เขาคิชฌกูฏ


 

 

อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ หรือที่ใคร ๆ เรียกกันจนติดปากว่า "เขาคิชฌกูฏ" มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี และยังเป็นต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำจันทบุรี สภาพป่าในบริเวณนี้มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าไม้ผลัดใบ มีสมุนไพรและกล้วยไม้ป่านานาชนิด รวมทั้งมีพันธุ์ไม้หายาก คือ ไม้กฤษณา และ เนื่องจากเป็นป่าที่อยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน จึงมีสัตว์ป่าชุกชุม เช่น กระทิง เสือ หมี กวาง เก้ง เลียงผา และนกชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ ตามลำห้วยยังมีปลาพลวง ปลาก้าง ปลาหนวด ปลาดุกรำพัน อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

           สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ได้แก่ น้ำตกกระทิง, น้ำตกคลองช้างเซ, ยอดเขาพระบาท และที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษนั้น เห็นจะเป็นการนมัสการรอยพระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือ พระบาทพลวง นั่นเอง

                                 

   พระบาทพลวง หรือ พระพุทธบาทพลวง ประดิษฐานอยู่บน เขาคิชฌกูฎ โดย พระบาทพลวง นี้ เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ที่จังหวัดจันทบุรี และถือว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่สูงที่สุดของประเทศไทย และอยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 40 กิโลเมตร

 

                                  

           ทั้งนี้ ประชาชนจะนิยมไปนมัสการพระบาทหลวงเป็นจำนวนมาก เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับตัวเอง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีนถึงช่วงวันมาฆบูชาของทุกปี จะมีประชาชนขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาททั้งกลางวันและกลางคืน ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเขาคิชฌกูฏ ก็ได้จัดงานนมัสการพระบาทพลวงเป็นประจำทุกปีอีกด้วย


เที่ยวเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี (พระบาทพลวง ) ประจำปี 2554 วันบวงสรวง 2 ก.พ 2554 เปิดเป็นทางการ 4 ก.พ 2554 – 4 เมษา 2554
ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวขึ้นชมยอดเขาพระบาทเพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท ชมทิวทัศน์ และหินรูปร่างแปลกตาต่าง ๆ

พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พระบาทหลวง)  จันทบุรี

            บนยอดเขาคิชฌกูฏ ที่อยู่สูงเทียมเมฆนั้น  เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตรจากระดับน้ำทะเล  ซึ่งสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ  จังหวัดจันทบุรี  ทุกๆปีในช่วงที่เปิดให้มีการขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาทนั้น จะมีพุทธศาสนิกชนจาริกแสวงบุญมายังยอดเขาแห่งนี้เป็นจำนวนมาก  เพื่อมาสักการะแผ่นหินซึ่งเชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงมาประทับรอยพระบาทไว้  ด้วยความศรัทธาและความเชื่อในอานิสงส์ที่แรงกล้าว่าการได้นมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ถือเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวและชีวิต

            รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ  มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่  มีรอยบุ๋มลึกประมาณ  2  เมตรเศษ  กว้าง 1 เมตร ยาว 2  เมตร  ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม. และต้องเดินเท้าไปสู่ยอดเขาอีกราว 3 กม.  มีประวัติว่ารอยพระพุทธบาทนี้ได้ค้นพบโดยนายพรานหาของป่า  ที่เดินขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏเมื่อปี พ.ศ.2397  ซึ่งได้พบกับแหวนนาคขนาดใหญ่  และแผ่นหินที่มีรูปก้นหอยเหมือนรอยเท้าและได้แจ้งให้กับหลวงพ่อเพชรเจ้าคณะจังหวัดทราบ  เมื่อตรวจสอบดูก็พบรอยพระพุทธบาทนั้นจริงชาวบ้านต่างก็พากันขึ้นมานมัสการจนกลายเป็นประเพณีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

            ในบริเวณยอดเขาคิชฌกูฏนั้นยังมีความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติต่างๆ  ที่เชื่อมโยงกับตำนานและความเชื่อทางพระพุทธศาสนา  เช่นก้อนหินขนาดใหญ่มีรูปคล้ายกับบาตรพระคว่ำ  ใกล้กับหินรูปรอยพระพุทธบาท ศิลาเจดีย์รอยพระหัตถ์  รอยเท้าพญามาร  ถ้ำฤๅษี ลานแข่งรถพระอินทร์ หินที่มีรูปร่างคล้ายเต่า และช้างขนาดยักษ์เป็นต้น

            เดิมทีนั้นพระพุทธบาทแห่งนี้เป็นที่รู้จักอีกชื่อว่าพระบาทพลวง  แต่ในปี พ.ศ.2515 พระครูธรรมสรคุณผู้เป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวง  ได้เสนอให้นำชื่อของเขาคิชฌกูฏจากพุทธประวัติมาใช้เป็นชื่อของภูเขาที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์  ซึ่งคันธกุฎีเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต  และตั้งอยู่บนยอดเขานั้นมาใช้  เพื่อเป็นที่รำลึกถึงพระองค์และแสดงถึงความเจริญในพระพุทธศาสนาอย่างสูงส่งของประเทศไทย

สถานที่ตั้ง ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ   ต.พลวง  กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

ความเชื่อและวิธีการบูชา



            เชื่อกันว่าการได้มานมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏนั้น  เปรียบได้กับการได้เข้าเฝ้าองค์พระศาสดาถือเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่  ประสบแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรือง  และสำหรับผู้ทีมีความเดือดเนื้อร้อนใจนั้น  หากได้มาตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากรอยพระพุทธบาทแล้ว  ความทุกข์กาย หรือความร้อนใจนั้นจะมลายสิ้นไป

เทศกาลงานประเพณี

            การเปิดให้ขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พระบาทพลวง) จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ประมาณปลายเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม รวมระยะเวลา  2  เดือน

วันและเวลาเปิด – ปิด

            เนื่องจากไม่ได้เปิดให้นมัสการได้ตลอดปี  ควรสอบถามรายละเอียดจากอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ก่อนทุกครั้ง  

คำสำคัญ (Tags): #เขาคิชฌกูฏ
หมายเลขบันทึก: 427040เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2011 01:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท