นักวิชาการฟันธง “แก้ผลกระทบชุมชนมาบตาพุดไม่ได้” อย่าหวังที่อื่น


เขียนโดย อมราวดี อ่องลา

รถไฟรางคู่เดือดร้อน 9 หมื่นครัว รธน.ระบุสิทธิชุมชน แต่หากไม่มีกฏหมายลูกรับช่วงก็ไร้ผล แก้ปัญหามาบตาพุดไม่ได้ ทั้งประเทศหมดหวัง

วันที่ 25 ก.พ.54 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานปฏิรูปเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(สปร.)ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) จัดเสวนา “ทางออกของการพัฒนาจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ: กรณีการพัฒนาที่มีผลกระทบต่อชุมชน” โดย ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวถึงโครงการรถไฟรางคู่ที่ครอบคลุมพื้นที่ 46 จังหวัดว่า 500 ชุมชน 90,000 ครัวเรือนจะได้รับผลกระทบ โดยจะได้รับผลกระทบแน่นอนจากรถไฟฟ้าสายสีแดง2,000 ครัวเรือน

นางมะลิอร คงแก่นท้าว ตัวแทนชุมชน กล่าวว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการรถไฟรางคู่ไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่ผู้บริหารประเทศยังมองแค่รถไฟฟ้า-ถนน เป็นตัวชี้วัดว่าเศรษฐกิจดี ทั้งที่การพัฒนาต้องอยู่บนพื้นฐานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชน รวมทั้งมีความยุติธรรมและมีการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น

นายจำรูญ สวยดี ผู้แทนเครือชุมชนข่ายภาคตะวันออก กล่าวว่าภาคตะวันออกได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ชุมชนเดือดร้อนมากว่าชุมชน 30 ปี รัฐอนุญาตแบบไม่ได้ลืมหูลืมตาว่าจะทำให้เกษตรกรรายย่อยต้องขายที่ดินให้ต่าง ชาติ หน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้องคือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ควรย้อนถามตนเองว่าส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมเกินขีดความพอดีหรือยัง ถัดมาคือกรมโยธาธิการและผังเมืองควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนกำหนดผังเมือง สุดท้ายคือคำถามว่าการปิโตรเลียมจะพัฒนาอย่างไรไม่ให้ภาคตะวันออกบอบช้ำแบบ นี้ ที่ผ่านมาเสียงเรียกร้องของชาวบ้านไม่ดัง ชุมชนจึงควรรวมตัวกันเพื่อสร้างคานงัดสังคม และน่าจะมีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคประชาชนขึ้นเพื่อคิด แผนพัฒนาในมุมกลับบ้าง

ชาวบ้านเสียสละเพื่อข้ออ้างสวยหรูว่าทำเพื่อชาติ สังคมกำลังบีบให้เขาทิ้งรากเหง้าวัฒนธรรม  ความรู้สึกของคน 8 จังหวัดตะวันออกคิดคือถ้าปล่อยให้ผูกขาดแบบนี้ต่อไปลำบากแน่

ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ตลอด 30 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แต่ก็ต้องยอมรับว่าสร้างผลผลิตมวลรวมประชาชาติ(จีดีพี) ที่ทำให้ประเทศเติบโต ดังนั้นสิ่งที่ที่ต้องพิจารณาคือเพิ่มมาตรการดูแลผลกระทบให้มากขึ้น ไม่ใช่ให้กลุ่มใดต้องแบกภาระความเสี่ยงจากการพัฒนา รัฐหรือเอกชนต้องชดเชยให้คนที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของภาษีหรืออื่นๆ

รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่าความยุติธรรมทางสังคมเสียศูนย์มาก ไม่สามารถแก้ได้ในระบบราชการปกติ สังคมมักรวบปัญหาทั้งหมดมาจบที่ตัวกฎหมายซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิคที่แก้ ปัญหาไม่ได้ แต่เชิงระบบคือการปลดล็อคอำนาจรัฐเป็นไปได้ยาก ภาคส่วนต่างๆต้องช่วยกันนำบทเรียนมาสร้างแรงกระเพื่อมขับเคลื่อนให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง

“แม้ว่าผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่เป็นประเด็นสิทธิชุมชนซึ่งถูกระบุ ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ แต่หากไม่มีกฏหมายลูกที่ออกโดยฝ่ายการเมืองมารองรับ ก็ไม่เกิดผลอะไร”

ผศ.กัลยาณี กุลชัย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่าสิ่งที่เป็นปัญหามากของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่คือกระบวนการประเมินผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ที่ควรจะเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้ชาวบ้าน แต่กลับไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาจะมีการตั้งหน่วยงานกลางที่ไม่ใช่รัฐมาดูแล ตรงนี้ มีการทำงานร่วมกับชุมชนตลอดกระบวนการ และสุดท้ายยังมีการประชาพิจารณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีในเมืองไทย

ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลปะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่าเบื้องหลังโครงการพัฒนาขนาดใหญ่คือการสะสมทุนทางเศรษฐกิจของคนกลุ่ม น้อยทั้งระดับชาติ ข้ามชาติ และทุนท้องถิ่น เสนอว่าควรเริ่มแก้จากกรณีปัญหามาบตาพุดซึ่งถือเป็นโมเดลผลกระทบชุมชนจาก โครงการพัฒนา หากแก้ที่นี่ไม่ได้ ที่อื่นก็ไม่มีทางเป็นไปได้

ต้นทางปัญหาคือชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม โดนหลอกตั้งแต่แรกไปถึงกรรมการสี่ฝ่ายที่ไม่มีชาวบ้าน แต่นักวิชาการกับชนชั้นกลาง ขณะที่โรงงานก็คือเพลย์บอยฟันแล้วทิ้ง บอกจะชดเชย ทำเป็นพิธีแล้วก็หลอกชาวบ้าน ดร.ชัยยนต์ กล่าว.

คำสำคัญ (Tags): #มาบตาพุด
หมายเลขบันทึก: 428519เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท