การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน


    บทสรุปความสำเร็จเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

๑.      ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตามหลัก “บวร” เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้เยาวชนไทยเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์ ครูที่ปรึกษาต้องใกล้ชิดและปรับปรุงข้อมูลนักเรียนอยู่เสมอเพราะผู้ปกครองมีการย้ายที่อยู่ เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์เสมอ บางครั้งติดต่อไม่ได้

๒.    สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอ เพื่อให้บุคลากรในโรงเรียน ตั้งแต่ครูประจำวิชา ครูที่ปรึกษา หัวหน้าสาขาวิชา ผู้บริหารและบุคลากรภายนอกโรงเรียน ได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัด ทำงานเป็นทีม ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน สามารถนำประสบการณ์ของแต่ละคนมาแบ่งปันเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้รอบด้านครบถ้วน การพัฒนาบุคลากรและทีมงานทุกระดับให้มีเจตคติที่ดี มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการทำงาน สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างประสานเชื่อมโยงกับทุกกลไกที่มีอยู่ภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียนได้อย่างถูกต้องตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกันที่กำหนดไว้ ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจและติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยต้องยึดหลัก PDCA

๓.     การกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน สามารถติดตามประเมินผลการทำงานได้ถูกต้องเพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้บรรลุตามเป้าหมายของโรงเรียนอย่างเหมาะสม ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้จะต้องวัดได้จริงและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อ้างอิงจากข้อมูลพื้นฐานที่เชื่อถือได้ ผู้ปฏิบัติได้มีส่วนร่วมในการกำหนด ไม่สูงเกินไปจนผู้ปฏิบัติหมดกำลังใจ หรือต่ำเกินไปจนผู้ปฏิบัติหมดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน

 

อ้างอิงจาก    อรอุมา วิวัฒรางกูร  ระบบดูและช่วยเหลือนักเรียน – หัวใจของการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษา  วารสารวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม – กันยายน  ๒๕๕๓

 

คำสำคัญ (Tags): #ชัยภูมิ8
หมายเลขบันทึก: 428055เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การดูแลช่วยเหลือนักเรียนหากครูผู้สอนทำได้ดังเช่นนี้จะทำให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพในตนเองได้มาก

1.ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนอย่างต่อเนื่อง

2.สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอ

3.การกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน

แต่ด้วยภาระงาน ไม่ว่าจะเป็นงานนโยบายต่างๆ งานประจำ ก็ทำให้ครูหมดแรงแล้วครับ สู้เพื่อพัฒนาประเทศครับเดี๋ยวจะตามประเทศอื่นไม่ทัน 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท