หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a10 : ตามประตูลมไปแล้วก็เจอเรื่องอึ้ง


เมื่อนึกถึงข้อเตือนใจที่เคยสรุปไว้ “แรงกดของอากาศ บอกถึงความสามารถของอากาศในการรับสิ่งของมาปนอยู่ในเนื้อของมัน ตรงไหนที่ลมไม่พัด ความชื้นสัมพัทธ์ยังเพิ่มได้ จะเพิ่มได้มากแค่ไหนไม่ขึ้นกับความกดอากาศตรงจุดนั้น ระหว่างจุดที่ลมไม่พัด กับจุดที่มีลมพัดไป-มา ถ้ามีความชื้นสัมพัทธ์สูงเท่ากัน จุดที่ลมไม่พัดจะมีเชื้อโรคที่ชอบความชื้นอยู่ได้นานกว่า” ตามลมไปก็ได้ความรู้จากของจริงมาอย่างนี้แหละ ตอนนี้ก็กลับมานอนก่ายหน้าผากคิดหนัก

ลมพัดเกิดจากความต่างของความดันอากาศต้นทางกับปลายทาง แล้วลมก็เป็นตัวพาความร้อนไปด้วย  อุณหภูมิสื่อถึงความร้อนที่ถูกพาไปกับลม ร้อน-เย็นเป็นผลของการวัดอุณหภูมิ สูงกว่าก็คือร้อน ร้อนน้อยกว่าก็คืออุ่น-เย็น ร้อน-อุ่น-เย็น เป็นคำแปลความรู้สึกที่แปลมาจากความรับรู้ของคน

ไอไม่ได้หมายถึงร้อนเท่านั้น เย็นก็มีไอได้ ไอที่เห็นมีอณูน้ำที่เปลี่ยนตัวเองจากของเหลวเป็นก๊าซและเข้ามาอยู่กับลมด้วย

ความร้อนมีดวงอาทิตย์เป็นต้นแหล่ง ลมนำพาความร้อนมาแบ่งปันให้มวลสารในโลก เวลามีความร้อนที่ตรงไหนตรงนั้นก็มีการนำพาความร้อนมาปล่อยออกไว้

ความร้อนในอาคารที่อยู่ชั้นล่างที่ไปเห็นมา ไม่น่าจะมาจากความร้อนที่ดวงอาทิตย์เป็นต้นแหล่งทั้งหมด แต่น่าจะมีแหล่งความร้อนมาจากที่อื่น แต่ที่เห็นก็ไม่มีแหล่งให้ความร้อนนอกจากคนป่วยและคนทำงานที่อยู่ในอาคาร

ไปพบว่าอุณหภูมิที่วัดได้ในอาคารตรงจุดที่อยู่เหนือลมของคนไข้กับใต้ลมมี อุณหภูมิแตกต่างกันเพียง ๑ องศาเซนติเกรด และในยามที่จุด ๒ จุดมีอุณหภูมิต่างกันอยู่เพียงแค่นี้ ตรงจุดนั้นก็ไม่มีลมพัดให้รับรู้เลย

ที่รู้ทิศลมกันก็เพราะช่วยกันใช้วิธีง่ายๆมาช่วยให้เห็นทิศทางลม คือ ใช้ริบบิ้นเล็กๆติดสกอตเทปไว้กับขื่อประตู แล้วจดบันทึกเวลาและทิศทางที่ริบบิ้นปลิวเข้าออกไว้พร้อมอุณหภูมิ แล้วนำข้อมูลกับสิ่งที่เห็นความสัมพันธ์ของประตูลมมาดูกัน

สิ่งที่ทำให้อึ้งก็คือ ตรงจุดหนึ่งที่ไปพบลมนิ่ง อยู่ตรงหน้าห้องพักผ่อน กินอาหารของเจ้าหน้าที่ ตรงนี้จะนิ่งตั้งแต่เช้ายันบ่ายของทุกวัน

ในหลักการของการสะสมเชื้อนั้น เชื้อโรคที่ติดต่อสู่คนผ่านอากาศจะลอยอยู่ในอากาศก่อนโดนแรงดึงดูดของโลกดูดตกลงมาที่พื้น

จุดนี้เป็นจุดที่เจ้าหน้าที่จะเคลื่อนไหวตัวน้อยที่สุด เพราะใช้งานมันยามพัก  อากาศก็ไม่เคลื่อนไหว คนก็เคลื่อนไหวน้อย เจอะกันแล้วจะเหลืออะไร  อากาศนิ่งๆอย่างนี้ทุกๆวันก็มีหวังสูดเชื้อโรคเข้าไปทุกวันซินะ ไม่ได้นึกเลยว่าจุดตรงนี้เองที่เป็นเรื่องต้นเหตุที่แฝงกายอยู่เงียบๆ

อีกจุดที่ลมนิ่งนั้นน่ากลัวกว่า ตรงที่เป็นโซนที่คนไข้วัณโรคนอนรักษาตัวกันอยู่ ตรงนั้นเป็นจุดที่เจ้าหน้าที่เดินไปทำงานเท่านั้นจึงจะอยู่ตรงนั้นนานๆ แต่คนไข้อยู่ด้วยกันนานๆ

เมื่อนึกถึงข้อเตือนใจที่เคยสรุปไว้ “แรงกดของอากาศ บอกถึงความสามารถของอากาศในการรับสิ่งของมาปนอยู่ในเนื้อของมัน  ตรงไหนที่ลมไม่พัด ความชื้นสัมพัทธ์ยังเพิ่มได้ จะเพิ่มได้มากแค่ไหนไม่ขึ้นกับความกดอากาศตรงจุดนั้น ระหว่างจุดที่ลมไม่พัด กับจุดที่มีลมพัดไป-มา ถ้ามีความชื้นสัมพัทธ์สูงเท่ากัน จุดที่ลมไม่พัดจะมีเชื้อโรคที่ชอบความชื้นอยู่ได้นานกว่า”

ตามลมไปก็ได้ความรู้จากของจริงมาอย่างนี้แหละ ตอนนี้ก็กลับมานอนก่ายหน้าผากคิดหนัก

๒ จุดที่ว่านี้อยู่ที่ประตูคนละจุด  เยื้องกันอยู่ในทิศของปลายขาตัวแอลหัวตั้งคนละขากัน  พื้นที่ภายใต้มุมของตัวแอลเป็นจุดที่ลมถ่ายเทไปมาได้ดี คนไข้และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ที่ทำงานอยู่จะครองตนอยู่ตรงพื้นที่ในอ้อมกอด นี่แหละทั้งกลางวันกลางคืน

ใต้ตึกมีน้ำขังคอยให้ความชื้นสัมพัทธ์ จะเป่าลมไล่อากาศออกมาจากตึกก็มีคนที่สามารถรับเชื้อโรคเข้าไปต่อได้ เพราะพื้นที่ส่วนของนอกประตูนั้นเป็นทางสัญจรไป-มาของผู้มาเยี่ยมไข้และญาติ จะลดความเสี่ยงจากความชื้นสัมพัทธ์ก็ต้องเติมลมเข้าไปเปลี่ยนความความกด อากาศ ๒ จุดให้ต่าง ลมพัดจะได้พัด แล้วจะเติมลมทิศไหนดีละนี่ ….เฮ้อ

อุณหภูมิที่วัดได้ว่าลมมันนิ่งอยู่ที่ ๒๘ องศาเซสเซียส ทั้ง ๒ จุด เหมาะทั้งสำหรับเชื้อก่อตัวอยู่กับไอน้ำในอากาศและเหมาะทั้งให้คนอยู่สบาย จะติดพัดลมดูดอากาศเหนือประตูทั้ง ๒ จุดนี้จะช่วยอะไรได้มั๊ยนะเรื่องการเปลี่ยนความกดอากาศ 

ไปดูอีกทีแล้วตัดสินใจดีกว่า....อิอิ....ไม่ใคร่ออกเลยนิ เมื่อคลำเจอตออย่างนี้

หมายเลขบันทึก: 428231เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใช้ริบบิ้นเล็กๆติดสกอตเทปไว้กับขื่อประตู

หรืออาจใช้กระดิ่งเล็กๆ

หรือโมไบล์บางอย่างติดไว้

เสียงดังกรุ๋งกริ๋ง

เพลินเชียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท