Health Development Approaches


Health Development Approaches

Health Development Approaches

Health Development Approaches ทิศทางการพัฒนาสุขภาพ

บรรยายโดย ผศ.ดร. นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สรุปบทเรียนโดย : นวลฉวี  เพิ่มทองชูชัย  นศ. ป.เอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  

สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แนวทางของการพัฒนาสุขภาพ        

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นผู้ประสานให้ภาคี 3 ฝ่าย คือภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทำงานร่วมกันเป็นสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะของรัฐเอง โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่ หรือโรคเก่าที่กลับมาเป็นใหม่อีกครั้ง รวมทั้งปัญหาสุขภาพที่เกิดจากระบบต่างๆที่เปลี่ยนไป ทำให้ประชาชนเจ็บป่วย โดยดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2544

แนวคิดของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา 

เป็นการสร้างความสมดุล ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ (ปัญญา) ด้านสังคม และด้านนโยบาย

1. การสร้างองค์ความรู้ เช่นการทำวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหาที่ต้องการ หรือรวมถึงการทำคู่มือการปฏิบัติงาน
2. การเคลื่อนไหวทางสังคม หมายถึงการที่สังคมเข้ามาร่วมเรียนรู้ ร่วมบอกความต้องการ ซึ่งต้องแปรความรู้ให้อยู่ในรูปแบบที่สังคมจะเข้าใจได้ง่าย เข้าร่วมได้ ถ้าปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง สังคมจะเคลื่อนไปได้ยาก ไม่มีพลัง ในการเคลื่อนไหวทางสังคมของ "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” นั้น จะรวมกันเป็นกลุ่มคน โดยมีผู้นำกลุ่มที่มีความสามารถนำความองค์รู้ดังกล่าวให้ออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้ เช่นเวทีสมัชชาสุขภาพ

3. นโยบาย/อำนาจรัฐ หรืออำนาจทางการเมือง การเมืองเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐ บริหารการใช้ทรัพยากรของรัฐ และเป็นผู้ออกกฎหมายมาบังคับใช้ให้เป็นไปตามความรู้นั้นๆ
สรุปสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาทั้ง 3 มุม จะต้องมีความสมดุลกัน (Balance) ไม่อ่อนมุมใดมุมหนึ่ง เช่นแม้จะมีนโยบายหรืออำนาจทางการเมือง แต่ปราศจากองค์ความรู้และการเคลื่อนไหวทางสังคม ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

สุขภาพและระบบสุขภาพ

          - Health

          - Asymptomatic

          - Symptomatic

          - Disease

          - Disability

          - Death

ระบบสุขภาพ หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยมีขอบเขตและความหมายที่กว้างขวางเกี่ยวข้องกับเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่มีผลเกี่ยวข้องกระทบกับสุขภาพมากมายหลายด้าน ทั้งปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพดังนั้นระบบสุขภาพจึงเป็นระบบที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพตามความหมายที่กว้างของสุขภาพ

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550  มาตรา 3 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “สุขภาพ” ว่า หมายถึงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล

โครงสร้างของระบบบริการสุขภาพควรมีการออกแบบให้มีความเหมาะสมสอดคล้อง และสามารถตอบสนองต่อความจำเป็น ความต้องการทางด้านสุขภาพ รวมทั้งเป็นระบบบริการสุขภาพที่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ

ระดับของการให้บริการสุขภาพ

- การบริการขั้นพื้นฐานหรือปฐมภูมิ

- การบริการขั้นทุติยภูมิ

- การบริการขั้นตติยภูมิ

การจัดระบบบริการสุขภาพต้องเชื่อมโยงกันทั้ง 2 ทาง และใช้ระบบการบริหารจัดการที่ดี เช่นในกลุ่มผู้พิการ ฟื้นฟูสภาพ Palliative care ควรให้ Primary medical care (Community care) เข้ามามีบทบาทให้มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันพบว่าระดับ Primary medical care มีบทบาทในการจัดบริการพื้นฟูสภาพผู้พิการและ Palliative careโดยมีนักกายภาพบำบัดลงไปปฏิบัติงานในชุมชน

ทิศทางการพัฒนาสุขภาพ : จากการประชุมนานาชาติที่ประเทศแคนาดา ปี 2529 ได้กำหนดกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter for Health Promotion) ไว้ 5 ข้อดังนี้

  1. Build Healthy Public Policy การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
  2. Create Supportive Environments การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
  3. Strengthen Community Actions การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
  4. Develop Personal Skills การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
  5. Reorient Health Services การปรับระบบบริการสุขภาพ

ที่ผ่านมาได้มีความพยายามและทุ่มเงินลงทุนจัดบริการสุขภาพเป็นจำนวนมาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ สถานะสุขภาพประชาชนยังไม่ดีพอ ดังนั้นแนวคิดการพัฒนาสุขภาพจึงให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆนอกระบบบริการมากขึ้น เช่น ด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังปรากฏในกฎบัตรออตตาวา ว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพ ที่เน้นประเด็น นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ มาเป็นข้อแรก เพื่อเน้นว่าการทำงานสาธารณสุขให้ได้ผลต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะที่มีอยู่ให้เป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Health Public Policy) หมายถึง นโยบายสาธารณะที่แสดงความห่วงใยในเรื่องสุขภาพอย่างชัดเจน และพร้อมจะรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสุขภาพ อันอาจเกิดจากนโยบายนั้นๆ เป็นนโยบายที่มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ทำให้พลเมืองมีทางเลือกและสามารถเข้าถึงทางเลือกที่สร้างเสริมสุขภาพ (WHO, 1988)

ทิศทางการพัฒนาสุขภาพ : จากการประชุมนานาชาติที่ประเทศแคนาดา ปี 2529 ได้กำหนดกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter for Health Promotion) ไว้ 5 ข้อดังนี้

1.       Build Healthy Public Policy การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

2.       Create Supportive Environments การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

3.       Strengthen Community Actions การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

4.       Develop Personal Skills การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล

5.       Reorient Health Services การปรับระบบบริการสุขภาพ

ที่ผ่านมาได้มีความพยายามและทุ่มเงินลงทุนจัดบริการสุขภาพเป็นจำนวนมาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ สถานะสุขภาพประชาชนยังไม่ดีพอ ดังนั้นแนวคิดการพัฒนาสุขภาพจึงให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆนอกระบบบริการมากขึ้น เช่น ด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังปรากฏในกฎบัตรออตตาวา ว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพ ที่เน้นประเด็น นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ มาเป็นข้อแรก เพื่อเน้นว่าการทำงานสาธารณสุขให้ได้ผลต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะที่มีอยู่ให้เป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ต้องมีสิ่งต่อไปนี้

  1. การมีภาวะผู้นำ
  2. การแสดงเจตจำนงแน่วแน่
  3. การสร้างพลังอำนาจให้แก่ประชาชน
  4. การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพดี
  5. การสร้างภาคีเพื่อสุขภาพ
  6. การมีพันธะที่รับผิดชอบที่จะวัดหรือประเมินผลกระทบด้านสุขภาพอันเนื่องมาจาก นโยบายต่างๆ

นโยบายสาธารณะจะเกี่ยวข้องกับภาครัฐมาก ทั้งรัฐบาลกลางและท้องถิ่น (รัฐ เอกชน ประชาสังคม) เพราะมีกลไกการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบองค์รวมโดยการวางแผนให้ครอบคลุมทุกกระทรวง

การดำเนินงาน Ottawa มีตั้งแต่ระดับบนลงล่าง และจากระดับล่างขึ้นบน แต่เราอยู่ตรงกลางที่มีบทบาทเชื่อมระหว่างข้างบนและข้างล่างได้ดี และปัจจุบันระดับปฏิบัติมีกระจายอยู่ทั่วประเทศนั่นแสดงให้เห็นถึงการกระจายระบบบริการไปได้ทั่วถึง และใกล้ชิดชุมชนมากขึ้น และชุมชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมและผลักดันทำให้นโยบายมีความชัดเจนมากขึ้น 

“ดังนั้นการรับรู้ทั้งในระดับชุมชน และระดับ Macro คือนโยบายต่างๆจะทำให้เกิดความชัดเจนในการพัฒนาสุขภาพได้ดีมากขึ้น”

นโยบายสาธารณะที่ประสบผลสำเร็จเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสุขภาพ

  1. กฎหมายประกันสังคม
  2. กฎหมายหลักประกันสุขภาพ
  3. สสส.
  4. กฎหมายควบคุมบุหรี่
  5. การใช้สิทธิบัตรยาเพื่อสาธารณะโดยรัฐ
  6. ถอนยาเคฟีอีนออกจากยาแก้ปวด
  7. ถุงยางอนามัย 100 %

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #health development approaches
หมายเลขบันทึก: 429265เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2011 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท