บทความเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด


เรียนรู้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด

เรียนรู้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด

Learn cleverly Technology

By Kannika Dulpheree

 

                การศึกษา    เป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการพัฒนามนุษยชาติ   เป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษาของทุกประเทศในโลก   ล้วนมุ่งสู่การพัฒนามวลมนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข     เมื่อเวลาได้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนไป   ส่งผลกระทบให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  และการสื่อสาร    มีการขับเคลื่อนและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว     เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ    ทำให้สภาพสังคมก้าวไปสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้   ซึ่งทำให้เห็นภาพของการแข่งขันที่เอาชนะกันด้วยข้อมูล   ใครมีข้อมูลมากกว่า  ทันสมัยกว่า    ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ   ดังนั้นความรู้ความสามารถและทักษะด้าน ICT   นับวันจะยิ่งมีความจำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน   ทรัพยากรมนุษย์รุ่นใหม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความพร้อมทางด้าน ICT  ติดตัวมาด้วย  เปรียบเสมือนเป็นอวัยวะหรือมันสมองส่วนหนึ่งที่จะนำพาตนเองให้ก้าวเดินและฝ่าฟันอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

                ธรรมชาติบอกว่าชีวิตที่ดีคือ   ชีวิตแห่งการใฝ่เรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนเองตลอดเวลาการเป็นคนใฝ่เรียนรู้จึงหมายถึง   การแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ  ทั้งจากการอ่าน  การฟัง   การคิด   การไต่ถาม   การสืบค้นข้อมูล    หรือนทนากับผู้มีความรู้    ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการพัฒนาข้อมูลอย่างมากมาย    จนเกิดเป็นถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ของข้อมูล      คอมพิวเตอร์จัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่สุดฮิตและฮอตมากในยุคนี้จะกลายเป็นปัจจัย 5     ในอนาคตประดุจเครื่องใช้จำเป็นประจำบ้าน    ที่ใคร ๆ ก็สามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้อย่างทันที่      เพียงลาก Mouse    จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราติดต่อไปยังศูนย์ที่เราเป็นสมาชิกของระบบข้อมูล    ซึ่งศูนย์จะโยงใยประดุจใยแมงมุมกับเครือข่าย    Network   ที่ใหญ่กว่าเพื่อติดต่อกับ   Internet   ต่อไป   การทำงานของคนยุคนี้   จึงมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก    แทนที่คนจะจดจำข้อมูลต่าง ๆ    และไปบันทึกเก็บรวบรวมข้อมูลมาเองแล้ว    จึงนำมาใช้ในงาน     กลับกลายเป็นบุคคล      จะต้องคิดว่าข้อมูลแบบใดจะนำมาใช้ทำงานให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น   มีความคุ้มค่ามากขึ้น   แต่ไม่จำเป็นต้องรู้หรือจำข้อมูลเหล่านี้เลย  การใช้ข้อมูลจึงเป็นงานหลักมาแทนการเก็บรวบรวมข้อมูล     บุคลากรในยุคใหม่จึงต้องมีความสามารถในการวินิจฉัยว่า    ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ต่องาน     ถ้าเป็นประโยชน์จะนำมาใช้ในส่วนใด     เสริมการตัดสินใจในเรื่องใด   งานใด   ตอนใด    และข้อมูลเหล่านี้ชี้นำให้สรุปเป็นแนวทางปฏิบัติหรือหลักการในแนวใด    ความสามารถในการวิเคราะห์และ

สังเคราะห์ข้อมูล   รวมทั้งการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด   จึงเป็นคุณภาพของคนที่จำเป็นต่อการทำงานในยุคใหม่นี้

                เมื่อไอทีกับการพัฒนาผู้เรียนดูจะเป็นของคู่กันไปแล้ว    บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศยุคนี้กำลังเปลี่ยนแปลงย่างรวดเร็ว   ผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลโดยเฉพาะครูอาจารย์ผู้บริหารสถานศึกษา   ต้องศึกษาหาความรู้เพื่อเตรียมตัวรับกับสังคมโลกยุคข้อมูลข่าวสาร    และเทคโนโลยี การเตรียมคนสู่โลกในอนาคต         จึงควรให้เยาวชนได้เรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีประเภท  hardware   software  และ  shareware   ไว้      ICT กับการพัฒนาผู้เรียน : ความท้าทาย โอกาส  และการบูรณาการ ในศตวรรษแห่งภูมิปัญญามีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย   การเรียนในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (e-Leaning) การเรียนโดยใช้การสื่อสารทางไกล     ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบัน      ที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย  ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียน เวลาใด สถานที่ใด หรือแม้กระทั่งจะเรียนรู้กับใครก็ได้ตามความสนใจของแต่ละคน จึงเกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้มากขึ้น     การนำ ICT มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้  โดยเฉพาะการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น     ผู้เรียนต้องมีทักษะและปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้กับครูผู้สอน  ดังนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมบนเครือข่ายและการออกแบบการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัยหลักที่ผู้สอนจะต้องหากลยุทธ์ต่างๆ   ที่จะสามารถจูงใจผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ และเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ทั้งนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน     จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนศักยภาพการเรียนด้วยตนเอง   กล่าวคือผู้เรียนสามารถเลือกสรรเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอในรูปแบบต่างๆ ได้ด้วยตนเอง   ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนด้วยตนเอง โดยเลือกเนื้อหาบทเรียนตามความต้องการและเรียนตามกำหนดเวลาเหมาะสมและสะดวกของตนเอง  การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเป็นการประยุกต์วิธีการสอนแบบพุทธิพิสัย     ภายใต้สิ่งแวดล้อมการเรียนแบบการสรรค์สร้างความรู้  และการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้     โดยอาศัยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น      ที่จะนำไปสู่การต่อเติมจากความรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนซึ่งแตกต่างกัน     และเน้นบทบาทของแรงจูงใจจากภายในของผู้เรียนมีทักษะในการตรวจสอบและควบคุมการเรียนของตนเอง     ทั้งนี้จุดเด่นคือในการเรียนแบบนี้ผู้สอนจะเสนอเนื้อหาและเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับฐานความรู้และประสบการณ์ของผู้สอน    หรือเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลภายนอก  ผู้เรียนจะเลือกข้อมูล เนื้อหาและเชื่อมโยงตามประสบการณ์และพื้นฐานความรู้เดิมที่เรียนอยู่เพื่อการเรียนรู้ของตนเอง การควบคุมการเรียนจะอยู่ที่ตัวผู้เรียนโดยสมบูรณ์      ดังนั้นผู้เรียนควรมีวุฒิภาวะที่เหมาะสมและมีทักษะในการตรวจสอบการคิดของตนเอง   และมีแนวทางในการเรียนรู้ด้วย

ตนเอง    ควบคุมและตรวจสอบตนเองได้   

                การศึกษาจึงเป็นเรื่องของการพัฒนาคน     เป็นการสร้าง    ”ทุนมนุษย์ “    อันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา  คนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม  จะเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพของประเทศ  จะเป็นกลไก  และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ   สังคมและประเทศชาติอีกทอดหนึ่ง  สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า

                             ผู้ใด                  มีเทคโนโลยี

                            ผู้นั้น                จะครองเศรษฐกิจ

                             ผู้ใด                มีข้อมูลข่าวสารพร้อมมูล

                             ผู้นั้น               คือผู้ชนะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 427060เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2011 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท