กรรมการชุมชน


กรรมการชุมชน

          ปัจจุบันเทศบาลได้จัดตั้งกรรมการชุมชน โดยประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตามแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยให้แนวทางไว้ โดยจัดกลุ่มครอบครัว และผู้นำชุมชนในแต่ละกลุ่ม ให้มีจำนวนโดยรวมที่เหมาะสม ซึ่งพบว่า กลไกดังกล่าวเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพมาก

          อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการทำงานของกรรมการชุมชนเป็นการทำงานแบบอาสาสมัคร โดยยังไม่มีกฏหมายฉบับใดได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ เงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ ให้กับกรรมการชุมชน ทำให้บางคนยังไม่ทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างจริงจัง ดังนี้ กลไกของชุมชนจึงเป็นกลไกที่ยังต้องการ การพัฒนาอีกมากพอควร

บทบาทของกรรมการชุมชน

          ให้ทำหน้าที่ในการสนันสนุนการทำงานของเทศบาล เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาชนกับเทศบาล บทบาทหน้าที่ของกรรมการชุมชนอาจมีหลายประการเช่น

               1) ช่วยในการค้นหา เสนอแนะปัญหาของชุมชน และนำปัญหานั้นเสนอต่อเทศบาล เพื่อจัดทำแผนแก้ไขปรับปรุงในกรณีต่างๆ

               2) ประสานงานระหว่างเทศบาลกับชาวบ้าน โดยนำข้อมูลข่าวสารจากชาวบ้านสู่เทศบาล และนำข้อมูลจากเทศบาลสู่ชาวบ้าน

               3) เป็นตัวแทนชาวบ้านในการรับการสนุบสนุนการดำเนินการต่างๆ จากรัฐ เช่น การบรรเทาสาธารณะภัย การสาธารณสุขพื้นฐาน การส่งเสริมพัฒนาอาชีพ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

               4) เป็นตัวแทนชาวบ้านในการควบคุมดูแลการทำงานของเทศบาลให้ซื่อสัตย์ สุจริต และโปร่งใส

               5) เป็นตัวแทนในการพัฒนาอาชีพให้กับชาวบ้าน

               6) บทบาทอื่นๆ ที่เทศบาลหรือราชการขอความร่วมมือ

การจัดตั้งกรรมการชุมชน

          ควรจัดตั้งขึ้นในอัตรา 10-20 ครอบครัว ต่อกรรมการชุมชน 1 คน สำหรับการแบ่งกลุ่มครอบครัวให้เป็นดุลยพินิจของเทศบาล เทศบาลที่มีประชากรมาก อาจจัดตั้งในอัตรา 20:1 ในทางตรงข้าม เทศบาลที่ครอบครัวไม่มาก อาจจัดตั้งในอัตรา 10:1 ก็ได้ตามความเหมาะสม

          ปัจจุบันการทำงานของกรรมการชุมชนเป็นการทำงานแบบอาสาสมัคร จึงไม่มีเงินเดือน แต่อาจมีสิ่งจูงใจทางอื่น เช่น สิทธิพิเศษในการได้รับการบริการจากเทศบาล หรือสวัสดิการอื่น ที่ทางเทศบาลหรือราชการพอจะให้ได้

มีต่อ......

คำสำคัญ (Tags): #network
หมายเลขบันทึก: 425935เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2011 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2014 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท