เรื่องเพศที่ต้องสอนสำหรับเด็กวัยต่างๆ


เด็กอนุบาล 

ในช่วงอายุแรก เด็กจะเริ่มเล่นอวัยวะของตนเอง    เริ่มสังเกตความแตกต่างของอวัยวะในร่างกายที่ไม่เหมือนกันระหว่างหญิงและชาย   เริ่มมีความอยากรู้อยากเห็นอวัยวะของเพื่อนเพศตรงข้าม   มีความเข้าใจว่าอวัยวะของตนเป็นส่วนที่ควรปกปิดและเป็นของส่วนตัว   เด็กจะเรียกชื่ออวัยวะของตนเป็น   เริ่มเรียนรู้และเลียนแบบบทบาทพฤติกรรมของเพศตนในการเล่นและการใช้ชีวิตประจำวัน   

  1. หน้าที่และการดูแลการทำความสะอาดอวัยวะแต่ละในเบี้องต้น
  2. สาเหตุของการมีอวัยวะที่แตกต่างของเพศตรงข้ามด้วย   
  3. สอนว่าอวัยวะเพศมิใช่เป็นเรื่องน่าอับอายที่ต้องปิดบังไว้    หากแต่เป็นเรื่องธรรมชาติ 
  4. สอนเด็กให้รู้ว่า  ตัวเขาเองมีสิทธิที่จะปฏิเสธ และไม่ควรยอมให้บุคคลอื่นจับต้องอวัยวะเพศของตนหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเขาโดยที่เขาไม่ต้องการ  

 

เด็กประถม

เด็กจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์อย่างเป็นทางการของการเรียกชื่ออวัยวะแต่ละอวัยวะและเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ    ในวัยนี้สามารถเน้น

  1. วิธีการดูแลทำความสะอาดอวัยวะเพศของตนได้ลึกซึ้งขึ้น    ตัวเด็กเองจะเริ่มพอนึกออกว่าเขาเกิดมาจากไหน    สนใจการสืบพันธุ์หรือการเกิดของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ รอบตัวเขา  เช่น การเกิดของสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน    เริ่มรู้ว่าแต่ละอวัยวะในร่างกายมีหน้าที่อย่างไร  เริ่มรู้ถึงความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะตน  และความแตกต่างของอวัยวะตนกับเพื่อนเพศเดียวกับตนเอง  
  2. พัฒนาการทางเพศที่แตกต่างของเพศตนกับเพศตรงข้าม และความรวดเร็วของพัฒนาการทางร่างกายของเพื่อนเด็กหญิงและเด็กชายที่แตกต่างกัน เด็กอาจเริ่มลอกเลียนแบบการยั่วยวนทางเพศ  เช่นการจูบ  การพูดจาเกี้ยวพากันหรือดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้าม อีกทั้งในเด็กชายในช่วงอายุ 11-12 ปีอาจเริ่มมีการเรียนรู้เรื่องวิธีการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง จากเพื่อน  ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายเด็กจะเริ่มเรียนรู้คำแสลงที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ  การเล่าหรือรับฟังเรื่องสองแง่สองง่ามในหมู่เพื่อนๆ  
  3. การมีเพศสัมพันธ์และผลเสียที่จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเยาว์แก่บุตรของตน
  4. การมีสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศตรงข้าม
  5. การวางตัวที่เหมาะสม 
  6. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการติดต่อของโรค เช่น โรคเอดส์  

   

เด็กมัธยม

  1. วิธีการคุมกำเนิดและการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย   
  2. การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและพัฒนาการของร่างกาย 
  3. เรื่องเพศและการสืบพันธุ์
  4. ลักษณะเพศตามสถานภาพทางชีววิทยาและสังคมวิทยา  
  5. การวางตัวที่สอดคล้องกับเพศของตน 
  6. บทบาทของเพศหญิงและเพศชาย
  7. การแต่งกายและพฤติกรรมมารยาทของเพศตนในการเข้าสังคม 
  8. ความพึงพอใจทางเพศและปรับตัวในเรื่องเพศของตน
  9. การมีเพศสัมพันธ์
  10. ความรับผิดชอบของเพศชายและเพศหญิงเมื่อเกิดการมีบุตรโดยไม่ได้ตั้งใจ 
  11. การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย  
  12. การใช้ถุงยางของเพศชายและหญิง 
  13. การต่อรองของหญิงชายเมื่อตกลงจะมีเพศสัมพันธ์
  14. สิทธิในการปฏิเสธเมื่อไม่ต้องการที่จะมีเพศสัมพันธ์
  15. วิธีการการคุมกำเนิด เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การรับประทานยาคุมกำเนิด
  16. โรคที่ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์  เช่น  โรคเอดส์  โรคหนองใน  โรคเริม  โรคซิฟิลิส
  17. การตั้งครรภ์กับการรับมือกับการตั้งครรภ์ 
  18. ปัญหาการเคารพสิทธิและการไม่ละเมิดสิทธิของเพื่อนต่างเพศ

 

อุดมศึกษา

  1. การวางแผนครอบครัว
  2. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุ์กรรมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก  
  3. พัฒนาการของเด็ก  ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก 
  4. การปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะตัวสามีภรรยาเมื่อมีลูกในเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก 
  5. อิทธิผลของวัฒนธรรมที่มีต่อความสัมพันธ์ส่วนบุคคล 
  6. การเลือกคู่  การเลี้ยงดูบุตร
  7. การเปลี่ยนแปลงของสถาบันครอบครัว  การจัดการกับวิกฤตปัญหาครอบครัว
  8. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีของคู่สมรส 
  9. การล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
  10. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมทางเพศในที่สาธารณะ  
  11. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

 

อ้างอิง

www.polsci.chula.ac.th/sumonthip/journaljulanee.doc

คำสำคัญ (Tags): #เพศศึกษา
หมายเลขบันทึก: 426557เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท