บทความทางวิชาการ เรื่อง นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา


งานคือน้ำดับไฟชีวิต
           การคิดสร้างสรรค์หรือกรรมวิธีใหม่ ๆ ซึ่งต่างไปจากที่เคยปฏิบัติมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เราเรียกว่า "นวัตกรรม" คนเราจึงต้องมีนวัตกรรม คือ ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู - อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าหาวิธีการใหม่ ๆ คิดค้นขึ้นมาในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า "นวัตกรรมทางการศึกษา" ฉะนั้นคำว่า "นวัตกรรมทางการศึกษา" จึงหมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ แนวความคิดวิธีการหรือการกระทำใหม่ ๆ ซึ่งได้ผ่านการทดลอง วิจัย หรืออยู่ระหว่างการทดลอง หรืออาจเคยเป็นสิ่งที่ใช้มาแล้วมาปรับปรุงใหม่มาใช้ในการศึกษาเพื่อปรับปรุง หรือเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
          ในการจัดการเรียนการสอน การนำนวัตกรรมการศึกษามาประยุกต์ใช้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย วิถีคิด ที่ออกนอกกรอบเดิม พอสมควร คือ จะต้อง ออกนอก "ร่อง" หรือช่องทางเดิม ๆ ที่เคยชิน เรียกได้ว่าจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด หรือกระบวนทัศน์ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่าการเรียนรู้ คือ การศึกษาเพียงเพื่อให้ได้รู้นั้น มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาชีวิต สังคมประเทศชาติ ซึ่งเป็นความรู้ที่แนบแน่นอยู่กับงาน เป็นความรู้ที่มีบริบท การเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้จึงมักเริ่มด้วยการตั้งโจทย์ขึ้นมาก่อน โดยใช้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นหลัก และให้หาแนวทางแก้ปัญหา หรือการพัฒนา เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเรียนรู้นี้ขึ้น มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง คิดเอง ทำเอง และแก้ปัญหาเองได้ โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะ คอยให้คำแนะนำในการเรียนรู้ ที่ถูกต้องเหมาะสมในการทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น ต้องเริ่มจากการให้คำมั่นร่วมกันระหว่างคนที่เกี่ยวข้องในการทำนวัตกรรม โดยทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสินค้าและตราสินให้เกิดความมั่นคงร่วมกัน
       การปรับประบวนทัศน์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่มิได้หมายความว่าเพียงปรับกระบวนทัศน์แล้วนวัตกรรมจะเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีปัจจัยและองค์ประกอบอื่น ๆ มาสนับสนุนอีก เช่น 1)เวลา  2) โอกาส  3) ไมตรี

       องค์ประกอบแรก คือเรื่องง่าย ๆ และตรงที่สุดคือถ้าไม่มีเวลา การเรียนก็ไม่เกิด เพราะเวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเรียนรู้ องค์ประกอบต่อไปคือโอกาส หรือเวทีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เช่น การประชุมสัมมนา การอบรม  หรือการรวมตัวกันก็ได้ และที่จำเป็นที่จะขาดไม่ได้เลยคือ ไมตรี คือต้องมีน้ำใจให้แก่กัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยใจที่เปิดกว้าง ว่างพอที่จะรับของใหม่ ๆ เป็นความรู้สึกตื่น ต้องการ แบ่งปัน และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

        สรุป การสร้างสรรค์นวัตกรรมเกิดขึ้นได้ในตัวครูทุกคน แต่ครูทุกคนเหล่านั้นจะต้องมีเวลา ให้โอกาสกับตัวเอง มีจิตไมตรีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ถ้าในวงการทางการศึกษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า มีโอกาสกว่า และผ่านมาแล้วในการทำผลงานทางวิชาการเปิดโอกาสให้รุ่นน้อง ๆ ได้เข้าไปเรียนรู้ ด้วยการบอกกล่าว จัดอบรม ให้ แล้วคิดว่าการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของวงการศึกษาไทยคงจะเจริญก้าวหน้า เพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างแน่นอน

      

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 426559เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท