สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์


สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์

Orthopaedic Nurses’ Competencies in Orthopaedic Wards Udon Thani Hospital.

Authors :             Arunee Morakotpittayarak              RN

Panu Odklun                                       RN, M.Ed.

Abstract

The purpose of the present study was to Orthopaedic Nurses’ Competencies in Orthopaedic Wards Udon Thani Hospital during October, 2009 to September, 2009 by descriptive study. Stratified random sampling technique was used. Sample size was 37. The Instrument was an Orthopaedic Nurses’ Competencies questionnaire developed by Arunee Morakotpittayarak (2007). The content validity index of this instrument by Index of Congruence (IOC) was 1.00. The Internal consistency Reliability and Inter rater reliability by test was .83 , by 4 Competencies of Behaviorally Anchored  Rating  Scale (BARS) were 0.81  and 0.81 , 0.90 and 0.89 , 0.70 and  0.93 , 0.83 and 0.84  respectively. By  2 Competencies of Observation  checklist were 1.0 and 0.98 respectively. Data were analyzed by frequency, percent, arithmetic means, standard deviations and Multivariate Analysis of Variance

                The purposes of this research were

1. Competency levels of Nurses about knowledge and practice in orthopaedic Wards Udon Thani Hospital were Proficient level

                2. Difference competency levels of Nurses about knowledge and practice in difference orthopaedic Wards Udon Thani Hospital (P < .05).  Tests of Between-Subjects Effects showed difference competency levels of Nurses about practice in difference orthopaedic Wards Udon Thani Hospital             (P < .05).

 

Key word  : competency levels of Nurses, Orthopaedic Nurses’ Competencies.

 

 

 

 

 

 

 

 

สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี.

ผู้วิจัย : อรุณี  มรกตพิทยารักษ์ และ ภาณุ  อดกลั้น (2552).

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) ในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลในช่วงเวลา 1 กรกฎาคม 2552 – 30 พฤศจิกายน 2552 รวมระยะเวลา 5 เดือน กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน    37 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพศัลยกรรม        ออร์โธปิดิกส์ของ อรุณี    มรกตพิทยารักษ์ (2550)  การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ในด้านความตรงตามเนื้อหา(Content validity) ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence : IOC) 1.00 และ ความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้ Cronbach’s Alpha Coefficient  และวิธีเท่าเทียมกันของการสังเกต ( Inter rater  reliability ) ด้านความรู้ใช้แบบวัดความรู้ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 ด้านการปฏิบัติใช้แบบประเมินพฤติกรรมหลัก (BARS) 4 สมรรถนะ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81  และ 0., 0.90 และ  0.89 , 0.70 และ  0.93 , 0.83 และ  0.84  ตามลำดับ ด้านการปฏิบัติใช้แบบสังเกตพฤติกรรม (Observation  checklist) 2 สมรรถนะ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 1.0  และ 0.98 ตามลำดับ

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (Multivariate Analysis of Variance)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ด้านความรู้ และ ด้านปฏิบัติการ อยู่ในระดับดี   

                2.      ความสัมพันธ์ของหอผู้ป่วย ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งราชการ ที่มีต่อสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทาง ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ทดสอบด้วย Multivariate Tests(c)   พบว่าหอผู้ป่วยที่ต่างกัน ทำให้ สมรรถนะด้านความรู้ และ สมรรถนะด้านการปฏิบัติ ต่างกัน  (P < .05)  ผลการทดสอบอิทธิพลของตัวแปรต้นด้วยสถิติ Tests of Between-Subjects Effects ที่มีต่อตัวแปรตาม โดยการแยกทดสอบแต่ละสมรรถนะ พบว่า  หอผู้ป่วย มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติ (P < .05) 

 

คำสำคัญ : สมรรถนะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ, การพยาบาลศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์

บทนำ

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้มีการกำหนดถึงระบบบริการสาธารณสุขที่ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและการควบคุมโรค  และปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครับครัวและชุมชน

ผลการสำรวจภาวะเจ็บป่วยของประชาชนระหว่าง พ.ศ.2534 – 2549 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติประชาชนเจ็บป่วยด้วยภาวะโรคที่เกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจเป็นอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 38.1 – 45.7 ของประชากร รองลงมาคือ โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก และข้อ คิดเป็นร้อยละ 11.4 – 15.7 ของประชากร  (กระทรวงสาธารณสุข, 2551 : 164-165)

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางออร์โธปิดิกส์ เป็นการพยาบาลที่มีลักษณะเฉพาะ คือ ให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุที่มีพยาธิสภาพของกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ และประสาทควบคุม(Santy et al.,2005) บางรายมีปัญหาซับซ้อนต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ต้องการการช่วยเหลือจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง และมีคุณภาพ อาจเกิดความพิการได้(Richardson, 2001) จากข้อมูลโรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2552 พบว่ามีผู้ป่วยกระดูกหักมารับบริการเป็นจำนวนมาก ถึง 2,048 ราย หรือประมาณวันละ 6 รายต่อวัน(คิดจาก 365 วัน) (โรงพยาบาลอุดรธานี,2552) เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการให้บริการ อันอาจนำไปสู่ภาวะอันตรายต่อผู้รับบริการได้นอกจากการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหัก ที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจะมีความยุ่งยากซับซ้อนแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จากสรุปค่าใช้จ่ายในผู้ป่วยจำนวน 1,900 ราย ต้องใช้งบประมาณถึง 30,604,554 บาท เฉลี่ย 177,095 บาทต่อราย

จากสภาพปัญหาและความสำคัญดังกล่าวทำให้ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์  โรงพยาบาลอุดรธานี เพื่อให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์  โรงพยาบาลอุดรธานี เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับผู้บริหารในการพัฒนางานบริการของแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์  โรงพยาบาลอุดรธานี สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนต่อไป

คำถามวิจัย

สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพศัลยกรรมที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์  โรงพยาบาลอุดรธานี อยู่ในระดับใด และเป็นอย่างไร

วัตถุประสงค์การวิจัย

                        1. เพื่อประเมินสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี

                        2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหอผู้ป่วย ตำแหน่งราชการ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่มีต่อสมรรถนะด้านความรู้ และด้านปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพศัลยกรรมที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี

                        3. เพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับผู้บริหาร ในการพัฒนาสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี

วิธีการศึกษา

                การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) เพื่อประเมินสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพ ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ในพยาบาลวิชาชีพทุกระดับ ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ 4 หอผู้ป่วย ของ โรงพยาบาลอุดรธานี ในปีงบประมาณ 2552

ประชากร

ประชากร ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ไม่รวมหัวหน้าหอผู้ป่วย จากทั้ง  4  หอผู้ป่วย คือ หอผู้ป่วยในรวมเมตตา 1 , หอผู้ป่วยในรวมเมตตา 2 , หอผู้ป่วยในรวมเมตตา 3 และ , หอผู้ป่วยใน Spinal Unit จำนวน     42 คน กลุ่มตัวอย่าง ใช้เทคนิคการสุ่ม (Sampling technique) แบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง (Sample size) จำนวน    38 คน เก็บข้อมูลได้จริง 37 คน คิดเป็นร้อยละ 97.37

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ของ อรุณี    มรกตพิทยารักษ์ (2550)  เป็นเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะ พยาบาลศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ประกอบด้วย 3 ชุด คือ ชุดที่ 1   แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้   ชุดที่ 2  แบบประเมินสมรรถนะด้านพฤติกรรมหลัก (Behaviorally Anchored  Rating  Scale : BARS )  และชุดที่ 3     แบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะความชำนาญ         โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม (Observation checklist)

การวิเคราะห์ข้อมูล

                1.  ข้อมูลส่วนบุคคล ของพยาบาลวิชาชีพศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี นำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ

                2. ข้อมูลแบบวัดสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี

2.1 แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้   นำตรวจให้คะแนน หาค่าสูงสุด (Maximum)

ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

                                2.2 แบบประเมินพฤติกรรมหลัก (BARS) นำตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ในการให้คะแนน พร้อมจัดระดับสมรรถนะ แล้วนำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ

2.3 แบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะความชำนาญ ตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การประเมิน

คะแนนการปฏิบัติ แล้วนำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ

                3. ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (Multivariate Analysis of Variance)

ผลการวิจัย

1. สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มี 2 ส่วน คือ สมรรถนะด้านความรู้ และการปฏิบัติ

1.1 สมรรถนะด้านความรู้ในการพยาบาลเฉพาะทาง ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอ

ผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ในภาพรวมได้ 111 คะแนน จากคะแนนเต็ม 138 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.43 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สมรรถนะด้านความรู้ในการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับดี    (Proficient) โดยมีจุดเด่นในเรื่องความรู้ในการใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักที่ผิวหนัง (skin traction) แต่มีจุดที่ควรพัฒนาความรู้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึงด้วยวัสดุภายในระยางค์  

                1.2  สมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทาง ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี  สรุปได้ว่าสมรรถนะด้านปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับดี    (Proficient) แสดงว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี มีจุดเด่นในเรื่องการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดการเพิ่มความดันภายในช่องกล้ามเนื้อ (Compartment syndrome)    แต่มีจุดที่ควรพัฒนาการปฏิบัติการใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักที่ผิวหนัง (skin traction)   และการผ่านเกณฑ์ทุกสมรรถนะด้านปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางรายบุคคล มีเพียงร้อยละ 37.84  

                2. อิทธิพลของหอผู้ป่วย ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งราชการ ที่มีต่อสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ทดสอบด้วย Multivariate Tests(c)   โดยวิธี Pillai's Trace , Wilks' Lambda, Hotelling's Trace, Roy's Largest Root สรุปได้ว่า หอผู้ป่วยที่ต่างกัน ทำให้ สมรรถนะด้านความรู้ และ สมรรถนะด้านการปฏิบัติ ต่างกัน  สำหรับตัวแปรต้น คือ ตำแหน่งราชการ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ได้ค่า P > .05 จึงสรุปได้ว่า ตำแหน่งราชการ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่ต่างกัน แต่สมรรถนะด้านความรู้ และ สมรรถนะด้านการปฏิบัติ ไม่ต่างกัน  ผลการทดสอบอิทธิพลของตัวแปรต้นด้วยสถิติ Tests of Between-Subjects Effects ที่มีต่อตัวแปรตาม โดยการแยกทดสอบแต่ละสมรรถนะ พบว่า  หอผู้ป่วย เมื่อทดสอบกับสมรรถนะด้านการปฏิบัติได้  P = .008 ซึ่งน้อยกว่า P = .05 สรุปได้ว่า หอผู้ป่วย มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติ  สามารถใช้ในการพยากรณ์ได้ถูกต้อง(R Squared) ร้อยละ 77.3 และการทดสอบอิทธิพลร่วมของตัวแปรต้นทั้ง 3 ตัวไม่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม

การอภิปรายผล

สมรรถนะด้านความรู้ในการพยาบาลเฉพาะทาง ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี อยู่ในระดับดี    (Proficient) โดยมีจุดเด่นในเรื่องความรู้ในการใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักที่ผิวหนัง (skin traction) แต่มีจุดที่ควรพัฒนาความรู้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึงด้วยวัสดุภายในระยางค์   และสมรรถนะด้านปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะ ทางของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรม       ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับดี    (Proficient) มีจุดเด่นในเรื่องการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดการเพิ่มความดันภายในช่องกล้ามเนื้อ (Compartment syndrome)    แต่มีจุดที่ควรพัฒนาการปฏิบัติการใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักที่ผิวหนัง (skin traction)   และการผ่านเกณฑ์ทุกสมรรถนะด้านปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางรายบุคคล มีเพียงร้อยละ 37.84   ต้องวางแผนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติการใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักที่ผิวหนัง (skin traction)   ที่ผ่านเกณฑ์น้อย คิดเป็นร้อยละ 59.5   ควรวางแผนพัฒนาการดูแลผู้ป่วยใส่เครื่องดึงถ่วงน้ำหนัก (Traction)  และการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึงด้วยวัสดุภายในระยางค์   ที่ผ่านเกณฑ์น้อย ไม่ถึงร้อยละ 80   เนื่องจากข้อมูลโรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2552 พบว่ามีผู้ป่วยกระดูกหักมารับบริการเป็นจำนวนมาก ถึง 2,048 ราย หรือประมาณวันละ 6 รายต่อวัน(คิดจาก 365 วัน) (โรงพยาบาลอุดรธานี,2552) เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการให้บริการ อันอาจนำไปสู่ภาวะอันตรายต่อผู้รับบริการได้นอกจากการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหัก ที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจะมีความยุ่งยากซับซ้อนแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จากสรุปค่าใช้จ่ายในผู้ป่วยจำนวน 1,900 ราย ต้องใช้งบประมาณถึง 30,604,554 บาท เฉลี่ย 177,095 บาทต่อราย ข้อควรระวังคือยังพบอัตราการเกิดเหล็กหักซ้ำในระยางค์ล่าง ในปี /2549 – 2551 พบร้อยละ  5.58  , 7.3  และ 1.53  ตามลำดับ สอดคล้องกับการศึกษาของ ปัทมา เพชรไพรินทร์(2547) , สุจิตรา     ผ่องผดุง (2550)

หอผู้ป่วยมีอิทธิพลต่อสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทาง ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี อาจมีสาเหตุมาจากผู้ป่วยที่รักษาตัวในหอผู้ป่วยแตกต่างกัน มีอาการหนักเบาแตกต่างกัน จากรายงานโรงพยาบาลอุดรธานี ปีงบประมาณ 2552 พบว่า จำนวนชั่วโมงการพยาบาลเฉลี่ยต่อวัน ของหอผู้ป่วยรวมเมตตา 1 , 2 , 3 และ Spinal Unit  เป็น 2.73 , 2.65 , 3.13 ,  8.05 ชั่วโมง ตามลำดับ (โรงพยาบาลอุดรธานี,2552) แสดงให้เห็นถึงความเจ็บป่วยที่แตกต่างกัน ความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกัน จำนวนชั่วโมงในการพยาบาลผู้ป่วยจึงแตกต่างกัน จึงส่งผลต่อทักษะการปฏิบัติที่ให้บริการอยู่บ่อยๆจนเกิดความชำนาญ เมื่อประสบกับปัญหา หรือคำถามในการให้บริการจึงนำไปสู่การค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง (Self learning) และการฝึกทักษะปฏิบัติเพื่อใช้จริงในภาระงานประจำได้  สอดคล้องกับการศึกษาของกุลวดี   มุฑุมล (2542)  , นารี  แซ่อึ้ง (2543) , กุลวดี  อภิชาติบุตร  และสมใจ  ศิระกมล(2547)  , เตือนใจ  พิทยาวัฒนชัย (2548) , McCormick & Ilgen (1985) 

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ โดยเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ

2. ประเมินสมรรถนะพยาบาลศัยลกรรมออร์โธปิดิกส์เป็นระยะๆเพื่อนำไปพัฒนาการพยาบาลให้มีสมรรถนะในระดับดีขึ้นไป

3. พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ที่ยังไม่ได้อบรมเกี่ยวกับ

การพยาบาลศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ทั้งหมด รวมทั้งพยาบาลบรรจุใหม่ ควรมีการวางแผนให้เข้ารับการอบรมให้ครบทุกคน

4. จัดในมีการศึกษาดูงาน / อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสมรรถนะด้านการปฏิบัติของพยาบาล

ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในโรงพยาบาล ในประเทศ และ/หรือ ต่างประเทศ เพื่อสร้างทักษะขั้นสูงในการบริการผู้ป่วย และผลการประเมินทุกสมรรถนะอยู่ระดับดีขึ้นไป และผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80

          5. กำหนดแผนงานให้มีการวิจัยในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ให้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะ หรือ การพัฒนาสมรรถนะในการบริการของพยาบาลวิชาชีพออร์โธปิดิกส์  โรงพยาบาลอุดรธานี

2. พัฒนาเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะทั้งด้านความรู้ และด้านการปฏิบัติ ให้สามารถวัดสมรรถนะตามระดับความเชี่ยวชาญ สอดคล้องกับวิทยาการด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

3. ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการพยาบาล ต่อผู้ป่วยและญาติที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วย

เอกสารอ้างอิง

จิรวรรณ  ชาประดิษฐ์.  (2545).  การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกและขาหัก  ภายในระยะเวลา

48 ชั่วโมง  หลังเข้าเฝือกปูน.  รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จรูญศรี  รุ่งสุวรรณ.  (2530).  การพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ในเครื่องดึง  (Nursing  care  of  the  patient  on 

traction).  เชียงใหม่:  ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์  คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนา  บุญทอง.  (2544).  สมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพและสมรรถนะหลักของพยาบาลผดุงครรภ์

ชั้นหนึ่ง.  เอกสารการประกอบการสัมมนาพยาบาลศาสตร์ศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 3   วันที่ 23–25  กรกฎาคม  2544  ณ  โรงแรมดิเอมเมอรัลด์  กรุงเทพมหานคร.  กรุงเทพฯ:  งานเจริญเปเปอร์

แอนด์พรินท์  จำกัด.

บุญใจ  ศรีสถิตย์นรากูร.  (2545).  ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์

                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีเทียน  ตรีศิริรัตน์  และคณะ.  (2545).  การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก. 

ขอนแก่น:  ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์  คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สภาการพยาบาล . (2550). แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิก . กรุงเทพฯ : บริษัท จุดทอง จำกัด.

สภาการพยาบาล.  (2547).  สมรรถนะจำเป็นของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. 

สืบค้นเมื่อ  20  สิงหาคม  2552,  จาก  http://www.tnc.or.th/knowledge/index.html.

สรวงกนก  บูรณะบุตร.  (2546).  หลักการพยาบาลทั่วไปทางออร์โธปิดิกส์.  กรุงเทพฯ:  ปาริรุส  พับลิเคชั่น 

                จำกัด.

สุจิตรา     ผ่องผดุง. (2550). สมรรถนะพยาบาลศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์  โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์

ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิญญา  จำปามูล.  (2548).  สมรรถนะของพยาบาลและการสร้างแบบประเมิน.  เอกสารประกอบการ

ประชุมวิชาการ  เรื่องการพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน.  ขอนแก่น:  โรงพยาบาลขอนแก่น.

อรุณี     มรกตพิทยารักษ์. 2550. การสร้างสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพ                   

             ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาล

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.     

Barbara K. Timby and Nancy E. Smith . (2006). Introductory Medical-Surgical

                Nursing . Lippincott Williams&Wilkins . Eighth Edition. USA ,

Sandra M.Nettina en al. (2006). Manual of Nursing Practice. 8th edition .

                Lippincortt Williams & Wilkins.USA.

Spencer, L.M. & Spencer, S.M. (1993). Competence at work: Model for superior performance.

New York: Wiley. Suzanne C.Smeltzer and Brenda Bare. (2004). Medical-Surgical Nursing .

                10th edition . Lippincortt Williams & Wilkins.USA.

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 428080เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท