การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ (แมลงดี)


การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ (แมลงดี)

ศัตรูธรรมชาติของแมลงในนาข้าวที่สำคัญ ได้แก่ แมลงห้ำ มี 3 ชนิด

  • ด้วงเต่า  -  ปีกเป็นเงา มีสีส้ม สีแดง สีแสด บางชนิดมีจุดหรือแถบสีดำ   ด้วงเต่าเป็นตัวห้ำช่วยกัดกิน เพลี้ยไฟและไข่ รวมทั้งหนอนตัวเล็กๆ ของหนอนกอข้าวและหนอนห่อใบข้าว
  • แมลงปอ  -  เป็นตัวห้ำจับศัตรูข้าวขนาดเล็ก  เช่น ผีเสื้อ  หนอนกอข้าว เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น กินเป็นอาหาร
  • มวนเขียวดูดไข่  -  ลำตัวสีเขียว หัวสีดำ หนวดยาว ปากแหลม ใช้แทงเข้าไปดูด กินของเหลวภายในไข่ เพลี้ยจักจั่น และเพลี้ยกระโดด ที่ฝังตัวอยู่ในกาบใบข้าว ( ทำให้บางครั้งชาวนาเข้าใจผิดคิดว่าแมลงกำลังดูดกินต้นข้าว)

แมลงเบียนมี 3 ชนิด

  • แตนเบียนดรายอินค -  เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นข้าว บางชนิดไม่มีปีก – จับเหยื่อกินเป็นอาหาร
  • แตนเบียนไข่หนอนกอข้าว  -  สีเขียวสะท้อนแสงตัวเมียวางไข่เข้าไปในหนอนกอข้าว ทำให้ไข่เป็นสีดำ และไม่ฟักเป็นตัวหนอน

หน้าที่ของแตนเบียนหนอนกอข้าว  -  ตัวสีดำ ตัวเมียมีอวัยวะวางไข่สำหรับแทงเจาะเข้าไปวางไข่ในลำตัวหนอนกอข้าว ตัวหนอนของแตนเบียนที่โตเต็มที่ จะเจาะผนังลำตัวหนอนกอข้าวออกมาสร้างใยและถ้าเป็นรังหุ้มลำตัวแล้วเข้าดักแด้ภายในรัง หลังจากนั้นจะเจาะรังไข่ออกมาและบินไปทำลายหนอนกอข้าวที่อยู่ใกล้เคียง หนอนกอข้าวที่ถูกแตนเบียนเข้าทำลายจะมีตัวสีเหลืองซีด เคลื่อนไหวช้าไม่กินอาหารและตาย

แมงมุมที่พบในนาข้าว มีหลายชนิด

  • มีบทบาทสำคัญช่วยควบคุมแมลงศัตรูในนาข้าว โดยจับกินผีเสื้อหนอนกอข้าว เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด และมวนศัตรูข้าว

หน้าที่ของสัตว์ปีก

  • เช่น   นกฮูก  นกแสก  เหยี่ยว  พังพอน  และงู  เป็นศัตรูจับกินหนูในนาข้าว

(วัชพืชบนคันนาควรเอาไว้ให้แมลงศัตรูธรรมชาติอยู่อาศัย)

ศัตรูของข้าวและป้องกันกำจัด

ระยะที่ 1 โรคข้าวที่สำคัญ คือ โรคไหม้ (เชื้อรา)

      ลักษณะอาการ  ระยะกล้า  ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลลักษณะคล้ายรูปตากลางแผลสีเทากว้าง 2-5 มม. ยาว 10-15 มม. ถ้าระบาดรุนแรงต้นกล้าข้าวจะแห้งและฟุบตาย

ระยะที่ 2 ระยะแตกกอ พบอาการของโรคบนใบข้อต่อใบ (คอใบ) และข้อลำต้น แผลบนใบมีขนาดใหญ่กว่าระยะกล้าลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อใบมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ ทำให้ใบหลุด

ระยะที่ 3 ระยะออกรวง ถ้าเป็นโรคในระยะต้นกล้าเริ่มออกรวง เมล็ดจะลีบ แต่ถ้าเป็นโรคหลังต้นข้าวออกรวงแล้ว คอรวงจะเป็นแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้รวงข้าวหักง่าย (โรคเน่าคอรวง)

 

ช่วงเวลาระบาด (หน้าหนาว)

  1. อากาศเย็น
  2. มีน้ำค้างบนใบข้าวจนถึงเวลาสายหรือมีหมอกติดต่อกันหลายวัน

     การป้องกันกำจัด

  • ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานเช่น     สุพรรณบุรี 1  ชัยนาท 1  หอมหลองหลวง 1

แพร่ 1   สันป่าตอง 1

 

  • โรคกาบใบแห้ง    (  เชื้อรา )

ลักษณะอาการ    ช่วงระยะแตกกอถึงเก็บเกี่ยว   แผลเกิดที่กาบใบ  ใกล้ระดับน้ำมีสีเขียวปนเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาล แผลอาจขยายใหญ่มากขึ้นและลุกลามขึ้นไปบนกาบใบข้าว และกาบใบธง ใบและกาบใบเหี่ยวและแห้งตาย ถ้าข้าวแตกกอมาก ต้นเบียดกันแน่น โรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น (เบื่อความชื้นสูง)

  • โรคเมล็ดด่าง (เชื้อรา)

ลักษณะอาการ เช่น รวงข้าวด่างดำ เมล็ดมีรอยแผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำลายน้ำตาลสีเทาหรือทั้งเมล็ดบางเมล็ดลีบ และมีสีน้ำตาลดำทำให้ผลผลิตเสียหายมาก

ช่วงเวลาระบาด -  ทุกฤดูการปลูกข้าว  ฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูง มีหมอกจัดติดต่อกันหลายวัน

  • ข้าวที่อ่อนแอกับโรคเมล็ดด่าง

เช่น กข9  สุพรรณบุรี 60  สุพรรณบุรี 90  หอมคลองหลวง 1

-    ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค หากเลือกไม่ได้ให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแช่ปุ๋ยน้ำ พด.2 หรือ พด. 7 จากสมุนไพร

  • โรคขอบใบแห้ง  (เชื้อแบคทีเรีย)

ลักษณะอาการ  ระยะกล้า มีจุดเล็กลักษณะฉ่ำน้ำที่ขอบใบล่างต่อมา 7-10 วัน จุดขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบ ใบแห้งเร็ว ส่วนที่ยังมีสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ถ้าอาการรุนแรงต้นข้าวอาจเหี่ยวตายทั้งต้น

ช่วงเวลาระบาด  -  เมื่อมีฝนตกพรำติดต่อกันหลายวัน ระดับน้ำในนาสูง  หรือเมื่อภาวะน้ำท่วม

การป้องกันกำจัด – ในแปลงที่เป็นโรค ไถกลบตอซังข้าวทันทีหลังเก็บเกี่ยว

     -     ทำลายพืชอาศัย  เช่น ข้าวป่า   หญ้าไซ  เป็นต้น

     -   ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน  เช่น กข7  กข23  สุพรรณบุรี60  สุพรรณบุรี1  สุพรรณบุรี2   หอมคลองหลวง1  หอมสุพรรณ  ปทุมธานี1  สุรินทร์1  แพร่1   สันป่าตอง1

     -   ไม่ระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคสู่แปลงข้างเคียง

  • โรคใบหงิก   (เชื้อไวรัส)

ลักษณะอาการ   ต้นเตี้ย  แคระแกร็น  ใบสีเขียวเข้ม  ใบแคบและสั้นกว่าปกติ  ปลายใบบิดเป็นเกลียว หรือขอบใบแหว่งวิ่น เส้นใบบวมที่หลังใบ และกาบใบข้าวต้นที่เป็นโรคจะออกรวงช้า รวงไม่สมบูรณ์  เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูง

ช่วงเวลาระบาด  -  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นตัวนำโรคมา  มักระบาดหลังจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง

การป้องกันกำจัด

  1. ไถกลบตอซังที่เป็นโรค
  2. ทำลายพืชอาศัยของเชื้อไวรัส   เช่น  ข้าวป่า  ขาเขียด หญ้าข้าวนก  หญ้ารังนก  หญ้าไม้กวาด
  • เพลี้ยไฟ

-   ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็กมีสีดำ

-   ทำลายข้าวโดยดูดกินนำเลี้ยงจากใบข้าว

-   ทำให้ปลายใบแห้ง ขอบใบม้วนเข้าหากัน

-   ถ้าระบาดมากจะทำให้ข้าวตายทั้งแปลง

ช่วงระบาด

-     ระยะต้นกล้า

-     อากาศแล้ง

-     ฝนทิ้งช่วง

การป้องกันและการกำจัด

-     ดูแลแปลงระยะต้นกล้าอย่าให้ข้าวขาดน้ำ

-     เมื่อเกิดการระบาดของเพลี้ยไฟ ให้ไขน้ำให้ท่วมยอดข้าว 1 – 2 วัน

-     แล้วให้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต

  • เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

เป็นแมลงทั้งสองชนิด ชอบบินมาเล่นกับแสงไฟเวลากลางคืนลักษณะการทำลาย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนกอข้าว เป็นพาหะนำโรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าวถ้ามีมากจะทำให้ต้นข้าวแห้งตายทั้งแปลง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเป็นตัวนำโรคใบหงิกมาสู่ข้าวอีกด้วย

  • เพลี้ยจักจั่นสีเขียว

ลักษณะการทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงจากใบข้าว เป็นแมลงพาหะนำโรคใบสีส้มมาสู่ข้าว

  • หนอนห่อใบข้าว

ลักษณะการทำลาย  เป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวหนอนสีเขียวใสปนเหลือง หัวสีน้ำตาลทำลายใบข้าว โดยตัวหนอนจะใช้ใยเหนียวจากปากยึดขอบใบข้าวสองข้างติดกันตามความยาวของใบหุ้มตัวหนอนไว้ และอาศัยแทะกิน ส่วนที่เป็นสีเขียวของใบข้าวถ้าระบาดรุนแรงในระยะตั้งท้องอาจทำให้เมล็ดข้าวลีบ

  • หนอนห่อใบข้าว

ลักษณะการทำลาย  หนอนกอข้าวมี 4 ชนิด  คือ  สีครีม  แถบลาย หัวดำ สีชมพู  หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิด เป็นผีเสื้อกลางคืนชอบเล่นแสงไฟเวลากลางคืนหนอนทั้ง 4 ชนิด ทำลายต้นข้าวเหมือนกัน คือ ตัวหนอนกัดกินภายในลำต้นข้าว ในข้าวที่ยังเล็กหรือข้าวกำลังแตกกอ จะเกิดอาการ ยอดเหี่ยว และแห้งตาย หากหนอนกอทำลายระยะข้าวตั้งท้องทำหรือหลังจากนั้น ทำให้รวงข้าวมีสีขาวเมล็ดลีบทั้งรวง (เรียกว่าข้าวหัวหงอกรวงข้าวที่มีอาการดังกล่าวจะดึงหลุดออกมาได้ง่าย)

  • แมลงสิง

ลักษณะการทำลาย  แมลงสิงเป็นมวนชนิดหนึ่ง ลำตัวเรียวยาว ตัวมีกลิ่นเหม็นฉุน ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร  ด้านบนมีสีน้ำตาล ด้านล่างสีเขียวหนวดยาวเท่ากับลำตัว แมลงสิงทำลายข้าวโดยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าวระยะเป็นน้ำนม  ทำให้เมล็ดลีบหรือไม่สมบูรณ์ ถ้าระบาดมากผลผลิตข้าวจะลดลง แปลงข้าวที่มีแมลงสิงระบาดจะได้กลิ่นเหม็นฉุน

ช่วงเวลาระบาด  ระยะข้าวออกรวงเมล็ดเป็นน้ำนม

การป้องกันกำจัด

-    ใช้สวิงโฉบจับตัวอ่อนและตัวเต็มวัยในนาข้าวที่พบระบาดและนำมาทำลาย

-    ตัวเต็มวัยชอบกินเนื้อเน่า นำเนื้อเน่าแขวนไว้ตามแปลงนาและจับมาทำลาย

-    หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการแพร่พันธุ์

-    เมื่อพบการระบาดมาก ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง

 

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์7
หมายเลขบันทึก: 425802เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2011 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท