เทคนิคการถ่ายภาพแบบต่างๆ(การถ่ายภาพทิวทัศน์)


เทคนิคการถ่ายภาพแบบต่างๆ

การถ่ายภาพทิวทัศ

ทิวทัศน์ เป็นภาพที่เรามักจะพบมากที่สุด เพราะเป็นความงามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเดินทางท่องเที่ยวไปที่ไหน เราก็จะพบกับธรรมชาติที่สวยสดงดงาม แปลกตาอยู่เสมอ Aperture[?]ไม่ ว่าจะเป็นทิวเขา น้ำตก ท้องทุ่ง แม่น้ำลำธาร หาดทราย สายลม แสงแดด ที่สรรค์สร้างขึ้นเป็นธรรมชาติ ความงามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ต้องบันทึกภาพซ้ำแล้วซ้ำ เล่าอย่างเพลิดเพลินใจ ไม่ว่าจะเป็นกี่ครั้งที่มาเยือน เราสังเกตก็จะพบว่า ภาพทิวทัศน์จะนิยมถ่ายกันมากทั้งในหมู่นักถ่ายภาพสมัครเล่น และมืออาชีพ เพราะสามารถถ่ายได้ง่าย และถ่ายได้ทุกหนทุกแห่งที่เดินทางผ่านไป
ทิวทัศน์ในธรรมชาติที่งดงามมีอยู่มากมาย เมื่อจะถ่ายภาพก็ควรเลือกจุดสนใจหลักหรือองค์ประกอบหลักที่ต้องการเน้นเสีย ก่อน ซึ่งจะทำให้ภาพน่าดู น่าสนใจยิ่งขึ้น
การถ่ายภาพทิวทัศน์อาจเลือกถ่ายภาพในระยะไกล(grand view) หรือทิวทัศน์ในระยะใกล้ (intimate view)ไม่ว่าต้องการบันทึกภาพเป็นแบบใดก็ตาม จะต้องคิดเสียก่อนว่า มีวัตถุประสงค์ต้องการสร้างภาพให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก หรือคุณสมบัติของสถานที่นั้นออกมาอย่างไร โดยพยายามมองหาทางสื่อความหมายออกมาในภาพให้ได้ และควรเลือกมุมกล้องที่คิดว่าเหมาะสม และประการสำคัญรายละเอียดของภาพจะต้องมีความชัดลึกมากที่สุด เพื่อจะได้เก็บรายละเอียดของภาพในทุกบริเวณตามขีดความสามารถของเลนส์ที่ จะบันทึกภาพได้

หลักการถ่ายภาพทิวทัศน์

1. การตั้งหน้ากล้อง (F- stop) ควรตั้งที่ F22, F16, F11 (หน้ากล้องแคบ)
2. ปรับความชัดของภาพ(Focus)ไปที่ระยะ infinity เพื่อให้เกิดความชัดลึกตลอด
3. ตั้งความไวชัตเตอร์ (Shutter speed) ต่ำๆ โดยบางครั้งอาจจะต้องใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ (ถ้าใช้ความเร็วต่ำกว่า 1/30 วินาที)
4. การถ่ายภาพในช่วงเช้า หรือตอนเย็น จะดีกว่าตอนเที่ยงเพราะในการถ่ายภาพตอนเช้า หรือตอนเย็น เป็นการถ่ายภาพในลักษณะตามแสง หรือทวนแสง หากเป็นการถ่ายภาพตามแสงจะได้ความกระจ่างของภาพสูงมาก ทำให้ภาพมีความชัดเจน หากถ่ายภาพทวนแสงก็จะได้ภาพที่มีลักษณะเงาดำ ซึ่งเป็นที่นิยมเช่นกัน
5. ใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่นไก ช่วยทำให้สามารถถ่ายในช่วงเวลาเช้า หรือเย็นที่มีแสงน้อย เพื่อจะให้สามารถถ่ายภาพที่มีความชัดลึก ซึ่งจะต้อง shutter speed ต่ำ ๆ
6. อาจจะใช้แว่นกรองแสง (Filter) ช่วยเพิ่มบรรยากาศ เช่น filter สีเหลือง สีส้ม จะช่วยเพิ่มความเข้มของแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้าได้เป็นอย่างดี filter ND จะช่วยลดแสงแดดจ้าในตอนเที่ยงวันบริเวณชายหาด filter PL ช่วยเพิ่มความเข้มของสีฟ้าของท้องฟ้าให้เป็นสีฟ้าเข้มสวยงามยิ่งขึ้น หรือใช้ตัดแสงสะท้อนของผิวน้ำ อาคาร หรือบนใบไม้
7. การใช้ Foreground จะช่วยให้ภาพมีความชัดลึก เป็นการเพิ่มความรู้สึกของระยะทางใกล้ กลางไกล และสิ่งที่นำมาเป็น foreground ได้ดี เช่น กิ่งไม้ ต้นไม้ กรอบหน้าต่าง กรอบประตู กลุ่มคน ฯลฯ
8. การนำกฎ 3 ส่วน (Rule of third) มาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพนับเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการถ่ายทิวทัศน์ และการถ่ายภาพโดยทั่วไป โดยมีหลักง่ายๆ ว่า การแบ่งเนื้อที่ของภาพออกเป็น 3 ส่วนทั้งแนวตั้งและแนวนอน บริเวณที่เป็นจุดตัดทั้ง 4 จุด เป็นจุดเด่นของภาพ และกำหนดเนื้อที่ของพื้นดินพื้นน้ำ และท้องฟ้าในอัตราส่วน 1:2 หรือ 2: 1 โดยอาจกำหนดให้พื้นดิน พื้นน้ำ 2 ส่วน และให้ท้องฟ้า 1 ส่วน หรือให้พื้นดิน พื้นน้ำ 1 ส่วน และให้ท้องฟ้า 2 ส่วน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดเน้นของเราว่าเราจะเน้นส่วนไหนของภาพ
9. ควรนำผู้คน กลุ่มคนเข้ามาในการประกอบภาพ เพื่อเป็นจุดเด่นของภาพ หรือเพื่อเป็นการเปรียบเทียบขนาดให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในภาพในความใหญ่เล็กกว่ามากน้อยเพียงใด
10. การถ่ายภาพชายทะเล หรือทิวทัศน์ที่มีพื้นน้ำมาประกอบในภาพ มักจะพบปัญหาเรื่องเส้นขอบฟ้าในภาพที่เราถ่ายมักจะเอียง ข้อเตือนใจก่อนกดชัตเตอร์ให้ตรวจสอบ และจัดวางเส้นขอบฟ้าให้อยู่ในแนวระนาบของกล้อง (ในแนวระนาบของจุดโฟกัสของกล้อง) ก็จะได้ภาพออกมาสวยงามสมใจ

http://e-learning.yru.ac.th/e-learning/mod/resource/view.php?inpopup=true&id=1178

 

หมายเลขบันทึก: 425608เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท