เทคนิคการถ่ายภาพแบบต่างๆ(การถ่ายภาพสิ่งก่อสร้าง)


การถ่ายภาพสิ่งก่อสร้าง

            การถ่ายภาพสิ่งก่อสร้างนั้นมีลักษณะใกล้เคียงกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ แตกต่างกันเพียงว่าภาพทิวทัศน์เป็นภาพของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วนภาพส่งก่อสร้างนั้นเป็นภาพของสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ลักษณะของภาพสิ่งก่อสร้างได้แก่ ภาพอาคารสถานที่ต่างๆ ภาพโบราณสถานต่างๆ ภาพอนุสาวรีย์ต่างๆ และพระรูปต่างๆ ตลอดจนงานประติมากรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ต่างๆ 

หลักการถ่ายภาพสิ่งก่อสร้าง

          ในการถ่ายภาพสิ่งก่อสร้างโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็น อาคารสถานที่ โบราณสถาน อนุสาวรีย์ หรือประติมากรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ต่างๆ มีหลักสำคัญในการถ่ายภาพดังนี้
          1.มุมในการถ่ายภาพควรให้ดวงอาทิตย์อยู่ในแนวเฉียงด้านหน้า จะช่วยทำให้เกิดแสงเงาที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้ภาพอาคารสิ่งก่อสร้างมีรูปทรง และให้ความรู้สึกมีความลึกยิ่งขึ้น
          2.ควรใช้เลนส์มุมกว้างช่วย เพื่อให้สามารถเข้าไปถ่ายสิ่งก่อสร้างได้ในระยะใกล้เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน และมีความรู้สึกกว้างใหญ่
          3.การถ่ายภาพสิ่งก่อสร้างสูงๆ โดยทั่วไปมักจะถ่ายจากพื้นดินแหงนกล้องขึ้นให้สามารถเก็บภาพตึก หรืออาคารได้ทั้งหมด จึงทำให้เกิดภาพผิดเพี้ยน (distortion) คือเห็นเส้นขอบตึกเอนลู่เข้าหากันจากฐานไปหายอดตึก ในกรณีนี้อาจแก้ไขโดยหามุมถ่ายในมุมที่สูงขึ้น หรือถ่ายด้วยกล้อง View camera ที่สามารถปรับระนาบของเลนส์ และฟิล์มเพื่อแก้ความผิดเพี้ยนของเลนส์ได้
         4.ควรใช้ฉากหน้า ฉากหลังเพื่อเพิ่มส่วนประกอบของเฟรมเข้าไปเพื่อผลของ perspective ความรู้สึกถึงระยะทาง ขนาดที่แท้จริงของสิ่งก่อสร้าง และสภาพที่ตั้งของสิ่งก่อสร้างนั้นๆ
         นอกจากนี้หลักการถ่ายภาพประการอื่นๆ ก็คล้ายคลึงกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายภาพสิ่งก่อสร้างเป็นการนำเอาวิธีการถ่ายภาพทิวทัศน์มาประยุกต์ใช้ นั้นเอง

http://e-learning.yru.ac.th/e-learning/mod/resource/view.php?inpopup=true&id=1180

หมายเลขบันทึก: 425610เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท