สหการ


สหการ

 

ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ในบางกรณีอาจอยู่ในรูปแบบของความร่วมมือในการทำกิจกรรม การให้บริการสาธารณะระหว่างท้องถิ่นและท้องถิ่น ซึ่งอยู่ในความสัมพันธ์รูปแบบของ สหการ ดังในหลายประเทศทีนิยมใช้เป็นหลักปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนี้ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

 

รูปแบบสหการ

 

ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ยกตัวอย่าง พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2476 มาตรา 58 ได้กำหนดให้มีรูปแบบลักษณะของความร่วมมือในกิจการภายในเทศบาล ซึ่งอยู่ในรูปของสหการ

 

มาตรา 58 ถ้ากิจการอันใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของเทศบาลทั้งสองแห่งขึ้นไป ที่จะร่วมมือกันให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ก็ให้จัดเป็นองค์การขึ้นเรียกว่า สหการ มีสภาพเป็นทบวงการเมืองและมีกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้แทนของเทศบาลที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย

 

การจัดตั้งสหการไม่ควรจำกัดอยู่ที่เฉพาะเทศบาลเท่านั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นก็ควรจะสร้างความร่วมมือซึ่งกันและกันในการจัดตั้งสหการด้วยเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด ควรมีความร่วมมือกับเทศบาล หรือเทศบาลควรมีความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น

 

ดังนั้น สหการจึงเป็นกิจกรรมความร่วมมือกันอย่างถาวร (Pemanent) ระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป โดยอาจจัดตั้งขึ้นในรูปของการทำสัญญาเป็นนิติบุคคล หรือเป็นคณะกรรมการ ซึ่งได้รับเลือกจากตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ โดยมีหน้าที่ในการดำเนินงานดูแลกิจการที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแล ตรวจสอบ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาคม

 

กระบวนการและขั้นตอนในการก่อตั้งสหการ

1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ประสงค์รวมตัวกัน ต้องทำการตกลงร่วมกัน

 

2.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องขออนุมัติการก่อตั้งในหลักการจากสภาท้องถิ่น ส่วนหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

 

3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ต้องร่วมกันจัดทำรายละเอียด ต่อไปนี้

 

อำนาจหน้าที่ของสหการ

1) กฏเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร โดยเฉพาะจำนวนหรือสัดส่วน ของข้าราชการ หรือบุคลากรที่มาจากแต่ละกรม/กอง

2) ระบุความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร

3)งบประมาณและรายได้ของสหการนั้นๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านการเงินจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายที่เข้าร่วมโครงการ

4) กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสหการ โดยเฉพาะวิธีการจัดหาบุคลากรที่จะมาทำหน้าที่เป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ

5) กระบวนการควบคุมตรวจสอบและการกำกับดูแลต่างๆ

6) กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ัมีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้าร่วมสหการ

 

4.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องขออนุมัติในส่วนของรายละเอียดข้างต้นจากสภาท้องถิ่น ส่วนหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

 

5.ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันส่งข้อเสนอไปยังกระทรวงมหาดไทย

 

6.กระทรวงมหาดไทยจะส่งข้อเสนอต่อไปยังรัฐบาล เพื่อที่จะจัดทำเป็นพระราชกฤษฎีกา และประกาศใช้ในพระราชกิจจานุเบกษา

 

7.ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันเสนอรายชื่อคณะกรรมการบริหารสหการ ต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อทำการอนุมัติ

 

8.กระทรวงมหาดไทยจะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสหการครั้งแรก

 

9.คณะกรรมการบริหารสหการจะแต่งตั้งประธานของคณะกรรมการและดำเนินการประชุม ตลอดจนดำเนินการจัดการบริหารของสหการต่อไปในอนาคต

มีต่อ......

หมายเลขบันทึก: 426057เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2011 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2014 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท