียงชีวิตหนึ่ง ๆ เท่านั้นไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยาหรือสมบัติจ่าง ๆ เมื่อเราตายไปแล้วเราจะยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเราอีกไม่ได้ เราจะเอาสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นติดตามไปที่ไหน ๆ ก็ไม่ได้

                                                  หลวงปู่คำดี  ปภาโส

ภาษาธรรม  (Dharma in mind)

                คำว่า “ไม่สบายใจ” อย่าใช้และอย่าให้มีขึ้นในใจ “Let it go, and get it out!”  ก่อนมัน  จะเกิดต้อง “Let it go” ปล่อยให้มันผ่านไปอย่าเอารับเอาความไม่สบายใจไว้ ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้นข้อสำคัญอยู่ที่สติถ้ามีสติคุ้มครองกาย วาจา ใจอยู่ทุกขณะจะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลยที่ผิดพลาดเพราะขาดสติคือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อประมาท ระเริงหลงลืมจึงผิดพลาดจงนึกถึงคติพจน์ว่า “กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม”

                                                ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

ภาษาธรรม  (Dharma in mind)

                กายเหมือนเรือ ใจเหมือนนายเรือ ถ้านายเรือไม่รับการฝึกหัดชำนิชำนาญ หรือประมาทไป ก็จะพาเอาเรือไปเป็นอันตรายเสียต่อผู้เป็นผู้ได้การศึกษาและมีสติจึงจะสามารถพาไปถึงฝั่งได้

                                                หลวงปู่ศรีจันทร์  วณฺณาโภ

ภาษาธรรม  (Dharma in mind)

                “ที่พึ่งของคนมี  2 อย่างคือ  ที่พึ่งภายนอก  กับที่พึ่งภายใน

                                ที่พึ่งภายนอก  ได้แก่บุคคลเช่น  บิดามารดา  ครู  ญาติพี่น้อง  พวกพ้อง  เพื่อนฝูง ฯลฯ  ที่พึ่งภายใน  ได้แก่มีธรรมเป็นที่พึ่ง  มีคุณงามความดีในตนเองจนเป็นที่พึ่งของตนได้  เช่นมีความประพฤติดี  มีความรู้ความสามารถ  มีความเพียรพยายามดี  มีความรู้จักการประมาณในการดำรงชีวิต  ฯลฯ  ที่พึ่งทั้ง 2 อย่างนี้  พระพุทธองค์ทรงเน้นให้พยายามยึดที่พึ่งภายใน  โดยอย่ามุ่งหวังที่พึ่งภายนอกให้มากนัก  เพราะไม่สามารถเป็นที่พึ่งได้ตลอดไป  เช่นบิดามารดาเมื่อถึงกาลอันควรท่านย่อมจากเราไป  ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงก็พึ่งได้ในบางคราว  ส่วนคุณงามความดีนั้นจะอยู่กับเราตลอดไป”

                                                สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน (อุฏฐายี)

 

ภาษาธรรม  (Dharma in mind)

                บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่ทานบารมี  ศีลบารมี  ภาวนาบารมีนี้แหละ  ทานก็รู้อยู่แล้ว  คือการสละหรือการละการวาง  ผู้ใดละมาก  วางได้มาก  ก็เป็นผลานิสงส์มาก  ผู้ใดวางได้น้อย  ละได้น้อยก็มีผลานิสงส์น้อย

                                                หลวงปู่ฟั่น  อาจาโร

 

ภาษาธรรม  (Dharma in mind)

“พระศาสนาภาษาคน หมายถึงโบสถ์ วิหาร เจดีย์ ผ้ากาสาวพัสตร์และตัวคำสั่งสอน (มีโบสถ์วิหารสะพรั่งไปหมด ก็พูดว่า พระศาสนาเจริญแล้ว) 

ภาษาธรรม  หมายถึง  ธรรมะที่แท้จริง  ที่เป็นที่พึ่งแก่มนุษย์ได้จริงธรรมะใดเป็นที่พึ่งแก่มนุษย์ได้จริง  ดับทุกข์ให้มนุษย์ได้จริง  ธรรมะนั้นคือศาสนา  คือพรหมจรรย์  นั้นคือประพฤติปฏิบัติจริง ๆ  ตามทางธรรมเป็นพรหมจรรย์ที่งดงามในเบื้องต้น, งดงามในเบื้องกลาง  และงดงามในเบื้องปลายงามในเบื้องต้น  คือ  การศึกษาเล่าเรียน  งามในท่ามกลาง  คือ  การปฏิบัติ  งามในเบื้องปลาย  คือผลของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงๆ”

                                                พุทธทาสภิกขุ

คำสำคัญ (Tags): #ชัยภูมิ8
หมายเลขบันทึก: 429434เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2011 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

“บรรดาสิ่งสมมติที่เราไปยึดถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของเรานั้นจะได้เพียงชีวิตหนึ่ง ๆ เท่านั้นไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยาหรือสมบัติต่าง ๆ เมื่อเราตายไปแล้วเราจะยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเราอีกไม่ได้ เราจะเอาสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นติดตามไปที่ไหน ๆ ก็ไม่ได้” ลึกซึ้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท