วิธีการศึกษากรณีศึกษาในวิทยานิพนธ์


คนในข้อเท็จจริงที่ทำให้คนประสบปัญหาความไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 4 ประการ คือ

1. กรณีคนในพื้นที่ห่างไกล

2. กรณีคนไร้รากเหง้า

3. คนหนีภัยความตาย

4. กรณีคนชายแดน

 

 

1. กรณีคนในพื้นที่ห่างไกล

- นายจอบิ

- นางฝา ซาไก   

 

2. กรณีคนไร้รากเหง้า ได้แก่

- นางสาวพรทิพย์

- นายอับดุลเลาะห์ มาซู

 

3. คนหนีภัยความตาย ได้แก่

- ครอบครัวทองดี (นายยุ้น, นางมอย และด.ช.หม่อง ทองดี)

- ครอบครัวโพ (อ.อายุ นามเทพ)

- ครอบครัวแซ่แต้ (นางเซาะเล้ง แซ่แต้)

- ครอบครัวนางสันที (นางสันที, นางบุญมี, นายวิษณุ บุญชา)

- นางสาวปาน

 

4. กรณีคนชายแดน ได้แก่

- นางสาวดอกแก้ว

- นายยอดรัก

- นายน้อย บะไห

- น.ส. อ้อ มีแก้ว

 

 

1. กรณีคนในพื้นที่ห่างไกล

 

1.1 นายจอบิ

ใช้ในบทที่ 2 บทที่ 3 และบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยจะทำการศึกษาตั้งแต่การเข้าสู่ทะเบียนประวัติ การออกจากทะเบียนประวัติ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ การศึกษาเอกสารในระดับทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยศึกษางานเขียนเชิงกรณีศึกษา อาทิ รายงานข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบเอกสารและรูปแบบสื่อชนิดอื่น ๆ

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ อ.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

 

1.2 นางฝา ซาไก           

ใช้ในบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยจะทำการศึกษาในเรื่องของปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเข้าสู่ทะเบียนประวัติในระหว่างที่ยังไม่สามารถที่จะเข้าสู่ทะเบียนราษฎรของประเทศไทยได้

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ การศึกษาเอกสารในระดับทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยศึกษางานเขียนเชิงกรณีศึกษา อาทิ รายงานข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบเอกสารและรูปแบบสื่อชนิดอื่น ๆ

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ อ.กิติวรญา รัตนมณี

 

2. กรณีคนไร้รากเหง้า ได้แก่

 

2.1 นางสาวพรทิพย์

ใช้ในบทที่ 2 และบทที่ 4

เป็นกรณีของคนที่ประสบความไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่ไร้รากเหง้า โดยจะทำการศึกษาตั้งแต่การเข้าสู่ทะเบียนประวัติ  และปัญหา และข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ

ศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากเจ้าของปัญหาผู้ยอมตนเป็นกรณีศึกษา (Case Study) หรือการศึกษากรณีศึกษาจริง (True Story)

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ อ.ยินดี ห้วยหงษ์ทอง

 

2.2 นายอับดุลเลาะห์ มาซู

ใช้ในบทที่ 4

เป็นกรณีของคนที่ประสบความไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่ไร้รากเหง้า โดยจะทำการศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ การศึกษาเอกสารในระดับทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยศึกษางานเขียนเชิงกรณีศึกษา อาทิ รายงานข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบเอกสาร

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ รศ.ดร.พันธ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร และนายอภินันท์ สะมาดี

 

3. คนหนีภัยความตาย ได้แก่

 

3.1 ครอบครัวทองดี (นายยุ้น, นางมอย และด.ช.หม่อง ทองดี)

นายยุ้น ทองดี และนางมอย ทองดี

ใช้ในบทที่ 2 บทที่ 3

ด.ช. หม่อง ทองดี

ใช้ในบทที่ 2 และบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่หนีภัยความตาย โดยจะทำการศึกษาตั้งแต่การเข้าสู่ทะเบียนประวัติ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ รวมถึงข้อเสนอแนะ

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ การศึกษาเอกสารในระดับทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยศึกษางานเขียนเชิงกรณีศึกษา อาทิ รายงานข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบเอกสารและรูปแบบสื่อชนิดอื่น ๆ

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ อ.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทรและน.ส.อัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์

 

3.2 ครอบครัวโพ (อ.อายุ นามเทพ)

ใช้ในบทที่ 2 และบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่หนีภัยความตาย โดยจะทำการศึกษาตั้งแต่การเข้าสู่ทะเบียนประวัติ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ รวมถึงข้อเสนอแนะ

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ การศึกษาเอกสารในระดับทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยศึกษางานเขียนเชิงกรณีศึกษา อาทิ รายงานข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบเอกสารและรูปแบบสื่อชนิดอื่น ๆ

อีกทั้งศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากเจ้าของปัญหาผู้ยอมตนเป็นกรณีศึกษา (Case Study) หรือการศึกษากรณีศึกษาจริง (True Story)

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ อ.ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง, รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร และอ.วรรณทนี รุ่งเรืองสภากุล

 

3.3 ครอบครัวแซ่แต้ (นางเซาะเล้ง แซ่แต้)

ใช้ในบทที่ 2 บทที่ 3 และบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่หนีภัยความตาย โดยจะทำการศึกษาตั้งแต่การเข้าสู่ทะเบียนประวัติ การออกจากทะเบียนประวัติ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ รวมถึงข้อเสนอแนะ

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ การศึกษาเอกสารในระดับทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยศึกษางานเขียนเชิงกรณีศึกษา อาทิ รายงานข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบเอกสารและรูปแบบสื่อชนิดอื่น ๆ

อีกทั้งศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากเจ้าของปัญหาผู้ยอมตนเป็นกรณีศึกษา (Case Study) หรือการศึกษากรณีศึกษาจริง (True Story)

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ น.ส.บงกช นภาอัมพร

รวมทั้งการศึกษาผ่านการสร้างห้องทดลองทางสังคม (Social Lab) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

 

3.4 ครอบครัวนางสันที (นางสันที, นางบุญมี, นายวิษณุ บุญชา)

นางสันที

นางบุญมี

นายวิษณุ บุญชา

ใช้ในบทที่ 2 บทที่ 3 และบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่หนีภัยความตาย โดยจะทำการศึกษาตั้งแต่การเข้าสู่ทะเบียนประวัติ การออกจากทะเบียนประวัติ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ รวมถึงข้อเสนอแนะ

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ การศึกษาเอกสารในระดับทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยศึกษางานเขียนเชิงกรณีศึกษา อาทิ รายงานข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบเอกสารและรูปแบบสื่อชนิดอื่น ๆ

อีกทั้งศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากเจ้าของปัญหาผู้ยอมตนเป็นกรณีศึกษา (Case Study) หรือการศึกษากรณีศึกษาจริง (True Story)

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ อ. ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง, อ. กิติวรญา รัตนมณี และอ.สถาพร

รวมทั้งการศึกษาผ่านการสร้างห้องทดลองทางสังคม (Social Lab) กรณีนายวิษณุ บุญชา ได้ดำเนินการที่เทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

 

3.5 นางสาวปาน

ใช้ในบทที่ 2 และบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่หนีภัยความตาย โดยจะทำการศึกษาตั้งแต่การเข้าสู่ทะเบียนประวัติ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ รวมถึงข้อเสนอแนะ

ศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากเจ้าของปัญหาผู้ยอมตนเป็นกรณีศึกษา (Case Study) หรือการศึกษากรณีศึกษาจริง (True Story)

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ นายพิษณุ เต็มพร และรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร รวมทั้ง

 

4. กรณีคนชายแดน ได้แก่

 

4.1 นางสาวดอกแก้ว

ใช้ในบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่อยู่ตามชายแดน โดยจะทำการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ รวมถึงข้อเสนอแนะ

ศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากเจ้าของปัญหาผู้ยอมตนเป็นกรณีศึกษา (Case Study) หรือการศึกษากรณีศึกษาจริง (True Story)

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ น.ส.อริสรา ศาสตรวาหา แลพะนางพัชรี ศาสตรวาหา และรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

 

4.2 นายยอดรัก

ใช้ในบทที่ 2 บทที่ 3 และบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่อยู่ตามชายแดน โดยจะทำการศึกษาตั้งแต่การเข้าสู่ทะเบียนประวัติ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ รวมถึงข้อเสนอแนะ

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากเจ้าของปัญหาผู้ยอมตนเป็นกรณีศึกษา (Case Study) หรือการศึกษากรณีศึกษาจริง (True Story)

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ อ.กิติวรญา รัตนมณี และน.ส.อัญชลี คำดี

 

4.3 นายน้อย บะไห

 ใช้ในบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่อยู่ตามชายแดน โดยจะทำการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ รวมถึงข้อเสนอแนะ

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ การศึกษาเอกสารในระดับทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยศึกษางานเขียนเชิงกรณีศึกษา อาทิ รายงานข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบเอกสารและรูปแบบสื่อชนิดอื่น ๆ

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ อ.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทรและน.ส.อัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์

 

4.4 น.ส. อ้อมีแก้ว

ใช้ในบทที่ 4

เป็นกรณีของคนไร้รัฐที่มีสาเหตุมาจากการที่เป็นคนที่อยู่ตามชายแดน โดยจะทำการศึกษาตั้งแต่การเข้าสู่ทะเบียนประวัติ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเข้าและออกจากทะเบียนประวัติ รวมถึงข้อเสนอแนะ

สำหรับวิธีการศึกษาในกรณีศึกษานี้ จะศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ การศึกษาเอกสารในระดับทุติยภูมิ (Secondary Source) โดยศึกษางานเขียนเชิงกรณีศึกษา อาทิ รายงานข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบสื่อชนิดอื่น ๆ

ศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากเจ้าของปัญหาผู้ยอมตนเป็นกรณีศึกษา (Case Study) หรือการศึกษากรณีศึกษาจริง (True Story)

และการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือกรณีศึกษา ได้แก่ น.ส.บงกช นภาอัมพร

 

 

หมายเลขบันทึก: 427164เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2011 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ควรตรึกตรองและพัฒนาแผนการต่อไปเรื่อยๆ นะคะ

การพัฒนาแนวคิดและกรณีศึกษาควรทำพร้อมๆ กันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท