อุบัติเหตุ ภาระโรค และแนวทางการขับรถให้ปลอดภัย


ท่านทราบหรือไม่ วันนี้ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากกว่าสหรัฐอเมริกา 10 เท่า
และ 1 ใน 3 ของอุบัติเหตุเกิดกับวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี สาเหตุจากการเมาสุรา, แข่งขันใช้ความเร็วสูง,
ขับขี่ยามวิกาลและไม่ใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย

สถิติข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่จัดทำโดยศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข พบว่า
ในแต่ละปีมีเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษา ซึ่งอยู่ในวัยเรียนต้องจบชีวิตไปกว่า 20,000 คนจากความคึกคะนองออกซิ่งรถยามค่ำคืน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 ของผู้ที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนี้มีกลุ่มที่ชื่นชอบแข่งรถจักรยานยนต์บนท้องถนน
หรือที่เรียกกันว่า เด็กแว้น รวมอยู่ด้วย
(อ้างอิงบทความ ผลกระทบเรื่องอุบัติเหตุต่อเยาวชน สสส.http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/featured/5138)

...

...

จากสถิติของคณะทำงานศึกษาเครื่องชี้วัดภาระโรคและการบาดเจ็บ (BOD) ในปี 2547
เปิดเผยว่า การดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุอันดับสองของปัจจัยที่ทำให้เกิดภาระโรค ที่นำไปสู่ความสูญเสียที่เกิดจากการตายก่อนวัยอันควร
และการเจ็บป่วยหรือพิการ ของประชากรไทย
โดยปี 2550 มีเด็กชายอายุ 11-19 ปี ดื่มเหล้าถึง 1 ล้านคน เด็กหญิงอายุ 15-19 ดื่มราว 2 แสนคน
ซึ่งสาเหตุการตายลำดับ 1 ของเยาวชน ยังเป็นเรื่องอุบัติเหตุ ประมาณปีละ 4,000 คน หรือ 12 คนต่อวัน
โดยร้อยละ 40 ของอุบัติเหตุมาจากการดื่มเหล้า ที่สำคัญเหล้ายังสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย

เรามาดูกันครับ ว่าจังหวัดใดมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากที่สุด
...

รายละเอียด บทความประกอบแผนที่ คลิก

สุดท้ายนะครับ ผมมีแนวทางการขับรถให้ปลอดภัยมาฝากทุกท่าน

1. คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งไม่ว่าขับระยะใกล้หรือไกล รวมทั้งผู้โดยสารที่นั่งไปด้วย
2. ก่อนออกรถ ต้องปรับระยะเบาะ กระจกมองหลัง กระจกมองข้างซ้าย-ขวา ให้พอดี
3. ให้สัญญาญ ไฟเลี้ยว แตร ไฟสูง กับเพื่อนร่วมทาง หรือใช้สัญญาญต่างๆของรถ
    เมื่อเราจะเปลี่ยนเลน เลี้ยว จนเป็นนิสัย
4. รักษาระยะห่างจากรถคันหน้ากรณีเราขับตาม ถ้าถนนแห้งขั้นต่ำต้องห่างจากท้ายคันหน้า 3. ช่วงรถ  
    ถ้าถนนลื่นมีฝนตกหรือน้ำขัง ต้อง รักษาระยะห่าง 6 ช่วงรถ
5. มองกระจกหลัง กระจกซ้าย-ขวา ทุกๆ 10 วินาที หรือ ก่อนจะเปลี่ยนเลน
6. อ่านป้ายสัญญาญต่างๆ บนท้องถนนและทำตามข้อบังคับ
7. การแซงรถในทางโค้ง และถ้าเป็นเลนสวนควรเห็นรถที่สวนทางมา เมื่อไม่มี จึงแซง
    อย่าแซงเมื่อไม่เห็นทางข้างหน้า
8. ควรหยุดพักทุกๆ 2 ชม หรือขับได้ระยะทางประมาณ 300 กม เพื่อพักผ่อนสัก 15 นาที
    จะได้มีประสิทธิภาพในการขับต่อไป
9. ถ้าง่วงควรพักนอนตามปั๊ม หรือตู้ยามทางหลวงจะดีกว่าฝืนขับไป
10. ควรอ่านป้ายและคาดการในสภาพถนนข้างหน้า เช่น ป้ายเตือนโรงเรียนลดความเร็ว 
     ชุมชนลดความเร็ว ทางแยกไฟแดงลดความเร็ว
11. เมาไม่ขับ
12. จากการเก็บสถิติของบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่ง พบว่าอุบัติเหตุจะเกิดช่วงหลังเที่ยงคืน – เช้ามากที่สุด
      จากสาเหตุเมาและหลับใน
13. ความประมาทเล็กๆน้อยๆ จะนำมาซึ่งอุบัติเหตุ เช่น ขับสวนเลน ฝ่าไฟแดง
14. การอบรมความปลอดภัย ยกกรณีศึกษาอุบัติเหตุ การตรวจร่างการกาย สายตา 
     จะช่วยให้อุบัติเหตุในหน่วยงานลดลง
15. สุดท้าย อุบัติเหตุไม่ใช่เวรกรรม แต่เกิดจากการกระทำที่ประมาทครับ

ขอให้ปลอดภัยกันถ้วนหน้าครับ

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/featured/5138
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=jae-hom47&date=03-11-2010&group=11&gblog=18
http://gotoknow.org/blog/bod-thailand/420276
http://gotoknow.org/blog/bod-thailand/413250

หมายเลขบันทึก: 428533เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท