วาเลนไทน์ในความเป็นไทย


การเลียนแบบที่ดีนั้นจะต้องพิจารณาดูแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีจริง

วันวาเลนไทน์คือวันแห่งความรัก ซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาติตะวันตก แต่คนไทยมักจะเลียนแบบวัฒนธรรมของเขาโดยไม่ทราบถึงจุดมุ่งหมายและประวัติความเป็นมา การเลียนแบบที่ดีนั้นจะต้องพิจารณาดูแล้วว่าเป็นสิ้งที่ดีจริง เหมาะกับวัฒนธรรมไทย อยู่บนพื้นฐานของความเป็นไทย

          ความรักของมนุษย์นั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

          1)  ความรักแบบราคะหรือความรักระหว่างเพศ เป็นความรักสามัญของปุถุชน เป็นความรักที่ต้องการหาความสุขใส่ตน ปรารถนาในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสกายของผู้ที่ตนรัก ต้องการยึดถือเป็นของตัว ต้องการเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว เป็นความรักที่ไม่ยั่งยืน

          2)  ความรักแบบเมตตา เป็นความรักอยากให้เขามีความสุข นับเป็นความรักแท้ เป็นความต้องการที่จะให้ความสุขแก่ผู้อื่น ทำให้เกิดความสุขจากการให้

          สังคมมนุษย์จะมีความสุขสงบยั่งยืนได้ จะต้องมีความรักทั้งสองแบบนี้มาเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะจะต้องมีความรักแบบที่สอง คือ ต้องมีความเมตตา กรุณา สังคมจึงจะอยู่ได้

         

หมายเลขบันทึก: 425937เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2011 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีรักเลิศเทิดไท้องค์ “ในหลวง”

อยู่กลางดวงห้วงใจหมายสืบสาน

คือรักชาติมั่นคงดำรงนาน

สอนลูกหลานให้รู้อยู่พอเพียง

 

 

"โอ้เพื่อนรัก วันนี้จะร้องเพลงรัก ให้โลกประจักษ์ ความรักอันยิ่งใหญ่ คำร้องทำนอง เพลงนี้ไม่มีอะไร  เพียงแต่อยากให้คนทั้งโลกรักกัน"

ขอบคุณทุกกำลังใจและความรักที่ให้แก่กันและกันนะคะ สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ

Happy Valentine's Day ค่ะ พี่จีระพา

              เราต้องรู้จักรักตนเองแล้วเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นด้วย ทำให้ใจเรามีความสุข

                        ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ

สวัสดีจ๊ะ  เห็นด้วยกับน้อง โดยเฉพาะความรักแบบที่สอง (โดนใจ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท