โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

หนึ่งทศวรรษเวชศาสตร์ครอบครัว รามาธิบดี ตอนที่ 1 ประสบการณ์ เวชศาสตร์ครอบครัว


"เป็นคนแรกที่เริ่มดูแลคนไข้และเป็นคนสุดท้ายที่จะยืนเคียงข้างไม่ว่าเขาจะอยู่ในสถานการณ์ใด ไม่มีคำว่าหมด condition ทาง fammed นี่คือนิยามของพวกเรา"

ห่างหายไปนานกับการเขียน Blog เพราะมัวแต่ไปเห่อ Facebook  ประกอบกับงานเยอะ ตอนนี้ผมอยู่ที่ การประชุม palliative care national forum ที่รามาธิบดี แล้วแวะไปภาค fammed ก็เลยโดนทวงเอกสารประกอบการประชุมงาน 1 ทศวรรษ เวชศาสตร์ครอบครัวรามา... วันที่ 9-11 มีนาคม 2554 ใครสนใจไปร่วมได้นะครับ

ส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นเพราะผมเป็นศินย์เก่ารามาธิบดี ดีใจและเป็นเกียรติมากที่ได้ร่วมงานนี้ครับเพราะ เป็นการประชุมที่ผมเชื่อว่าจะอบอุ่นสมกับการกลับบ้านเก่า..เอ้ย...กลับไปเยี่ยมสถาบันเดิมที่ผมรักเป็นอย่างมาก

หัวข้อที่ผมได้ไปร่วมเป็นเรื่อง "community experience: Palliative care, disabled เมื่อหมอครอบครัวดูแลผู้พิการในชุมชน" ผมเห็นเรื่องที่ต้องไปร่วมแลกเปลี่ยนแล้วก็เลยต้องมาทบทวนตัวเองว่า เรียนจบมา 6 ปีสำหรับการเป็น family doctor ที่แม่สอดผมทำอะไรไปบ้าง และผมประสบความสำเร็จในเรื่องใด ผมล่มเหลวในเรื่องไหนบ้าง ก็เลยลองย้อนไปอ่านบันทึกแรก ๆ ที่เขียนลง Gotoknow คือ ประสบการณ์ Fammed 1-3 ซึ่งนั้นก็เป็นเวลา 3 ปีกว่าแล้ว นึกสนุก อยากเขียนตอนที่ 4 ขึ้นมาซะอย่างนั้น ตอน 1-3 บอกเล่าความคิดตัวเองในช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เป็น นศพ.-resident และจบแค่ตอนจบใหม่ ๆและยังไม่มีประสบการณ์ ตอน 4 ก็คงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ 6 ปีแรกของการเป็น "หมอครอบครัว" อย่างเต็มภาคภูมิ

สิ่งที่ผมเห็นตัวเองในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมาในหลายด้าน ผมอยู่ รพ.แม่สอดเป็น รพ. ทุติยภูมิขนาด 300 กว่าเตียง สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ว่าบทบาทของหมอครอบครัวที่ดีควรเป็นอย่างไร คงพอสรุปได้ ดังนี้

1.ทำอย่างไรให้นำภาคความเป็นองค์รวมมาสู่ระบบของเรา(holistic care) เราในฐานะที่เป็นแพทย์ที่ถูกฝึกให้แก้ไขปัญหาแบบองค์รวม..บทบาทที่สำคัญใน รพ. ไม่ว่าจะอยู่ใน รพ.ขนาดใด คือ  : ตัวอย่างที่อาจพอให้เห็นเป็นรูปธรรมคือ เราสามารถจะวิธีการมองแบบองค์รวมเผยแพร่ผ่านวิธีการดูแลคนไข้ของเรา ผ่าน conference ของ รพ.. ชวนคิดชวนทำกับคนที่สนใจ ขยายงานแบบไม่เป็นทางการ

ยกตัวอย่างสมัยผมเป็น intern ortho พี่ผมเจอคนไข้โดนระเบิดและต้องตัดขา มีคนไข้ 5 คนต้องตัดขาเหมือนกัน แต่พี่ ortho สังเกตเห็นชายกะเหรี่ยงคนหนึ่งเขาดูอดทนไม่ร้องเจ็บปวดก็เลยถามว่าทำอะไรถึงโดยระเบิด ล่ามแปลได้ใจความว่า เขาเป็นทหารกะเหรี่ยง

พี่เขาเลยถามว่า "แล้วตัดขาแล้วจะกลับไปรบอีกไหม?"

ทหารกะเหรี่ยง "ต่อให้แขนขาดอีกข้างก็จะรบ"

พี่ผมเลยบอกผมว่า เดี่ยวคนนี้ต้องทำให้เขาอย่างดี+ หาขาเทียมเบา ๆ จะได้กลับไปรบได้ คนนี้ไม่ใช้แค่คนไข้ตัดขา แต่เขาเป็นนักรบผู้กล้าแห่งชนชาติกะเหรี่ยง

2. ทำอย่างไรจะสร้างการดูแลคนต่อเนื่องได้ (continuous care and coordination care) เปรียบกันแต่ละคนใน รพ. เห็นภาพถ่ายคนไข้คนละตอน ไร้บริบทเมื่อเรานำภาพองค์รวมให้ทุกคนได้เห็น เราอาจเร้าจิตกุศลที่อยากช่วยเหลือผู้คนได้มาก วางบทบาททีมสหสาขาว่าใครควรช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างไร เมื่อเกิดการดูแล นำสิ่งดีๆ ที่เกิดระหว่างการดูแลมาชื่นชม คนทำจะรู้สึกว่าทุกงานที่ทำกับคนไข้จะมีความหมาย การสร้างทีมเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด

3. บทบาทของเราน่าจะเหมาะกับคำว่า "ผู้จัดการสุขภาพ"

เป็นแพทย์ประจำตัว "เป็นคนแรกที่เริ่มดูแลคนไข้และเป็นคนสุดท้ายที่จะยืนเคียงข้างไม่ว่าเขาจะอยู่ในสถานการณ์ใด ไม่มีคำว่าหมด condition ทาง fammed นี่คือนิยามของพวกเรา"

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 427607เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2011 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยเลยนะ กับความเห็นข้อสุดท้าย เมื่อไรที่หมอ FAMMED สามารถทำหน้าที่ "ผู้จัดการสุขภาพ" เมื่อนั้นจะช่วยเหนี่ยวนำให้ "ทีม" และ "ระบบดูแล" เป็น Holistic care ที่สวยงาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท