คำศัพท์ เกี่ยวกับ Gender and Sex


เพศภาวะ 

เพศภาวะ (Gender) หมายถึง ภาวะความเป็นหญิง เป็นชาย ที่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยระบบชีววิทยา แต่ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคม และอื่นๆ ทำให้สังคมเกิดความคาดหวังต่อความเป็นหญิงและชายในแง่มุมเฉพาะต่างๆ และมีส่วนกำหนดความเชื่อ ทัศนคติ มายาคติ (myth) รวมทั้งประเพณีปฏิบัติต่างๆ ที่ถูกทำให้กลายเป็นบรรทัดฐานของสังคมในเรื่องของความเป็นหญิงเป็นชาย เพศภาวะเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น ผู้หญิงไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นนิยมแต่งกายโดยนุ่งโจงกระเบนและไว้ผมสั้น เหมือนกับผู้ชาย จนชาวต่างชาติไม่สามารถแยกแยะคนไทยเพศหญิงและชายออกจากกันได้ ปัญหาของการทำความเข้าใจเพศภาวะ คือ ความเข้าใจผิดที่ว่า เพศสรีระเป็นตัวกำหนดเพศภาวะของบุคคล.

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8

เพศภาวะ (อังกฤษ: gender) คือสิ่งที่แสดงลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยองค์การอนามัยโลก ให้ความหมายไว้ว่า "คุณลักษณะของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง"

ที่มา : yanathorn.blogspot.com/2010/01/blog-post_10.html

เพศภาวะมิใช่เป็นเพียงการแบ่งเพศชาย เพศหญิง ทางกายวิภาคและสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการถูกกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดความเป็นหญิง-ชาย ความความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหญิงชาย ลักษณะเฉพาะประจำเพศ (gender stereotype) และความเป็นตัวตนของหญิงชายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ส่วนภาษาไทยนั้น เพศภาวะ อาจมีคนแปลความหมายของคำว่า gender ว่า “เพศสภาพ” “สถานะเพศ” “เพศสัมพัทธ์” “ความเป็นชาย ความ เป็นหญิง” “บทบาทหญิงชาย” “มิติหญิงชาย” หรือ “เพศทางสังคม”

ที่มา : www.oknation.net/blog/klaeng112/2010/06/19/entry-1

 ตามความคิดของข้าพเจ้า เพศภาวะหมายถึง สิ่งที่แสดงถึงภาวะความเป็นหญิง เป็นชาติ ที่ถูกกำหนดโดยบทบาททางสังคม จากพฤติกรรมรวมถึงการถูกกำหนดทางวัฒนธรรมด้วย

__________________________________________________________________

บทบาทเพศ

เพศ ทางสังคมหรือเพศที่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขทางสังคมหรือวัฒนธรรมให้แสดงบทบาท หญิงหรืบทบาทชาย ดังนั้นเพศที่ถูกกำหนดโดยสังคมจึงอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละสังคม ตามสภาวการณ์ และเงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น ผู้หญิงอาจต้องรับภาระต่างๆ ที่เคยเป็นของผู้ชาย และผู้ชายอาจจะต้องรับบทบาทการดูแลบ้านเรือนเลี้ยงดูบุตรซึ่งเคยเป็นหน้าที่ ของผู้หญิง

ที่มา: http://www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

บทบาทที่กำหนดโดยสังคมเป็นตัวกำหนดสำคัญในการที่ผู้หญิงหรือผู้ชายจะแสดงออกอย่างไรในสังคมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

ที่มา: www.ryt9.com/s/prg/509517

บทบาททางเพศหมายถึงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงถึงความเป็นชายหรือ ความเป็นหญิงซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จากการสังเกตบุคคลรอบ ๆ ข้าง รวมทั้งการอบรมสั่งสอนโดยตรงของพ่อแม่และตัวแทนต่างๆ ในสังคมตั้งแต่วัยเด็ก ท้ายสุดบุคคลจึงมีเอกลักษณ์บทบาททางเพศ (Sex role identity) ที่เหมาะสมเป็นของตนเอง และเป็นที่ยอมรับจากคนในสังคม โดยที่จะแสดงออกทั้งลักษณะความเป็นเพศหญิงและความเป็นเพศชายกลายเป็นลักษณะ ร่วมกัน ความเป็นชายจะเน้นพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถของบุคคลใน การที่จะผลักดันตนเองไปสู่ความสำเร็จในชีวิต เน้นบทบาทผู้นำ ในขณะที่ความเป็นหญิงจะเน้นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ในขณะที่บทบาททางเพศมุ่งเน้นที่พฤติกรรมที่แสดงออกมา เช่น บทบาทในการดูแลลูกของผู้หญิง และบทบาทการหาเลี้ยงครอบครัวของผู้ชาย ความเป็นเพศสนใจพฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ภายในด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ดังนั้นการทำความเข้าใจความเป็นเพศจึงไม่ควรถูกลดมาเป็นเพียงการเข้าใจบทบาท ทางเพศเท่านั้น

ที่มา: http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8

 ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า บทบาทเพศ หมายถึง บทบาทที่ถูกกำหนดจากสังคมบอกถึงลักษณะของบุคคลที่แสดงออกมาถึงความเป็นชายหรือหญิง เช่นความเป็นชายจะเน้นพฤติกรรมที่แสดงถึงความแข็งแรงใช้พลังในการทำกิจกรรม ส่วนหญิงจะแสดงออกมาในทางที่ละเอียดอ่อนใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนใหญ่

____________________________________________________________________

 บทบาทชายหญิง

การที่หญิงและชายมีความเท่าเทียมกันในสังคม โดยที่เงื่อนไขทางสังคมจะเอื้อต่อการมีและการใช้สิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่า เทียมกันทั้งสองเพศ รวมถึงการเอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ไม่แตกต่างกัน กล่าวโดยสรุป Gender Equality ก็คือการปรับความคิดในการพัฒนาหรือในการทำงานโดยนำความต้องการและมุมมองของ ทั้งหญิงและชายอย่างเท่าเทียมมาเป็นกรอบความคิด โดยมีหลักความเสมอภาคระหว่างผู้หญิงและผู้ชายเป็นเป้าหมาย

ที่มา: http://www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

การที่ผู้หญิงและผู้ชายแม้มีเพศที่ต่างกัน ก็ได้รับความเป็นธรรมและความยุติธรรมในการเข้าถึงบริการและการใช้ทรัพยากรตามความต้องการและการสนองตอบ ทั้งในด้านครอบครัว ชุมชน และในระดับประเทศ กล่าวโดยสรุป Gender Equity เน้นด้านคุณภาพของความเป็นธรรม ความยุติธรรม และสิทธิพึงได้ที่จะได้รับไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

ที่มา: www.oknation.net/blog/print.php?id=22569

การเข้าใจและการตระหนักที่จะยอมรับในความแตกต่างทางสังคมของหญิงชาย ที่นำไปสู่ความไม่เท่าทียม รวมถึงการมีส่วนร่วมในบริการด้านเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา: www.cai.ku.ac.th/article/article_woman_050753.pdf

 ตามความคิดของข้าพเจ้า บทบาทชายหญิง หมายถึง บทบาททางสังคมที่เอื้อต่อการมีและการใช้สิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันทั้ง2ฝ่าย รวมถึงการยอมรับในความแตกต่างในสังคม

___________________________________________________________________

สิทธิทางเพศ

สิทธิทางเพศ หรือ sexual rights คือสิทธิของบุคคลที่ถูกระบุไว้แล้วในกฎหมายและข้อตกลงต่างๆทั้งในระดับ ประเทศและนานาชาติ เป็นสิทธิของคนทุกคนที่ต้องได้รับโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่มีการบังคับ และไม่มีความรุนแรง

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8

สิทธิที่ถูกระบุไว้แล้วในกฎหมายและข้อตกลงต่างๆทั้งในระดับประเทศและนานา ชาติ เป็นสิทธิพื้นฐานของบุคคลและของคู่สมรส ประกอบด้วยสิทธิมนุษยชน 12 ประการคือ สิทธิในชีวิต สิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล สิทธิในความเสมอภาคและความเป็นอิสระจากการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ สิทธิในความเป็นส่วนตัวสิทธิในเสรีภาพแห่งความคิด สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา สิทธิในการเลือกว่าจะสมรสหรือไม่และสิทธิในการวางรากฐานและการวางแผนครอบ ครัว สิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด สิทธิในการดูแลและป้องกันสุขภาพ สิทธิในการได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมและการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการปลอดจากการถูกทารุณกรรมและการปฏิบัติมิชอบ

ที่มา: www.sapaan.org/article/7.html

“สิทธิทางเพศ” ก็คือสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมไปถึงสิทธิที่จะเลือกวิถีทางเพศที่ตนพึงพอใจ จะมีคู่ต่างเพศหรือเพศเดียวกันก็ได้ แต่เพศสัมพันธ์ทุกครั้งต้องมีความสุขและปลอดภัย ปราศจากความรุนแรงและการบังคับ ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการท้องไม่พร้อม นอกจากนี้ ยังต้องได้รับบริการสุขภาพทางเพศที่มีคุณภาพ ต้องสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระโดยได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วน เช่น ต้องการจะมีลูกหรือไม่ มีกี่คน มีเมื่อไร จะคุมกำเนิดโดยวิธีใดจึงจะเหมาะสมและปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสิทธิทางเพศเท่านั้น

ที่มา: http://whaf.or.th/content/20

 ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า สิทธิทางเพศ หมายถึง สิทธิมนุษยชนที่ถูกระบุไว้ในกฎหมายรวมกฎหมายรวมไปถึงสิทธิที่จะเลือกวิถีทางเพศที่ตนเองพึงพอใจจะกระทำ และ เป็นสิทธิพื้นฐานของแต่ละบุคคล

___________________________________________________________________

พฤติกรรมเพศ

พฤติกรรมทางเพศ หมายถึง การกระทำ หรือ การปฏิบัติตนที่เกี่ยงข้องกับเรื่องเพศโดยครอบคลุมทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก คือ พฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมทางเพศ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ปัจจัย คือ ครอบครัว เพื่อน สังคม และ วัฒนธรรม

ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/health03/04/contents/hs26.html

มีความหมายถึงการปฏิบัติที่มนุษย์ได้พบและปลดปล่อยเรื่องทางเพศ มีหลากหลายกิจกรรมแตกต่างกันไป อย่างเช่นแผนการในการหาคู่ (จับคู่และแสดงพฤติกรรม) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, ความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางร่างกายหรืออารมณ์ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%

พฤติกรรมทางเพศของมนุษย์เป็นผลพวงจากปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งปัจจัยทางชีวภาพและทางจิตใจหากแต่การ แสดงออกทางเพศจะมากหรือน้อยแค่ไหน มันขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคมร่วมด้วย จะมีกิจกรรมแห่งรักมันต้องดู กาล เทศะ ยิ่งล้ำลึก ยิ่งต้องเป็นส่วนตัว วัฒนธรรมจึงเป็นบรรทัดฐานในการประเมินพฤติกรรมว่าถูกต้อง - ผิดเหมาะสม ดี - ชั่ว จารีต ธรรมเนียมปฏิบัติในกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละชุมชน

ที่มา: www.bloggang.com/mainblog.php?id=nutnaree&month=10

ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า พฤติกรรมทางเพศ หมายถึง พฤติกรรมหรือ การปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เป็นปัจจัยทางชีวภาพ ทางจิตใจและปัจจัยร่วมทางสังคม รวมถึงความหลากหลายของกิจกรรมในการหาคู่,การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และกิจกรรมแห่งรักที่เป็นส่วนตัว

__________________________________________________________________

การวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัว (Family Planning) หมายถึง การที่คู่สมรสวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ หรือควบคุมระยะเวลาการตั้งครรภ์ให้เหมาะสมกับอายุ สุขภาพ ฐานะเศรษฐกิจ และระยะห่างของการมีบุตร ตลอดจนจำนวนบุตรที่ต้องการ การวางแผนครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมที่จะมีสมาชิกตามจำนวนที่ต้อง การ ในระยะเวลาที่ต้องการ

ที่มา: http://baancondom.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8

การวางแผนครอบครัว หมายถึง การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

ที่มา: http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A

การวางแผนครอบครัว หมายถึง การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

ที่มา: http://tgocity.com/topics/661-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7

 ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า การวางแผนครอบครัว หมายถึง การที่คู่สมรสร่วมกันตั้งเป้าหมายและวางแผนในด้านต่างๆ ให้กับครอบครัวไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ครอบครัวของตนเองมีความพร้อม มีความสุข และมีความเหมาะสมกับทุกๆด้านในการมีชีวิตร่วมกัน

__________________________________________________________________อนามัยเจริญพันธุ์

อนามัยเจริญพันธุ์ หมายถึง ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ที่เป็นผลจากกระบวนการและการทำหน้าที่การเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทางเพศชายและหญิงทุกช่วงอายุ อันส่งผลให้มี ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข องค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์

ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/health03/04/contents/hs01.html

ภาวะที่มีความสมบูรณ์ของผู้หญิงและ ผู้ชายที่พร้อมจะสืบทอดเผ่าพันธุ์ มีความสุขทั้ง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณมีกระบวนการครอบคลุมตลอดช่วงชีวิตของบุคคล ดังนี้
          1. มีพัฒนาการทางเพศ
          2. มีความพึงพอใจทางเพศ
          3. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
          4. ได้รับการตรวจสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์

          5. มีศักยภาพในการให้กำเนิดและความมีอิสระที่จะตัดสินใจในการให้กำเนิดบุตรเมื่อใด อย่างไร โดยคลอดบุตรอย่างปลอดภัย
          6. ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับข้อมูลและบริการสุขภาพที่ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในการกำหนด หรือควบคุมภาวะการเจริญพันธุ์

ที่มา: http://www.it.ssyt.org/page3.html

อนามัยเจริญพันธุ์ หมายถึงภาวะที่มีความสมบูรณ์ของผู้หญิงและผู้ชายที่พร้อมจะสืบทอดเผ่าพันธุ์ มีความสุขทั้ง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์

ที่มา: webboard.yenta4.com

ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า อนามัยเจริญพันธุ์ หมายถึง  ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย จิตใจ ของผู้หญิง ผู้ชาย ที่พร้อมและสามารถจะสืบทอดการดำรงเผ่าพันธุ์ และการทำหน้าที่การเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทางเพศชาย และเพศหญิงทุกช่วงอายุ และทำให้มีผลต่อตนเองและครอบครัว

__________________________________________________________________

เพศสัมพันธ์

เพศ สัมพันธ์เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสืบพันธุ์ของมนุษย์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัย ทางธรรมชาติ ของร่างกายเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ของมนุษย์นั้นเอง เมื่อมีการร่วมเพศกันจนถึงจุดสุดยอด ตัวอสุจิของชายหนุ่ม ก็หลั่งออกมาภายในช่องคลอดของหญิงสาว จากนั้น ตัวอสุจิจะแหวกว่ายเข้าไปในมดลูกเพื่อไปพบกับ"ไข่" ของหญิงสาว ตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียง 1 ตัว สามารถไชเข้าไปภายในไข่ได้ และผสมกับไข่เกิดเป็นตัวอ่อน ของเด็กเราเรียกการผสมระหว่างตัวอสุจิและไข่นี้ว่า “การปฏิสนธิ"

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=20642

 เพศสัมพันธ์ เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้น ระหว่างความรัก ความเข้าใจ ความพร้อมของคนทั้งสอง มักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับบุคคลที่เรามีความรู้สึกอยากใกล้ชิด เพศสัมพันธ์นั้นไม่ได้หมายความถึงการร่วมเพศเท่านั้น แต่หมายถึงกิจกรรมทางเพศในลักษณะต่างๆ เช่น การกอด การสัมผัส การจูบ การกระตุ้นอวัยวะเพศ แต่ความสัมพันธ์ทางเพศที่ยอมรับในสังคม เป็นองค์ประกอบของการอยู่กินเป็นสามี ภรรยา เมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะเกิดผลตามมาหลายอย่าง เช่น การตั้งครรภ์ การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรคเอดส์

ที่มา: http://www.maeklongtoday.com/sara_2/aid.htm

ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า เพศสัมพันธ์ หมายถึง เป็นความสัมพันธ์ขั้นตอนหนึ่ง ที่คู่ชายหญิงหรือคน2คนแสดงออกร่วมกันของร่างกายเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ของมนุษย์

 ________________________________________________________________

Gender Equity

Gender Equity การที่ผู้หญิงและผู้ชายแม้มีเพศที่ต่างกัน ก็ได้รับความเป็นธรรมและความยุติธรรมในการเข้าถึงบริการและการใช้ทรัพยากรตามความต้องการและการสนองตอบ ทั้งในด้านครอบครัว ชุมชน และในระดับประเทศกล่าวโดยสรุป Gender Equity เน้นด้านคุณภาพของความเป็นธรรม ความยุติธรรม และสิทธิพึงที่จะได้รับไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

ที่มา www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

 

คำสำคัญ (Tags): #Gender and Sex
หมายเลขบันทึก: 426459เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คำศัพท์และความหมายสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ค้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท