วีระศักดิ์
นาย วีระศักดิ์ วีระศักดิ์ ไชยโย

การทำยางพาราแบบพึ่งพาตนเอง


ยางพารา

การทำสวนยางพาราเพื่อพึ่งพาตนเองเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ปลูกสร้างสวนยาง เพื่อเป็นการพื้นฟูธรรมชาติ และเป็นการประยุกต์การทำการเกษตรในแนวทางทฤษฏีใหม่ตามพระราชดำริ อีกทางหนึ่ง
ต้นยางพาราจัดว่าเป็นไม้ป่าประเภทหนึ่ง การปลูกสร้างสวนยางพาราก็เป็นการสร้างป่าอีกรูปแบบหนึ่ง แต่การปลูกพืชชนิดเดียว จะทำให้ขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการปลูกยางพาราแบบยั่งยืน จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูธรรมชาติภายในระบบนิเวศน์สวนยางนั้นๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลและเหมาะสม
วันนี้จึงได้หยิบระบบวนเกษตร ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่มุ่งให้คน สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย และสิ่งไม่มีชีิวิตได้อยู่ร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ

วนเกษตร หมายถึง การทำกิจกรรมหลายๆ อย่างผสมผสานในพื้นที่เดียวกัน พัฒนาขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของที่ดินในชนบท เป็นหลักประกันว่าพื้นที่ในชนบทจะได้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของเกษตรกร คือ ปัจจัย 4 ได้แก่ พืชอาหารผลไม้ ยาสมุนไพร พลังงาน ไม้ใช้สอยสร้างบ้านเรือน และไม้ยืนต้นที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกิดประโยชน์หลายอย่างแบบต่อเนื่อง โดยคงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและสภาพแวดล้อมไว้
นั่นหมายความว่าเรายึดไม้ยางพาราเป็นไม้หลัก(ประธาน) แล้วปลูกพืชเสริมเข้าไปในสวนยางพารา ซึ่งแบ่งได้ 4 ชนิด คือ
1. พืชล้มลุก 2. พืชอายุสั้น ไม้ผล 3. ไม้ยืนต้นหรือไม้ใช้สอย 4. พืชที่เป็นยารักษาโรค
ซึ่งหลักในการพิจารณาทั่วไป จะต้องเลือกปลูกพืชที่มีความสูงของเรือนยอดต่างๆ อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยแบ่งความสูงออเป็น 3 ระดับ
คือ ประเภทต้นสูง เช่น ประดู่ ไม้เคี่ยม พะยอม ไม้สัก เหลียง สะตอ เนียง
ประเภทโตปานกลาง หรือไม้พุ่ม เช่น มะม่วง มะนาว ผักหวาน ชะมวง หรือ เหลียง
ประเภทพืชชั้นล่างที่ทนร่ม เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ สะระแหน่ บัวบก บอน กระชาย ขมิ้น ชะพูล และเห็ด
หรือในแถวยางระหว่างต้นยางพารา อาจปลูกพืชสวนครัวไว้เป็นอาหารก็ได้เช่นกัน
สิ่งที่ต้องคำนึง ต้องเลือกปลูกให้เหมาะสมและเข้ากับระบบนิเวศน์สวนยางพาราได้โดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันแต่พึงพาอาศัยกันและกัน
การเลี้ยงสัตว์ ในระบบวนเกษตรสวนยางพาราควรเลือกเลี้ยงสัตว์บก เช่น วัวนม หมู ไก่ เป็ด และหากจะเลี้ยงสัตว์นำ้ ควรเลี้ยงเฉพาะปลากินพืช เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาทับทิม โดยการขุนท้องร่องในระหว่างแถวยาง โดยขยายให้ระยะระหว่างแถวห่างกว่าปกติ เช่นอาจจะเป็น 10-12เมตร และระยะระหว่างต้นชิดกว่าปกติ เช่น 2.5 เมตร เพื่อให้เหมาะสมกับแรงงาน เงินทุน และพื้นที่ ตลอดจนอาหารบางส่วนที่ได้จากในแปลงพืช เพื่อเป็นรายได้เสริม และเป็น

 

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์7
หมายเลขบันทึก: 425604เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท