วัฒนธรรมเกาหลีแบบไทย


การผสมผสานระหว่าง "วัฒนธรรมเกาหลี" กับ "วัฒนธรรมไทย"

           

          การไหล่บ่าของวัฒนธรรมในสังคมโลกไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบันเป็นเรื่องธรรมดา ที่มีการข้าม ผสม ดัดแปลง ล้วนเกิดขึ้นอย่างมิอาจคลาดกาลได้ แต่อย่างไรก็ ตามการเข้ามาของวัฒนธรรมหนึ่งวัฒนธรรมใดย่อมขึ้นอยู่กับจริต รสนิยมของวัฒนธรรมเดิมบ้างไม่มากก็น้อย พูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่าวัฒนธรรมเดิมเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมใหม่ สิ่งที่เข้ามาต้องไม่เปลี่ยนแปลงหรือทำลายหักล้างวัฒนธรรมเดิมจนเสียขบวน

          อย่างไรก็ตามเราจะเห็นว่าในสังคมไทยเรามีการรับวัฒนธรรมอื่น เช่น อินเดีย เขมร  จีน ฝรั่ง ฯลฯ จนมาผสม ดัดแปลง แปรค่า จนเป็นสิ่งทีเรียกว่า “วัฒนธรรมไทย”  แต่ปัจจุบันทำไมเรามักได้ยินคำว่า “เด็กไทยกำลังถูกกลืนด้วยวัฒนธรรมตะวัน ตก(วัฒนธรรมบริโภคนิยม วัฒนธรรมเกาหลี วัฒนธรรมญี่ปุ่น ฯลฯ)” “คนไทยกำลังเสียเอกราชด้านวัฒนธรรม” หรือ “คนไทยกำลังถูกกลืนชาติ” อีกมากมาย

          เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความคลั่งไคล้ไหลหลงในวัฒนธรรมเกาหลีแทรกซึม เข้าสู่สังคมไทยแทบทุกอณูไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่ วัยกลางคน หรือผู้สูงอายุ  ทั้งละครที่คนติดกันทั้งบ้านทั้งเมือง เช่น แดจังกึม โฮจุน ซอนต๊อก ผู้ชายเลือดกรุ๊ปบี เจ้าชายกาแฟ ฯลฯ หรือเพลงนานาเพลง(โดยนักร้องเกาหลี) อย่างเจป็อป เคป็อบ รวมถึง อาหาร และการแต่งตัว ฯลฯ

          แล้วคุณรู้ไหมว่า..."ทำไมวัฒนธรรมเกาหลีถึงฟีเวอร์ในสังคมไทย"

          ประการที่ 1 สังคมไทยเป็นสังคม “พหุวัฒนธรรม” แค่เราไม่มีวัฒนธรรมเกาหลีเราก็มีวัฒนธรรม เขมร อินเดีย จีน ลาว และฝรั่ง วัฒนธรรมบางอย่างยังมีอิทธิพลตกค้างในสังคมไทย แต่อย่างไรก็ตามความ “ฟีเวอร์” ของวัฒนธรรมต่างๆ สังคมไทยก็สามารถผสมผสานปรับเปลี่ยนใช้ให้เข้าจริตกับสังคมไทยอย่างน่าฉงน เช่น พิชซ่ารสลาบ - รสต้มยำกุ้ง หรืออาหารญี่ปุ่นแบบไทยๆ ที่ใส่พริก ใส่เครื่องเทศแบบไทย เก่ากว่านั้นก็อย่าทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทองที่รับมาจาก โปรตุเกส

          นั้นหมายความว่าภายใต้วัฒนธรรมที่หลากหลาย สังคมไทยรู้จักเลือกปรับใช้วัฒนธรรมที่เข้ามา และเปิดรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง หลากหลาย ในระดับชาวบ้าน
 
         
          ประการที่ 2 ดิฉันคิดว่าหนัง/ละครเกาหลีนำชีวิตสามัญชนคนธรรมดามาถ่ายทอดอย่างน่าอัศจรรย์ และทำให้คนตัวเล็กตัวน้อยในประวัติศาสตร์ เช่น แม่ครัวอย่าง  แดจังกึม  หมออย่างโฮจุน พ่อค้าอย่างอิมซังอ๊ก โจรอย่างฮวามินดัง(ฮงกิวดอง)  แม้แต่เผ่าไปรยาในซอนต๊อก มา โลดแล่นในหน้าประวัติศาสตร์ แม้ว่าเขา(ตัวละคร)เหล่านั้นจะสัมพันธ์เชื่อมโยงอยู่ใต้สังคมศักดินาราชาธิปไตย ซึ่งหนัง/ละครเกาหลีอย่างนี้จึงเป็นที่ถูกใจ และถูกจังหวะ ในสังคมไทยยุคนี้เสียยิ่งกระไร 
         
          ประการสุดท้าย ดิฉันคิดว่าหนัง/ละคร เกาหลี มันก็ “เน่า”ไม่ต่างจากหนัง/ละครไทย เราจะเห็นพล็อตเรื่องของแม่ผัว ลูก สะใภ้ พระเอกรวยล้นฟ้า นางเอกยาจก พระเอกยาจกนางเอกเศรษฐี ตบตีแย่งสามี เหมือนละคร/หนังไทยอย่างมิผิดเพี้ยน บางครั้งยังมีกลิ่นเศร้าเคล้าน้ำตา/ เศร้า/สลดมากกว่าหนังไทยด้วยซ้ำ แต่ความหลากหลายเหล่านี้ทำให้มีคนไทยหลายต่อหลายคนเสียน้ำตาให้กับละครเกาหลีมามากต่อมาก
 
          แม้ว่าวัฒนธรรมเกาหลี จะแพร่หลายอย่างกว้างขวางในสังคมไทย แต่การเรียนรู้ของเยาชนไทย ในขณะที่คนหลายคนกำลังคลั่งไคล้ไหลหลงกระแสเกาหลี เยาวชนของไทยจำนวนมากกำลังเรียนภาษาเกาหลีเพิ่ม ทั้งที่ภาษาเกาหลีจะมีความสำคัญในอนาคตแน่นอน เพราะว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของเกาหลีกว้างขวางขึ้นในโลก ปัจจุบัน

 

หมายเลขบันทึก: 426920เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2011 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมเห็นด้วยครับว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ดูดซับวัฒนธรรมได้ดีมากครับ เพราะเอาเข้าจริงๆตั้งแต่อดีตเราก็รับวัฒนธรรม อินเดีย เขมร จีน เข้ามาผสมผสานกันจนเป็นแบบไทยๆหมดแล้วครับ

ส่วนเรื่องละครเกาหลีที่ว่าเหมือนละครไทยนั้นก็เพราะ่ว่า หลังจากสงครามเกาหลี ประเทศเขาตื่นมาจากความย่อยยับ และเมื่อต้องเปิดตัวออกสู่นานาชาติ ก็ต้องหาวัฒนธรรมที่บ่งบอกว่าตัวเองเป็นเกาหลีนะ ไม่ใช่ญี่ปุ่น ไม่ใช่จีน (ทั้งที่โดน 2 ชาิตินี้ยึดครองมาตลอด) จึงส่งคนไปทั่วโลกเพื่อไปดูวัฒนธรรมแต่ละประเทศ มาเมืองไทยก็เอาละครไทยไป เพลงก็เอามาจาก อเมริกา (ยุคสมัยประมาณ 20 ปีที่แล้ว) ภาพยนต์ก็เอาหนังเก่ามาทำใหม่ อาหารผักดองกิมจิ ก็กลัวจะเหมือนชาติอื่นก็ทำให้เผ็ดขึ้น โดยเฉพาะเทควันโด้ เมื่อเอาไปเปลียบเทียบกับ กังฟู คาราเต้ หรือมวยไทยของเราแล้ว ทำให้เห็นได้ชัดว่าเป็นการที่สร้างขึ้นมาเพื่อส่งออกทางวัฒนธรรมเท่านั้น

วัฒนธรรมไทยแนวมอญจะคล้ายอินเดีย

วัฒนธรรมไทยแนวมอญจะคล้ายอินเดีย แต่ถ้าเป็นวัฒนธรรมไทยแนวคนไตหรือคนเผ่าไท จะคล้ายเอเซียตะวันออก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท