การสอนเรื่องเพศ ในวัยต่างๆ


การสอนเรื่องเพศ ในวัยต่างๆ

               การสอนเรื่องเพศสามารถสอนได้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก สอดแทรกไปกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นๆ  พ่อแม่ควรเป็นผู้สอนเบื้องต้น  เมื่อเข้าสู่โรงเรียน  ครูจะช่วยสอนให้สอดคล้องไปกับที่บ้าน  เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น  ควรส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง  แต่มีแนวทางที่ถูกต้อง
               การสอนเพศศึกษาในโรงเรียนนั้น กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันกำหนดหลักสูตรการเรียนรู้เรื่อง “เพศศึกษา” ในนักเรียน(2)  โดยแบ่งการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์  6   ด้าน  ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักในการสอนที่บ้านได้ด้วยเช่นกัน  ดังนี้
1.       พัฒนาการทางเพศ(Human sexual development) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเจริญเติบโต  พัฒนาการทางเพศตามวัย  ทางร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และสังคม
2.       สัมพันธภาพ (Interpersonal relation) การสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลในสังคม  การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศเดียวกัน และต่างเพศ  การเลือกคู่  การเตรียมตัวก่อนสมรส และการสร้างครอบครัว  ความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยา  พ่อ-แม่-ลูก
3.       ทักษะส่วนบุคคล (Personal and communication skills)  ความสามารถในการจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เช่น ทักษะการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์  และควบคุมความสัมพันธ์ให้อยู่ในความถูกต้องเหมาะสม ทักษะการปฏิเสธ ทักษะการขอความช่วยเหลือ  ทักษะการจัดการกับอารมณ์  ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ
4.       พฤติกรรมทางเพศ (Sexual behaviors) การแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศหรือบทบาททางเพศ (Gender role) ที่เหมาะสมกับบทบาททางเพศและวัย เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่เกิดความเสี่ยงทางเพศ(เช่น  เพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น  เพศสัมพันธ์ที่ปราศจากการป้องการตั้งครรภ์หรือการติดเชื้อ) การสร้างเอกลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ความเสมอภาคทางเพศ  และบทบาททางเพศที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมอย่างสมดุล
5.       สุขอนามัยทางเพศ (Sexual health) ความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพอนามัยทางเพศได้ตามวัย เช่น การดูแลรักษาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อนามัยการเจริญพันธุ์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆและความผิดปกติในลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะเพศ การหลีกเลี่ยงอันตรายจากการชอกช้ำ บาดเจ็บ  อักเสบ  และติดเชื้อ  รวมถึงการถูกล่วงเกินทางเพศ 
6.       สังคมและวัฒนธรรม (Society and culture)   ค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย การให้เกียรติเพศตรงข้าม การรักนวลสงวนตัว ไม่ปล่อยใจให้เกิดเพศสัมพันธ์โดยง่าย การปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะจากสื่อที่ยั่วยุทางเพศต่างๆ  และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
                 ในการสอนเพศศึกษาในนักเรียนดังกล่าว  ยังได้กำหนดช่วงชั้นที่สอนออกเป็น  4  ระดับ  ช่วงชั้นแรกตั้งแต่ ป1-3(2)  ช่วงชั้นที่2  ตั้งแต่  ป4-6 (3)    ช่วงชั้นที่3  ตั้งแต่  ม1-3 (4)   ช่วงชั้นที่ 4  ตั้งแต่  ม4-6(5)โดยออกแบบให้เนื้อหาสอดคล้องกับการเรียนรู้  และแทรกลงไปในการเรียนของเด็ก  ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาตอนต้น ไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย

สรุปเนื้อหาสำหรับการสอนเพศศึกษาตามวัยต่างๆ
วัย 1 ปีแรก
พัฒนาการทางเพศ
-      พ่อแม่รับรู้เพศเด็ก  และเลี้ยงลูกตามเพศที่กำหนด 
-       เด็กยังไม่รู้เพศตนเอง
 สัมพันธภาพ
-       การตอบสนองความต้องการของเด็กช่วยสร้างความมั่นคงในจิตใจอารมณ์
-       สื่อสารผ่านการร้อง  การสัมผัส  กอด
 ทักษะส่วนบุคคล
-      แยกตนเองและผู้อื่น  เป็นคนละคนกัน

-       รอคอยได้เมื่อพ้น 6  เดือน  จำหน้าแม่เมื่ออายุ  9  เดือน
 พฤติกรรมทางเพศ
-       ความพอใจอยู่ที่การกิน  การดูด  การกัด การสัมผัส
 สุขอนามัยทางเพศ
-      พ่อแม่ช่วยเหลือทำความสะอาดทางเพศ
 สังคมและวัฒนธรรม
-       เด็กแยกตนเองจากสิ่งแวดล้อม 
 วัย 1-3  ปี
พัฒนาการทางเพศ
-       สอนให้เด็กรู้จักเพศตนเอง(core  gender)  และเพศของผู้อื่น 
-       ให้พอใจและภูมิใจในเพศของตนเอง
 สัมพันธภาพ
-      พ่อแม่ความสัมพันธ์ที่มั่นคงแน่นอน ให้เด็กเกิดความผูกพันมั่นคงในจิตใจ 

ทักษะส่วนบุคคล
-       สามารถควบคุมตนเองได้  โดยเฉพาะการขับถ่าย  ฝึกให้เด็กช่วยตัวเอง  ขับถ่ายเป็นที่ทาง  เป็นเวลา
 พฤติกรรมทางเพศ
-       กำกับให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมและตรงตามเพศของเด็ก เช่น  การแต่งกาย การพูด  การเล่น 
-      เบนความสนใจไม่ให้เด็กเล่นอวัยวะเพศตนเอง 
 สุขอนามัยทางเพศ
-       สอนการทำความสะอา[คำไม่พึงประสงค์]วัยวะเพศตนเอง                                                                                  -       การระวังรักษาอวัยวะเพศตนเอง 
 สังคมและวัฒนธรรม
-       เด็กเริ่มเรียนรู้กฎเกณฑ์กติกาต่างๆ  ฝึกให้เด็กรู้จักกฎเกณฑ์กติกาในบ้าน พื้นฐานของระเบียบวินัย  และการควบคุมตนเอง 
  วัย 3-6  ปี
พัฒนาการทางเพศ
-      สนใจอวัยวะเพศตนเองและของผู้อื่น สอนให้เด็กรู้จักการดูแลรักษาอวัยวะเพศตนเอง 
 สัมพันธภาพ
-       ถ่ายทอดแบบอย่างทางเพศจากพ่อแม่  พ่อแม่ใกล้ชิดกับลูกเป็นแบบอย่างทางเพศที่ดีกับลูกเพศเดียวกัน 
 ทักษะส่วนบุคคล
-       พึ่งพาตัวเองได้  ช่วยตัวเองได้  สามารถแยกตัวเองจากพ่อแม่                                                                             -       เข้าใจเหตุผลง่ายๆ 
 พฤติกรรมทางเพศ
-       อยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศ เวลาอธิบายเรื่องเพศควรใช้คำอธิบายด้วยเหตุผลง่ายๆ 
-;       สอนพฤติกรรมที่เหมาะสมทางเพศ  ไม่ส่งเสริมให้เด็กแสดงออกผิดเพศ  เช่นการแต่งกาย  ท่าทาง  หรือการเล่นผิดเพศ 
 สุขอนามัยทางเพศ
-       การทำความสะอา[คำไม่พึงประสงค์]วัยวะเพศตนเอง   
-       การแยกใช้ห้องน้ำห้องส้วมหญิงชาย
-       การระวังรักษาอวัยวะเพศไม่ให้ใครมาละเมิด
-       สอนทักษะในการปฏิเสธการล่วงละเมิดทางกาย  ฝึกให้เด็กปฏิเสธมิให้ผู้อื่นแตะต้องร่างกาย  โดยเฉพาะอวัยวะเพศของตนเอง 
-       การปฏิเสธ เช่น การไปไหนกับคนแปลกหน้า  การรับของ  ขนม  หรือของเล่นจากคนที่ไม่รู้จัก 
-       การขอความช่วยเหลือเมื่อไม่แน่ใจในความปลอดภัย 
-       หลีกเลี่ยงไปไหนตามลำพัง 
 สังคมและวัฒนธรรม
-       ทัศนคติของผู้ใหญ่เป็นกลางในเรื่องเพศ
-       ยอมรับการอยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศ  อธิบายให้เด็กเข้าใจตามสมควร 
-       เพศหญิงชายไม่มีความแตกต่างกัน 
-       ไม่ทำให้เด็กรังเกียจอวัยวะเพศตนเอง
-       ควบคุมพฤติกรรมทางเพศให้เหมาะสม  ไม่ละเมิดผู้อื่น 
-       ไม่ให้ใครมาละเมิดตนเอง
-       เมื่อเด็กสนใจหมกมุ่น  หรือกระตุ้นตัวเองทางเพศ  ผู้ใหญ่ห้ามสั้นๆด้วยท่าทีสงบ  หากิจกรรมเบนความสนใจเด็ก  หรือจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กไม่อยู่คนเดียว 
-       ไม่ควรขู่หรือทำให้เด็กกลัวจนเกินไป 
  วัย 6-12  ปี
พัฒนาการทางเพศ
-       ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงทางเพศชัดเจน
 สัมพันธภาพ
-       จับกลุ่มเล่นแยกเพศ  ให้เด็กเล่นตามเพศเดียวกัน 
 ทักษะส่วนบุคคล
-      เข้าใจเหตุผลที่เป็นรูปธรรม
-       เข้าใจจิตใจผู้อื่นมากขึ้น 
-       รับผิดชอบต่อส่วนรวม  ชอบแข่งขันการเรียน
 พฤติกรรมทางเพศ
-       ส่งเสริมพฤติกรรมเหมาะสมกับเพศตนเอง
-       สอนเรื่องสถานการณ์เสี่ยงทางเพศ 
 สุขอนามัยทางเพศ
-       ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงตนเองสำหรับวัยรุ่น  ในเด็กบางคนเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น
สังคมและวัฒนธรรม
 -       สอนให้เกียรติกันทางเพศ  ไม่ละเมิด 
-       ให้มีพฤติกรรมเหมาะสมตามเพศ  เพศชายช่วยเหลือเพศหญิง 
 วัย 12-15  ปี
พัฒนาการทางเพศ
-       การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ 
-       อารมณ์เพศ  ความรู้สึกและความต้องการทางเพศ  สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางเพศ 
-       ปฏิกิริยาตอบสนองทางเพศเมื่อมีอารมณ์เพศ 
-     ความพึงพอใจทางเพศ(sexual  orientation) 
 สัมพันธภาพ
-       การมีเพื่อนต่างเพศ  ทักษะสังคมในการคบเพื่อนต่างเพศ  การแสดงออกอย่างเหมาะสมเมื่อสนใจเพศตรงข้าม 
 ทักษะส่วนบุคคล
-       ทักษะในการสื่อสารเจรจา
-       การสร้างความสัมพันธ์และรักษาความสัมพันธ์ให้ยาวนาน
-       การควบคุมตนเอง 
-       ควบคุมอารมณ์  จัดการกับอารมณ์และความต้องการทางเพศ 
 พฤติกรรมทางเพศ
-       ศึกษาเรื่องเพศได้ในกรอบที่พอเหมาะ 
-       ทัศนคติถูกต้องต่อการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง ควบคุมให้มีพอสมควร
-       การแต่งกายที่เหมาะสม  ถูกต้องตามเพศ 
-       มีความความสนใจเพศตรงข้ามได้แต่แสดงออกถูกต้อง 
-       ไม่ละเมิดหรือฉวยโอกาสทางเพศต่อผู้อื่น
 สุขอนามัยทางเพศ
-       การทำความสะอา[คำไม่พึงประสงค์]วัยวะเพศอย่างถูกต้อง 
-       การจัดการกับอารมณ์เพศอย่างถูกต้อง มีทางออกทางเพศ(sexual  outlet)
-        การระบายอารมณ์เพศด้วยวิธีอื่น   การออกกำลังกาย  การเล่นกีฬา 
-       การป้องกันการหมกมุ่นทางเพศมากเกินไป  โดยการจัดสิ่งแวดล้อม

-       หลีกเลี่ยงเหล้าและยาเสพติด  หลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยง
 สังคมและวัฒนธรรม
-      พฤติกรรมเหมาะสมกับสังคมประเพณี 
-       พฤติกรรมให้ถูกต้องตามเพศตนเอง 
  วัย 15-18  ปี
พัฒนาการทางเพศ
-       ยอมรับ  พอใจเอกลักษณ์ทางเพศ
-      แก้ไขความเชื่อหรือทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง 
 สัมพันธภาพ
-       การเลือกแฟน  การคบแบบแฟน 
-       การสังเกตนิสัยใจคอ  ความเข้ากันได้
-       ทักษะในการปรับตัวเข้าหา
-       การเลือกคู่ครอง 
-       ชีวิตครอบครัว 
-       การแต่งงาน  และปรับตัวในชีวิตสมรส
 ทักษะส่วนบุคคล
-       การปรับตัว 
-       สื่อสารบอกความต้องการตนเอง 
-       การปรับเปลี่ยนตนเอง  แก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง
-      ทักษะในการดำเนินชีวิตร่วมกัน 
-       การวางแผนอนาคต 
-       ควบคุมตนเองให้รับผิดชอบต่อครอบครัว 
-       การเลี้ยงลูก
 พฤติกรรมทางเพศ
-       การปฏิเสธเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน 
-       เพศสัมพันธ์
-       การใช้ถุงยางอนามัย การคุมกำเนิด
-       การเตรียมตัวก่อนการแต่งงาน 

-       การตอบสนองทางเพศปกติ
-       การมีเพศสัมพันธ์อย่างมีความสุข
-      การวางแผนครอบครัว 
 สุขอนามัยทางเพศ
-      การเปลี่ยนแปลงทางเพศที่จะเกิดในขณะตั้งครรภ์
-       เพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ 
-       การคลอดบุตรและการดูแลหลังการคลอดบุตร 
-       การคุมกำเนิดทั้งแบบชั่วคราวและถาวร
-       การทำหมันและการเลี้ยงดูบุตร 
-      การวางแผนครอบครัว
-       การแท้งบุตร 
-       ความผิดปกติทางเพศ
-       โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
 สังคมและวัฒนธรรม
-       การยับยั้งใจที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนสมรส 
-       การซื่อสัตย์ต่อคู่ครองตนเอง
-       บทบาทที่ดีของพ่อแม่ 

___________________________

แหล่งอ้างอิง

http://www.radompon.com/webboard/index.php?topic=33.0

 

คำสำคัญ (Tags): #Gender and Sex
หมายเลขบันทึก: 426477เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท