บัญชีรายการยา รพ.สต.(ยาสมุนไพร) จ.ขอนแก่น


บัญชีรายการยาสถานีอนามัย(ยาสมุนไพร)  จ.ขอนแก่น

ขมิ้นชันขี้ผึ้ง

ไพล  

 ชาชงชุมเห็ดเทศ 

 พญายอ

 ฟ้าทะลายโจร 

 มะแว้ง   

 เจลว่านหางจระเข้   

 

ขมิ้นชัน

ชื่อยา      

ขมิ้นชัน (Curcuma longa L. , Curcuma domestica Valeton (ชื่อพ้อง))

รูปแบบและความแรง  

ยาแคปซูล ที่มีผงเหง้าขมิ้นชันแห้ง 250 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้

บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด

ขนาดและวิธีใช้  

รับประทานครั้งละ 2 - 4 แคปซูล (500 มิลลิกรัม - 1 กรัม) วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

ข้อห้ามใช้

ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน ผู้ที่ไวต่อยานี้ ผู้ป่วยโรคนิ่วควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

ข้อควรระวัง

- ควรระมัดระวังการใช้ในหญิงมีครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์

- ควรระวังการใช้ในเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย

อาการไม่พึงประสงค์  

ผิวหนังอักเสบจากการแพ้

 

ขี้ผึ้งไพล

ชื่อยา  

ไพล (Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.,Zingiber cassumunar Roxb. (ชื่อพ้อง))

รูปแบบและความแรง  

ครีม (น้ำมันไพล 14%)

ข้อบ่งใช้

บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก

ขนาดและวิธีใช้

ทาและถูเบาๆ บริเวณที่มีอาการวันละ 2 - 3 ครั้ง

ข้อห้ามใช้

- ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน

- ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด

ข้อควรระวัง

ไม่แนะนำให้ใช้กับสตรีมีครรภ์ หรือระหว่างให้นมบุตรและกับเด็กเล็ก

 

 

ชาชงชุมเห็ดเทศ

ชื่อยา

ชุมเห็ดเทศ (Senna alata (L.) Roxb. , Cassia alata L. (ชื่อพ้อง))

รูปแบบและความแรง

ยาผง ที่มีใบชุมเห็ดเทศแห้ง ซองละ 3 กรัม

ข้อบ่งใช้

บรรเทาอาการท้องผูก

ขนาดและวิธีใช้

รับประทานครั้งละ 1 - 2 ซอง (3 - 6 กรัม) ชงในน้ำเดือด 120 มิลลิลิตร นาน 10 นาที

วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน

ข้อห้ามใช้

ผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารอุดตัน (Gastrointestinal obstruction)

ข้อควรระวัง

-ระมัดระวังการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี หรือในผู้ป่วย inflammatory bowel disease

- การรับประทานยาในขนาดสูงอาจทำให้เกิดไตอักเสบ (nephritis)

- ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ท้องเสีย ซึ่งส่งผลให้มีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไปโดยเฉพาะโปแตสเซี่ยม

พญายอ

ชื่อยา

พญายอ (Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau.)

รูปแบบและความแรง

ครีม ที่มีสารสกัดพญายอ 4-5%

สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ที่มีสารสกัดพญายอในกลีเซอรีน 2.5 – 4%

โลชั่น ที่มีสารสกัดพญายอ 1.25%

ข้อบ่งใช้

1. ครีม บรรเทาอาการของ เริมและงูสวัด

2. ยาป้ายปาก รักษาแผลในปาก (aphthous ulcer)

3. โลชั่น บรรเทาอาการ ผดผื่นคัน ลมพิษ ตุ่มคัน

ขนาดและวิธีใช้

ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 5 ครั้ง

มะแว้ง

ชื่อยา

ยาอมมะแว้ง

ข้อบ่งใช้

บรรเทาอาการไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับเสมหะ

ขนาดและวิธีใช้

อมครั้งละ 3-5 เม็ด เมื่อมีอาการไอ

ข้อควรระวัง

- ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 15 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

- ในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดการใช้เกลือไม่ควรใช้น้ำมะนาวแทรกเกลือ

เจลว่านหางจระเข้

 

ชื่อยา

ว่านหางจระเข้  (Aloe vera L. Burm. f. , Aloe barbadensis Mill (ชื่อพ้อง))

รูปแบบและความแรง

เจล (วุ้นว่านหางจระเข้ 87.4 %)

ข้อบ่งใช้

รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และทาให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง

ขนาดและวิธีใช้

ทาบริเวณที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก วันละ 2-3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง

 

 

จัดทำโดย  คณะทำงานพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม

               โครงการพัฒนาระบบยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ

               และความปลอดภัยด้านยาในชุมชน  จ.ขอนแก่น

 

หมายเลขบันทึก: 427985เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ แวะมาเยี่ยมชม ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท