คำศัพท์เพศศึกษา


คำศัพท์เพศศึกษา 

เพศภาวะ (อังกฤษ: gender) คือสิ่งที่แสดงลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยองค์การอนามัยโลก ให้ความหมายไว้ว่า "คุณลักษณะของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง"[1] ในขณะที่คำว่า เพศ (Sex) มีความหมายในลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศหญิง และเพศชาย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0

 เพศภาวะมิใช่เป็นเพียงการแบ่งเพศชาย เพศหญิง ทางกายวิภาคและสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการถูกกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดความเป็นหญิง-ชาย ความความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหญิงชาย ลักษณะเฉพาะประจำเพศ (gender stereotype) และความเป็นตัวตนของหญิงชายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0

 ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า “เพศสภาพ” (gender) ในความหมายของนักสตรีนิยมอเมริกัน-อังกฤษ ใช้คำนี้เพื่อบ่งบอกความ 
แตกต่างระหว่าง “เพศ” (sex) กับ “เพศสภาพ” (gender) โดยมีนัยว่า เพศเป็นการจัดประเภทตามชีววิทยา ส่วนเพศสภาพนั้นเป็นประเภทที่ถูก 
สร้างขึ้นทางสังคม (socially constructed) แต่นักสตรีนิยมที่ได้รับอิทธิพลของจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) โต้แย้งว่าทั้งอัตลักษณ์ทางเพศ และ อัตลักษณ์ทางเพศสภาพ (sex and gender identity) ต่างเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดหรือแยกกันไม่ออกด้วยซ้ำไป

http://www.soc.cmu.ac.th/wsc/gs.htm

 สุขภาวะทางเพศระดับบุคคล 

หมายถึง การที่บุคคลสามารถแสดงออกทางเพศและตัดสินใจด้วยตนเองโดยอิสระและไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความเคารพต่อวิถีทางเพศที่แตกต่างจากตน มีสัมพันธภาพทางเพศที่ปลอดภัยและมีความพึงพอใจ โดยปราศจากการบังคับ การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรง โดยมีความคิดเชิงบวกต่อเรื่องเพศและสัมพันธภาพทางเพศ

 เพศภาวะ (Gender)

เพศภาวะ (Gender) หมายถึง ภาวะความเป็นหญิง เป็นชาย ที่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยระบบชีววิทยา แต่ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคม และอื่นๆ ทำให้สังคมเกิดความคาดหวังต่อความเป็นหญิงและชายในแง่มุมเฉพาะต่างๆ และมีส่วนกำหนดความเชื่อ ทัศนคติ มายาคติ (myth) รวมทั้งประเพณีปฏิบัติต่างๆ ที่ถูกทำให้กลายเป็นบรรทัดฐานของสังคมในเรื่องของความเป็นหญิงเป็นชาย เพศภาวะเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น ผู้หญิงไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นนิยมแต่งกายโดยนุ่งโจงกระเบนและไว้ผมสั้นเหมือนกับผู้ชาย จนชาวต่างชาติไม่สามารถแยกแยะคนไทยเพศหญิงและชายออกจากกันได้ ปัญหาของการทำความเข้าใจเพศภาวะ คือ ความเข้าใจผิดที่ว่า เพศสรีระเป็นตัวกำหนดเพศภาวะของบุคคล

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8 

 บทบาทชายหญิง

บทบาทหญิงหรืบทบาทชาย ดังนั้นเพศที่ถูกกำหนดโดยสังคมจึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละสังคม ตามสภาวการณ์ และเงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น ผู้หญิงอาจต้องรับภาระต่างๆ ที่เคยเป็นของผู้ชาย และผู้ชายอาจจะต้องรับบทบาทการดูแลบ้านเรือนเลี้ยงดูบุตรซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของผู้หญิง

http://guru.sanook.com/answer/question/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87/

 ค่านิยมของสังคมไทยนั้ัน ได้แบ่งเพศสภาพชายและหญิงไว้ต่างขั้ัวอย่างชัดเจน ด้วยมายาคติที่ว่าาเพศหญิงอ่อนแอ บอบบางและนุ่มนวลกว่าเพศชายที่แข็งแรง บึกบึน และมีพละกําลัง

http://www.sexualityconferencethailand.net/download/11.pdf

เพศสัมพันธ์

เพศสัมพันธ์ หมายถึงอะไร

เพศสัมพันธ์เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสืบพันธุ์ของมนุษย์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัย ทางธรรมชาติ ของร่างกายเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ของมนุษย์นั้นเอง เมื่อมีการร่วมเพศกันจนถึงจุดสุดยอด ตัวอสุจิของชายหนุ่ม ก็หลั่งออกมาภายในช่องคลอดของหญิงสาว จากนั้น ตัวอสุจิจะแหวกว่ายเข้าไปในมดลูกเพื่อไปพบกับ"ไข่" ของหญิงสาว ตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียง 1 ตัว สามารถไชเข้าไปภายในไข่ได้ และผสมกับไข่เกิดเป็นตัวอ่อน ของเด็กเราเรียกการผสมระหว่างตัวอสุจิและไข่นี้ว่า “การปฏิสนธิ

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=20642

 เพศสัมพันธ์ เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้น ระหว่างความรัก ความเข้าใจ ความพร้อมของคนทั้งสอง มักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับบุคคลที่เรามีความรู้สึกอยากใกล้ชิด เพศสัมพันธ์นั้นไม่ได้หมายความถึงการร่วมเพศเท่านั้น แต่หมายถึงกิจกรรมทางเพศในลักษณะต่างๆ เช่น การกอด การสัมผัส การจูบ การกระตุ้นอวัยวะเพศ แต่ความสัมพันธ์ทางเพศที่ยอมรับในสังคม เป็นองค์ประกอบของการอยู่กินเป็นสามี ภรรยา เมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะเกิดผลตามมาหลายอย่าง เช่น การตั้งครรภ์ การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรคเอดส์

http://www.maeklongtoday.com/sara_2/aid.htm

 พฤติกรรมเพศ

พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น  คือพฤติกรรมที่นำมาหรือเป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิต  ทำให้ร่างกายเป็นอันตราย  สูญเสียหน้าที่ ขาดโอกาสพัฒนาตามปกติ  หรือเสียชีวิต วัยรุ่นจะมีพฤติกรรมเสี่ยงมาก  เนื่องจากจิตใจวัยนี้ต้องการความสนุกสนาน  ตื่นเต้น  ท้าทาย  ต้องการเป็นที่ยอมรับของคนอื่น  อยากรู้อยากเห็นอยากลอง  มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น  แต่ยังขาดการยั้งคิด  ไตร่ตรอง  และการควบคุมตนเอ

http://www.psyclin.co.th/new_page_78.htm

 พฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ หรือ กิจกรรมทางเพศของมนุษย์ (อังกฤษ: human sexual behavior หรือ human sexual practices หรือ human sexual activities) มีความหมายถึงการปฏิบัติที่มนุษย์ได้พบและปลดปล่อยเรื่องทางเพศ มีหลากหลายกิจกรรมแตกต่างกันไป อย่างเช่นแผนการในการหาคู่ (จับคู่และแสดงพฤติกรรม) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, ความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางร่างกายหรืออารมณ์ รวมถึงการมีเพศสัมพันhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C

 พฤติกรรมทางเพศ หมายถึง การกระทำ หรือ การปฏิบัติตนที่เกี่ยงข้องกับเรื่องเพศโดยครอบคลุมทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก คือ พฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมทางเพศ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ปัจจัย คือ ครอบครัว เพื่อน สังคม และ วัฒนธรรม

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/health03/04/contents/hs26.html

 การวางแผนครอบครัว (Family Planning) หมายถึง การที่คู่สมรสวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ หรือควบคุมระยะเวลาการตั้งครรภ์ให้เหมาะสมกับอายุ สุขภาพ ฐานะเศรษฐกิจ และระยะห่างของการมีบุตร ตลอดจนจำนวนบุตรที่ต้องการ การวางแผนครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมที่จะมีสมาชิกตามจำนวนที่ต้องการ ในระยะเวลาที่ต้องการ

http://baancondom.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7/

การวางแผนครอบครัว หมายถึง การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7

การวางแผนชีวิต และการสร้างครอบครัว 
     การดำรงชีวิตในครอบครัวที่อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สมาชิกในครอบครัวจะต้องมีการเตรียมการ มีแนวทาง มีการวางแผนการดำเนินชีวิตที่ดี เพื่อให้ครอบครัวสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ดังนั้น ก่อนที่ชายและหญิงจะตกลงปลงใจใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ควรจะต้องพิจารณาเลือกคู่ครองของตนอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลดี มีความสุข ความเจริญในชีวิตครอบครัว
http://www.sch.ac.th/Healt/page.htm

 การวางแผนครอบครัวหมายถึงการที่คู่สมรสตั้งเป้าหมายไว้ว่า

1.  จะมีบุตรกี่คน

2.  จะมีบุตรเมื่อใด

3.  บุตรแต่ละคนห่างกันกี่ปี

4.  ต้องการบุตรเพศหญิงหรือชาย

gocity.com/topics/661-การวางแผนครอบครัว

 

การวางแผนครอบครัวคืออีกแนวคิดหนึ่งซึ่งมีประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่งที่วัยรุ่นและประชาชนทั่วไปควรศึกษาให้เข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะคู่รักและคู่สมรสซึ่งใช้ชีวิตร่วมกัน

www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/.../sec1.html

 อนามัยเจริญพันธุ์ หมายถึงภาวะที่มีความสมบูรณ์ของผู้หญิงและผู้ชายที่พร้อมจะสืบทอดเผ่าพันธุ์ มีความสุขทั้ง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณมีกระบวนการครอบคลุมตลอดช่วงชีวิตของบุคคล ดังนี้

1. มีพัฒนาการทางเพศ
2. มีความพึงพอใจทางเพศ
3. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
4. ได้รับการตรวจสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์
5. มีศักยภาพในการให้กำเนิดและความมีอิสระที่จะตัดสินใจในการให้กำเนิดบุตร
เมื่อใดอย่างไรโดยคลอดบุตรอย่างปลอดภัย
6.ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับข้อมูลและบริการสุขภาพที่ปลอดภัยมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในการกำหนดหรือควบคุมภาวะเจริญพันธุ์

www.thaigoodview.com/library/contest2552/.../hs01.htm

 

อนามัยเจริญพันธุ์ หมายถึง ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ที่เป็นผลจากกระ บวนการและการทำหน้าที่การเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทางเพศชายและหญิงทุกช่วงอายุ อันส่งผลให้มี ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข องค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์ 

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/health03/04/contents/hs01.html

 มิติทางเพศ

   เรื่อง   "เพศ"  จึงมีหลายมิติคือมิติของความรู้ ของอํานาจ และเศรษฐกิจ นับวัน   "เพศ"  ก็จะ

กลายเป็นเรื่องเด่นในชีวิตประจําวันมากขึ้นเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ไม่ขาดผู้บริโภคในสังคมปัจจุบัน

http://www.human.cmu.ac.th/Huge/huge104/data/104-23.pdf

 เพศหมายถึง

•ระบบของบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างเพศชายและเพศหญิงที่ไม่ได้กำหนดโดยชีววิทยา แต่โดยทางวัฒนธรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจบริบททางสังคม 

•"กระบวนการซึ่งบุคคลที่จะเกิดมาเป็นหมวดหมู่ทางชีวภาพของเพศชายและเพศหญิงเป็นหมวดหมู่ทางสังคมของชายและหญิงผ่านมาผู้หญิงที่กำหนดภายในของคุณลักษณะของ / ความเป็นชายความเป็นชายและความเป็นหญิง" 

http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en|th&u=http://www.usaid.gov/km/seminars/2005/strategichandout.doc

 

เพศหมายถึงบทบาทและความรับผิดชอบของชายและหญิงที่สร้างขึ้นในสังคมของเราครอบครัวของเราและวัฒนธรรมของเรา

http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en|th&u=http://portal.unesco.org/en/files/11483/10649049699Definitions.doc/Definitions.doc

 มิติทางสังคมเรื่องเพศ

เพศในทางสังคมเป็นเรื่องซับซ้อนเพราะในโลกตะวันตกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18  ความแตกต่างทางเพศในสังคมขึ้นอยู่กับคําสอนทางศาสนาและการนิยามทางวัฒนธรรม มากกว่าทางสรีระร่างกาย แต่ต่อมาเมื่อมีความตื่นตัวทางด้านความรู้เกี่ยวกับร่างกายมากขึ้น    และคําสอนทางศาสนาลดอิทธิพลลงในยุคของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์    มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์  ทัศนคติที่มีต่อเรื่องเพศจึงปรับเปลี่ยนจนในปัจจุบันเพศเป็นจุดเด่นในสังคมของโลกปัจจุบันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน      ในขณะนี้เพศสัมพันธ์ถูกถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ในสังคม แต่ในความเป็นจริงในพัฒนาการของทัศนคติเกี่ยวกับเพศนั้น การมีเพศสัมพันธ์ก็ดีการมีความต้องการทางเพศก็ดีล้วนเป็นเรื่องที่สามารถสร้างปัญหาและความขัดแย้งในสังคมได้ทุกยุคทุกสมัย

   http://www.human.cmu.ac.th/Huge/huge104/data/104-23.pdf

 สังคมที่ฉลาดต้องให้คนเรียนรู้เรื่องเพศได้ ต้องสอนความซับซ้อนตั้งแต่จุดเริ่มต้น ทำให้เรามีหวังกับการฉลาดรู้และรวมถึงการเลือกเดินเส้นทางไหน แบบไหน เชื่ออย่างไร แต่สังคมไทยเรื่องเพศเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสกว่าเรื่องอื่น เพราะขีดเส้นไว้เรียบร้อยไม่ให้ซับซ้อนแล้วให้เชื่อแค่นี้ ทำให้เกิดการปะทะอย่างแรง เพราะกระทรวงวัฒนธรรมที่มีหน้าที่เฝ้าระวังเรื่องเพศมีความเชื่อชุดหนึ่ง ซึ่งเราต้องทำงานกับเขา และแผนงานที่กำลังทำร่วมกันเราก็หวังว่าวันหนึ่งจะกลับไปแก้ที่ราก 

http://www.healthcorners.com/new_read_article.php?category=sexknow&id=4109

 

สังคมได้สร้างระบบสัญลักษณ์ ถือขึ้นมา เพื่อให้ความหมายสิ่งต่างๆและเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในสังคม ภาษาจึงถือกําเนิดมาด้วยเหตุผลนี้ เช่นเดียวกับเพศสภาพ ที่ถือกําเนิดขึ้นมาเพื่อนิยามตัวตน สร้างความหมายของเพศวิถีให้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน หากแต่ความแตกต่างดังกล่าวกลับเป็นความแตกต่างทางเสรีภาพ คุณค่า อย่างไม่เสมอภาพและเท่าเทียม

http://www.sexualityconferencethailand.net/download/11.pdf

 

 

สิทธิทางเพศ

สิทธิทางเพศเป็นสิทธิมูลฐานและเป็นรากฐานของสิทธิมนุษยชน ซึ่งสมาคมเพศศาสตร์ศึกษานานาชาติได้แถลง ณ การประชุมครั้งที่ ๑๓ ที่กรุงวาเลนเซีย ประเทศสเปน ว่า เพศเป็นมิติหนึ่งของมนุษย์ที่มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพศเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างภายในของสังคมเอง และของแต่ละบุคคลในเวลาเดียวกัน โดยปรากฏให้เห็นทางวงจรชีวิตของบุคคลที่ประสานความเป็นตัวของตัวเอง และสร้างเสริมความผูกพันซึ่งกันและกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

http://www.doctor.or.th/node/2145

สิทธิทางเพศได้แก่สิทธิดังต่อไปนี้

  • สิทธิที่จะมีเสรีภาพทางเพศ ต้องขจัดการบังคับข่มขู่ทางเพศ การแสวงหาผลประโยชน์ และการล่วงเกินทางเพศทุกรูปแบบ
     
  • สิทธิที่จะมีความเป็นอิสระ ความเป็นตัวของตัวเอง และความปลอดภัยในร่างกาย รวมถึงการควบคุมและการหาความสุขจากร่างกายของตนเอง โดยปราศจากการทารุณกรรมและความรุนแรงในทุกรูปแบบ
     
  • สิทธิเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งความเคารพในความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และไม่ว่าจะมีอายุ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น หรือมีรสนิยมทางเพศแบบใด
     
  • สิทธิที่จะมีสุขอนามัยทางเพศที่ดี รวมทั้งได้รับการรักษาพยาบาล โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้องและเหมาะสม
     
  • สิทธิที่จะได้รับความรู้เรื่องเพศที่กว้างขวางและเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เบี่ยงเบน ซึ่งครอบคลุมความรู้ด้านเพศศึกษาตั้งแต่เกิดจนตลอดชีวิต
     
  • สิทธิที่จะดำเนินชีวิตร่วมอย่างอิสระ จะแต่งงานหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งสิทธิในการใช้ชีวิตร่วมทางเพศแบบอื่นๆ ที่ตนประสงค์
     
  • สิทธิที่จะตัดสินใจโดยเสรีและรับผิดชอบในการเจริญพันธุ์ สามารถเลือกการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม
     
  • สิทธิในความเป็นส่วนตัว สามารถตัดสินใจในการดำเนินชีวิตทางเพศโดยอิสระ ภายใต้จริยธรรมทางสังคมและบุคคล

http://www.whaf.or.th/content/20

 

สิทธิทางเพศ” ก็คือสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมไปถึงสิทธิที่จะเลือกวิถีทางเพศที่ตนพึงพอใจ จะมีคู่ต่างเพศหรือเพศเดียวกันก็ได้ แต่เพศสัมพันธ์ทุกครั้งต้องมีความสุขและปลอดภัย ปราศจากความรุนแรงและการบังคับ ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการท้องไม่พร้อม นอกจากนี้ ยังต้องได้รับบริการสุขภาพทางเพศที่มีคุณภาพ ต้องสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระโดยได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน เช่น ต้องการจะมีลูกหรือไม่ มีกี่คน มีเมื่อไร จะคุมกำเนิดโดยวิธีใดจึงจะเหมาะสมและปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสิทธิทางเพศเท่านั้น

 

บทความคอลัมน์เสียงสตรี หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2549ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ

สิทธิเท่าเทียมทางเพศ มีเสรีภาพที่ปราศจากการกีดกั้นแบ่งแยกในทุกรูปแบบ รวมกับการให้ความเคารพ ในความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และไม่ว่าจะมีอายุ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น หรือมีรสนิยม ทางเพศแบบใด

http://www.sapaan.org/article/7.html

 

สิทธิที่จะมีเสรีภาพ จะต้องขจัดการบังคับข่มขู่ทางเพศ การแสวงหาผลประโยชน์และการล่วงเกินทางเพศ ทุกรูปแบบ ไม่ว่าในเวลาหรือสถานการณ์ใดๆ การต่อสู้เพื่อต่อต้านความรุนแรงทางเพศ เป็นสิ่งที่สังคมควร ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

http://www.thaitga.com/index.php/library/articles/38-sexualrights-in-global

 

ความเข้าอกเข้าใจ ยอมรับการเห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกที่ต่างเพศจากตน ได้รับการตอบสนองจากเพศชายมากน้อยเพียงใด มันเงียบราวกับคลื่นกระทบฝั่ง
http://www.piyapornclub.com/topic.php?topic_id=148

 ความเท่าเทียมภาพทางเพศ

ความเสมอภาคระหว่างเพศหมายถึงว่า เราต้องการควาเสมอภาคระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย หรือว่าเราต้องการความยุติธรรให้กับมนุษย์สองประเภทที่มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน 

http://thaitga.com/index.php/library/articles/12-gender-equality-sensitivity

ความละเอียดอ่อนในเรื่องเพศสภาพคือ การมองเห็นว่าการมีอคติทางเพศเพราะความเป็นหญิงที่สังคมสร้างให้เป็นของ ผู้หญิงเป็นเรื่องต้องแก้ไขและเป็นเรื่องของทุกคนมิใช่แต่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้นที่จะต้องมีส่วนในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง 
ttp://www.soc.cmu.ac.th/~wsc/judge.htm

ความละเอียดอ่อนในเรื่องเพศสภาพคือมองเห็นแนวคิด ระบบคุณค่าและสมมุติฐานที่ฝังรากอยู่ในระบบคิดของกฎหมายและสถาบันกฎหมายที่มีอคติต่อผู้หญิง 

http://ilaw.or.th/node/326

บทบาทเพศ

 บทบาททางเพศหมายถึงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงถึงความเป็นชายหรือความเป็นหญิงซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จากการสังเกตบุคคลรอบ ๆ ข้าง รวมทั้งการอบรมสั่งสอนโดยตรงของพ่อแม่และตัวแทนต่าง ๆ ในสังคมตั้งแต่วัยเด็ก ท้ายสุดบุคคลจึงมีเอกลักษณ์บทบาททางเพศ (Sex role identity) ที่เหมาะสมเป็นของตนเอง และเป็นที่ยอมรับจากคนในสังคม โดยที่จะแสดงออกทั้งลักษณะความเป็นเพศหญิงและความเป็นเพศชายกลายเป็นลักษณะร่วมกั

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8

 ที่หมายถึงพฤติกรรมที่ตั้งของสังคมและ บรรทัดฐาน ที่ภายในวัฒนธรรมเฉพาะจะถือว่ามีความเหมาะสมอย่างกว้างขวางเพื่อสังคมสำหรับบุคคลเพศที่เฉพาะเจาะจง สังคมยอมรับบทบาททางเพศแตกต่างกันมากระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่าง

http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en|th&u=http://en.wikipedia.org/wiki/Gender_role

บทบาททางเพศมีบทบาทที่สังคมกำหนดให้ชายและหญิงตามเพศของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเขามีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิง

บทบาททางเพศได้รับการเปลี่ยนแปลงในสังคมตะวันตกในทศวรรษที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้และโดยทั่วไปได้กลายเป็นความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตามบทบาททางเพศแบบดั้งเดิมยังคงมีอิทธิพลบางอย่าง

http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en|th&u=http://www.ualberta.ca/dept/health/web_docs/healthinfo/Decisions/roles.htm

 



 

คำสำคัญ (Tags): #เพศศึกษา
หมายเลขบันทึก: 426471เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท