ภูกระดึง


  

              

 

        อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึงในจังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงาม ในแต่ละปีจึงมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวมักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงจำนวนมาก ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

             

อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลยครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร

 

        

ประวัติ

ตามตำนานกล่าวไว้ว่ามีพรานป่าผู้หนึ่งได้พยายามล่ากระทิงซึ่งหลบหนีไปยังยอดเขาลูกหนึ่งในตำบลศรีฐาน(ปัจจุบันอยู่ในอำเภอภูกระดึง) ซึ่งเป็นภูเขาที่ไม่เคยมีใครขึ้นมาก่อน เมื่อนายพรานได้ตามกระทิงขึ้นไปบนยอดเขาแห่งนั้น ก็ได้พบว่าพื้นที่บนภูเขาลูกนั้น เต็มไปด้วยพื้นที่ราบกว้างใหญ่สวยงาม เต็มไปด้วยป่าสน พรรณไม้ และสัตว์ป่านานาชนิด มนุษย์จึงรู้จักภูกระดึงแต่นั้นเป็นต้นมา

               

ภูกระดึงเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 มีปรากฏเป็นหลักฐานเมื่อสมุหเทศาภิบาล พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) ได้ทำรายงานสภาพภูมิศาสตร์เสนอต่อกระทรวงมหาดไทในปี พ.ศ. 2486 ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกาป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้เริ่มดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแห่งแรก แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและเจ้าหน้าที่จึงได้ดำเนินการไปเพียงเล็กน้อยและหยุดไป

           

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดป่าในท้องที่จังหวัดต่างๆรวม 14 แห่งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้จึงได้เสนอจัดตั้งป่าภูกระดึงให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงในท้องที่ตำบลศรีฐาน กิ่งอำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 217,581 ไร่นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 2 ของประเทศ ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดำเนินการเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติในบริเวณที่กองทัพอากาศขอใช้ประโยชน์ตั้งเป็นสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในราชการทหารมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ทางกรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนพื้นที่ดินดังกล่าวในปี พ.ศ. 2521 ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีเนื้อที่อยู่ประมาณ 217,576.25 ไร

 

            

ศัพท์มูลวิทยา

คำว่า "ภูกระดึง" มาจากคำว่า ภู แปลว่า ภูเขา และ กระดึง แปลว่า กระดิ่ง เป็นภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเลย ด้วยเหตุนี้ ภูกระดึง จึงอาจแปลได้ว่า ระฆังใหญ่ ชื่อนี้มาจากเรื่องเล่าที่ว่าในวันพระชาวบ้านมักได้ยินเสียงกระดิ่งหรือระฆังจากภูเขาลูกนี้เสมอ เล่ากันว่าเป็นระฆังของพระอินทร์ ส่วนอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือในบริเวณบางส่วนของยอดเขาหากเดินหนักๆหรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆังซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับการตั้งชื่อว่า "ภูกระดึง

                             ******     ******        *******

 

        ใกล้จะหมดหน้าหนาวแล้วยังไม่มีที่ท่าว่าจะไปเที่ยวไหน คิดได้ว่ายังไม่เคยไปเที่ยวภูกระดึงเลย  จึงชวนคนรู้ใจไปเที่ยวภูกระดึงคงดี  และแล้วก็กำหนดวันเดินทาง

 

            

ออกเดินทางจากกรุงเทพเวลา 22.00 น ด้วยรถทัวร์   แล้วรถทัวร์ก็จอดพร้อมบอกผูโดยสารว่าถึงภูกระดึงแล้ว  แต่เท่าที่เห็นไม่เหมือนภูกระดึงเลยสักนิด จึงได้มารู้ว่าที่นี้คือผานกเค้า เป็นที่ต่อรถขึ้นภูกระดึง และรถทัวร์จะส่งผู้โดยสารที่ร้าน “เจ๊กิม” หรือ “เลิศลักษณ์” ก็แล้วแต่บริษัทรถทัวร์ที่นั่งมา  เวลาที่เดินทางมาถึงก็มักจะเป็นตีห้าชนิดใกล้สว่างเต็มที มืดๆ ง่วง ๆ งัวเงียขึ้นมาโซเซเดินลงจากรถ พอหาที่นั่งได้ก็ต้องนั่งคิดกันต่อว่าจะไปไหนดี  ยิ่ง “มือใหม่” หัดตะกายภูเป็นหนแรกแล้วยิ่งงงใหญ่ว่า “เอ๊ะ...ต่อไปจะทำไงดี”  ก่อนอื่นแวะไปล้างหน้าล้างตาให้สดชื่น บอกร่างกายว่าต้องตื่นแล้วล่ะ เข้าห้องน้ำทำธุระหนักให้เรียบร้อย  ถึงแม้ปกติจะไม่เคยทานข้าวเช้าเลยก็ตาม เช้าคงบอกว่าไม่ไหว.. แต่ ฉุกคิดนิดนึงว่า อีกไม่ช้าไม่นานประมาณ 7-8 โมงเช้า เราเองจะเริ่มใช้พลังงานมหาศาลในการลากสังขารอันอวบอ้วนขึ้นภูก็ควรทานข้าวดีที่สุด พออิ่มได้ที่ก็มา ขึ้นสองแถว พร้อมหน้าพร้อมตาและแต่งสวยกันแล้ว ก็ตรงไปที่คิวรถสองแถวกันเลย จะอยู่ตรงข้ามฝั่งถนนกับร้านเจ๊กิมและรถพาแล่นสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง และแล้วก็ถึงแล้ว

           

         

 

เดินตรงไปที่จุดบริการอุทยาน สอบถามค่าธรรมเนียมและที่พักค่ากางเต้นท์ต่อคน/คืน ละ 30 บาท รายละเอียดถามเจ้าหน้าที่ได้ แต่ใครที่จองบ้านจากกรมป่าไม้ที่ส่วนกลางมา อย่านิ่งนอนใจให้คอนเฟิร์มการจองกับทางเจ้าหน้าที่ก่อนขึ้นภูกระดึงอีกครั้ง เพื่อป้องกันการผิดพลาด ( ทำเหมือนจองตั๋วเครื่องบินเลยนะเนี่ย ) อย่าพยายามลักไก่นะครับ เพราะบางทีเจ้าหน้าที่ข้างบนเขาจะมีการสุ่มตรวจ

        

เช็คเวลา เช้าสุดที่เปิดให้ขึ้นคือ 7 โมง เย็นสุดคือบ่าย 2 โมง เหตุเพราะ เกินบ่ายสองโมงเป็นต้นไป เจ้าหน้าที่เขาจะไม่ให้ขึ้นภู ถ้าขึ้นจะไปค่ำกลางทาง พอถึงช่วง ซำแคร่ ต้องปีนหินเยอะหน่อยอาจเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ใจอยากให้ขึ้นเช้า ไม่เกินแปดโมง หรือขึ้นราว ๆ เจ็ดโมงได้ยิ่งดี

คำสำคัญ (Tags): #ภูกระดึง
หมายเลขบันทึก: 426986เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2011 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท