ขอเชิญเข้าร่วมงานเสวนาวิชาการในหัวข้อโซเชียลมีเดีย


KKU มหาวิทยาลัยขอนแก่น Social Media โซเชียลมีเดีย

เนื่องจากปัจจุบันโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลกับสังคมไทยมากและมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นตามลำดับ ในขณะที่โซเชียลมีเดียเปรียบเหมือนดาบสองคม สามารถนำไปใช้ได้ทั้งทางสร้างสรรค์และเป็นโทษ จึงเห็นความสำคัญที่จะต้องทำให้สังคมตระหนักถึงภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในการใช้โซเชียลมีเดียในทางที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ระวัง ตลอดจนส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียในทางสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
ทางศูนย์คอมพิวเตอร์ และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้จัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อโซเชียลมีเดียซึ่งผู้เข้าร่วมงานลงทะเบียนฟรีได้ที่แบบฟอร์มลงทะเบียนงานเสวนาวิชาการในหัวข้อโซเชียลมีเดีย โดยที่มีอาหารว่างและอาหารกลางวันบริการ

งานจัดในวันพุธที่ 2 มีนาคม 2554 เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 2 อาคาร HS05 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยไม่มีการจัดเก็บค่าลงทะเบียน ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียนได้ที่ https://spreadsheets.google.com/ccc?key=0AgG8IisfMPjedFJocUgzUXJSZzZTYmZKdFJUdkQ3cWc&hl=en

ตารางกำหนดการมีดังนี้

8:30-9:00        ลงทะเบียน

9:00-9:15 พิธีเปิดโดยผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มข.(ดร. กิตติ์ เธียรธโนปจัย)

9:15-10:15 การใช้เฟซบุ๊กอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว  https://docs.google.com/present/view?id=dftxjmxh_1080dccxfxhk

10:15-10:30  พักทานอาหารว่าง

10:30-12:00  เสวนากรณีตัวอย่างของการใช้โซเชียลมีเดียในทางที่ไม่เหมาะสม และร่างนโยบายเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียใน สังคมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น https://docs.google.com/present/edit?id=0AUdsO1mqanHlZGMyMmJ3ZGJfMTZmYjMyOXNoZg&hl=en โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว, นายวิทย์ พรหมพิทักษ์กุล และนายกฤษฏิ์ คำตื้อ

12:00-13:00  พักเที่ยง

13:00-14:30  นำเสนอผลงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นในการพัฒนาแอปพลิเคชันของโซเชียลมีเดีย(ดูรายชื่อของผลงานได้ที่ https://docs.google.com/document/pub?id=1DHAgH0VRFV4DpWKZKrKSb_IKPhk5Th5A40BX_VXV2PI)

14:30-14:45  พักทานอาหารว่าง

14:45-16:00  นำเสนอผลงานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโซเชียลมีเดียของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น

  1. W. Krutkam, K. Runapongsa Saikaew, A. Chaosakul, Twitter Accounts Recommendation Based on Folowers and Lists, The 3rd Joint International Information & Communication Technology, Electronic and Electrical Engineering (JICTEE 2010), December 21-24, 2010
  2. A. Bunloet, K. Runapongsa Saikaew, M. Tengrungroj, N. Nalinthutsanai, T. Mungpooklang, P. Dabpookhiew, T. Winkam, N. Arayasilapatorn, A. Premgamone, A. Rattanasiri, A. Chaosakul, Analysis of Facebook Usage by College Students in Thailand, The 25th International Technical Conference on Circuit/Systems, Computers and Communications (ITC-CSCC 2010), Pattaya, Thailand, July 4-7, 2010, pp. 107
  3. K. Runapongsa Saikaew, W. Krutkam, A. Chaosakul, Using Twitter as a Learning and Teaching Tool, Journal of Learning and Teaching Innovation (2010) 7 (1) 1-8. Invited Article
  4. K. Runapongsa Saikaew, M. Chantanaluek, W. Khaodee, M. Tengrunjroj, A. Chaosakul, Facebook Application for Publicizing, Searching, and Analyzing Data, National Conference on Computer Information Technologies 2011 (CIT2011), 26-28 January 2011 

 

 


หมายเลขบันทึก: 426296เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2011 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน คุณกานดา ผมน้องใหม่เพิ่งนำเสนอแนวคิด ผ่านเว็บ http://www.nature-dhama.ob.tc  ฝากข้อคิดเห็นผมบ้างเป็นพระคุณยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท