แนวทางการจัดการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน


แนวทางการจัดการศึกษา

          การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอันเกิดจากการกระทำมนุษย์ ทำลายชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ได้สร้างปัญหาให้กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมหาศาล การที่มนุษย์ยังคงใช้แนวทางพัฒนาแบบเก่าซึ่งไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา อันหมายถึง ข้อจำกัดด้านสภาพ ความสามารถที่จะรองรับการอุปโภค บริโภค และการใช้ประโยชน์จากโลก และเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะนำมาบริโภค และใช้ประโยชน์หมดลง อีกไม่นานทุกชีวิตบนโลกจะต้องจบสิ้นเพราะมนุษย์จะไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้อี­กต่อไป หากมนุษยชาติบนโลกได้มีโอกาสได้รับการศึกษาและได้ เรียนรู้ค่านิยมมีพฤติกรรมและรูปแบบของชีวิตที่ตนพึงพอใจเพื่อ อนาคตที่ยั่งยืนและเพื่อสร้างสังคมที่ดีงามการพัฒนาทางการศึกษา ที่ยั่งยืนจึงเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันมิให้โลกต้องเดินไปสู่จุดจบ

          “การพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน” หมายถึง  “การพัฒนาที่ตอบ สนอง ความต้องการของคนเน้นความสามารถในการพึ่งตนเอง เป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและธรรมชาติ ยั่งยืน คงอยู่ได้เป็นเวลานานตลอดชีวิตหรือหลายชั่วอายุคนที่จะให้มวลมนุษยชาติ ในโลกได้มีโอกาสได้รับการศึกษาและได้เรียนรู้ค่านิยมมีพฤติกรรม และรูปแบบของชีวิตที่พึงพอใจ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและสร้าง สังคม ที่ดีงาม

นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน 
          1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง  การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเองโดยโรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้เตรียมความพร้อมทุกด้านทุกหน่วยงานในสังคมมีบทบาทในการจัดการศึกษาเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนสามารถศ­ึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเองการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน ในลักษณะของการบูรณาการ สอดคล้องกับวิถีชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตจะต้องครอบคลุมบทบาทของมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนตาย การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยจะต้องเกื้อกูลกัน ทุกคนมีโอกาสศึกษา หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 
         2. ความเสมอภาค (equality) ความเสมอภาคทางการศึกษา คือ   การให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน  คือ  การให้สิทธิและโอกาสในการรับการศึกษาแก่ทุกกลุ่มคนในสังคม โดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายสถานะบุคคลทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ความสมานฉันท์  หรือการร่วมสุขร่วมทุกข์ ร่วมในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปัญหา  เสมอภาคโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ไม่ดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามกัน รวมทั้งไม่เอารัดเอาเปรียบกัน  จึงต้องมีขอบเขตในการที่จะไม่ก้าวล้ำ  ไม่ละเมิดต่อผู้อื่น  มีโอกาสที่จะใช้เสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน

        ดังนั้นการจัดการศึกษาในโลกยุคปัจจุบัน มุ่งเน้นให้ทุกคนมีโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกัน  รู้จักประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมเพราะการศึกษา เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้และพัฒนาที่ยั่งยืน

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 428012เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท