วีระศักดิ์
นาย วีระศักดิ์ วีระศักดิ์ ไชยโย

ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อที่ดินทำสวนยางพารา


ยางพารา

ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อที่ดินทำสวนยางพารา

ในหนึ่งครอบครัวหรือหนึ่งชีวิตของคนเราสามารถสร้างสวนยางได้เพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น เพราะสวนยางพารามีอายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี กว่าจะเก็บเงินมาซื้อที่ดินทำสวนยางได้
ด้วยตนเองอายุโดยเฉลี่ยอายุประมาณ 35-45 ปี และสวนยางก็จะหมดอายุขัยเอาตอนเจ้าของ
สวนยางอายุ 65-75 ปี ต่อจากนั้นอยากจะทำสวนอีกสักครั้งก็คงเบื่อหรือไม่มีแรงก็ได้

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่สำคัญ คือต้อง สวนยางพาราแบบมืออาชีพเท่านั้น ทางweb master ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเรียนรู้การสร้างสวนยางพาราจึงจะนำบทความใหม่ๆ
ที่เขียนจากความรู้และประสบการณ์มาเป็นแนวทางในการตัดสินใจสำหรับผู้ที่กำลังเลือกและ
สนใจเป็นเจ้าของสวนยางพาราในอนาคต เพื่อให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่กรีดได้แค่ 3-5 ปี ต้นยางก็ตายเสียแล้วหากคิดจะกลับมาปลูกใหม่ก็คงจะกำลังวังชาพอเนื่องจากอายุมากแล้วและสายเกินแก้ ดังนั้นก่อนที่จะปลูกสร้างสวนยางพาราจะต้องศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนเสียก่อนแล้วจึงตัดสินใจ เพราะการปลูกสร้างสวนยางพารานั้นจะต้องลงแรง และกำลังทรัพย์เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เองดิฉันจึงมีความมุ่งมั่นที่จะให้บุคคลใดก็ตามที่กำลังจะตัดสินใจปลูกสร้างสวนยางพารา
จะต้องเข้าใจในเบื้องต้นเสียก่อนว่ามิใช่เรื่องง่ายหรือยาก บ้างครั้งเห็นคนรอบข้างปลูกยางพาราก็อยากจะปลูกยางพาราตามเขาด้วยหรือ ฮิต ตามเป็นช่วงๆ ยั่งกับแฟชั่นซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวตามคนอื่นหรือคนรอบข้างอาจจะผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงทั้งชีวิต
ฉะนั้นดิฉันจึงให้ท่านที่กำลังตัดสินใจศึกษาให้ละเอียดรอบคอบจากข้อมูล หลายแหล่งข้อมูล

ดังนั้นการสร้างสวนยางก็คงไม่ยากและง่ายเพราะไม่ต้องใช้เทคโนโลยี่สูง เพียงหมั่นเอาใจใส่ก็พอ ที่เห็นจะยากก็ตรงที่จะประคับประคองดูแลสวนยางพารา
ให้มีอายุยาวถึง 30 ปี โดยให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องเพราะปัจจุบันเรื่องภัยธรรมชาติ
หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว เช่น วิกฤตน้ำท่วม ในภาคเหนือ แผ่นดินเคลื่อนตัว หรือเหตุการณ์ต่างๆ ในเร็วๆ นี้ (พ.ศ.2549) บางทีไม่เคยมีน้ำท่วมแต่พอ 3-5 ปีต่อมากลายเป็นที่น้ำท่วมขัง เดิมเป็นป่าอยู่แท้ๆ ต่อมากลายเป็นที่พักผ่อน รีสอร์ท ของคนมีเงิน.... เพราะฉนั้นก่อนจะซื้อที่ดินปลูกสร้างสวนยางจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ อย่าง

ข้อแนะนำในการซื้อที่ดินที่ไม่เหมาะในการปลูกสร้างสวนยาง

1. ที่ดินริมถนนใหญ่ (Roadside Land) เนื่องจากถนนยิ่งถมใหญ่สูงเท่าไร ริมถนนนั้นก็ิย่งถูกน้ำท่วมขังง่ายขึ้นเท่านั้น เพราะถ้าน้ำท่วมขังก็กรีดยางไม่ได้.
2. ที่ดินใกล้แหล่งชุมชน (Community) ด้วยปัจจุบันชุมชนขยายตัวเร็วมาก เห็นได้จากการถมที่สร้างที่พักอาศัยหรืออื่นๆ ซึ่งในบ้างครั้งก็จะถมทางน้ำธรรมชาติเข้าไปด้วย จากนั้นไม่นานก็เกิดน้ำท่วมขังแปลงที่อยู่ข้างๆ บางทีขังเฉพาะเวลาฝนตก หรือตลอดทั้งปี รากแช่คงเน่าแน่นอน.
3. ที่ดินใกล้แหล่งโรงงาน (The Land closed to the Factory) ซึ่งโรงงานบางแห่งปล่อยมลพิษ ทางน้ำ อากาศ เช่นทางอากาศแมลงอาจโดนพิษตกลงมายอดยางเราได้ เป็นต้น.
4. ที่ลุ่ม ที่ดินนา ที่ดินมีน้ำท่วมขัง เพราะมักจะเป็นดินเหนียวระบายน้ำยา ต้นยางพาราไม่ชอบ.

ดังนั้นที่ดินที่เหมาะสม อาจจะเป็นที่ดินเคยเป็นป่ามาก่้อน เช่น ส.ป.ก. (Sor.Por.Kor. Areas)
ที่ดินบนเขา เนิน และต้องเป็นดินซุย และมีความชันไม่เกิน 20 องศา(ถ้าหากสูงกว่านี้ทำให้การกรีดยางไม่สะดวก) และไม่มีน้ำท่วม ดินระบายได้ดี กลางคืนอากาศเย็น น้ำยางไหลดี ผลผลิตจึงสูง แต่อย่าให้มีชัดหินดินดานเพราะขวางการหาอาหาร ทำ้ให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก.
ที่ดินที่เหมาะสมดังกล่าวอาจจะมีแหล่งน้ำ หากช่่วงไหนฝนทิ้งช่วงนานๆ หรือ ปีไหนฝนมาช้า ยางไม่ให้ผลผลิตจะได้ให้น้ำทดแทนน้ำฝนได้ ซึ่งเราอาจมองหาแผนสำรองเผื่อเบื่อปลูกสวนยางพารายังสามารถปลูกพืชผลไม้ได้ เพราะน้ำเป็นหัวใจในการเกษตรค่ะ.

 

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์7
หมายเลขบันทึก: 425602เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท