ส่วนประกอบและการทำงานของกล้องถ่ายภาพพื้นฐาน


ส่วนประกอบและการทำงานของกล้องถ่ายภาพพื้นฐาน

1. ตัวกล้อง (Camera body) ตัวกล้องจะทำหน้าที่เป็นห้องมืดขนาดเล็ก ป้องกันแสงที่ไม่ต้องการเข้าไปภายในกล้อง และยังทำหน้าที่ติดตั้งชิ้นส่วนสำคัญต่างๆ ของกล้องอีกด้วย ภายในกล้องจะฉาบด้วยสีดำ เพื่อป้องกันแสงสะท้อน

2. เลนส์ (Lens) เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากแก้วหรือพลาสติก ซึ่งอาจเป็นเลนส์นูนอันเดียวหรือเป็นชุดประกอบเข้าด้วยกัน ทำหน้าที่รวมแสงและหักเหแสงที่สะท้อนจากวัตถุให้ไปตัดกันเกิดเป็นภาพจริงหัว กลับบนระนาบของฟิล์ม เลนส์ที่ใช้กับกล้องจะแบ่งตามความยาวโฟกัสของเลนส์ ความยาวโฟกัสของเลนส์ก็คือ ระยะจากเลนส์ถึงฟิล์ม เมื่อโฟกัสวัตถุที่ระยะไกลสุด(infinity) เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสต่างกันจะให้มุมของวิวที่ต่างกันไปด้วย

3. ไดอะแฟรม (Diaphragm) เป็นแผ่นโลหะสีดำเล็กๆ หลายๆ แผ่นประกอบกัน ติดตั้งอยู่ระหว่างชุดของเลนส์ ทำหน้าที่เปิดปรับช่องตรงกลางเรียกว่า รูรับแสง (aperture) เพื่อควบคุมปริมาณแสงที่จะผ่านเข้าไปในกล้องได้มากน้อยตามต้องการ โดยมีปุ่มหรือก้านบังคับติดอยู่ที่กรอบกรอบวงแหวนที่กระบอกเลนส์ จะมีตัวเลขบอกค่าปริมาณแสงที่ผ่านเข้ากล้อง เรียกว่า เอฟ นัมเบอร์ (f number) หรือเอฟ สต๊อป (f stop)

4. ชัตเตอร์ (Shutter) เป็นกลไกอัตโนมัติที่ใช้สำหรับเปิด ปิดหน้ากล้องตามเวลาที่กำหนดไว้เพื่อให้แสงผ่านไปปรากฎบนฟิล์มในระยะเวลาที่ ต่างกัน ความเร็วชัตเตอร์ (shutter speed) คือ เวลาที่ฉายแสงลงบนฟิล์ม ชัตเตอร์มี 2 แบบคือ
1. ชัตเตอร์ไดอะแฟรมหรือชัตเตอร์ระหว่างเลนส์ (Diaphragm shutter or Between lens shutter) ชัตเตอร์แบบนี้มีลักษณะเป็นกลีบโลหะเหมือนแผ่นไดอะแฟรมจะทำหน้าที่เป็นทั้ง กำหนดขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์มักเป็นความเร็วที่ตายตัว จะพบในกล้อง Compact ทั่วๆ ไปมีความไวสูงสุด 1/500 วินาที
2. ชัตเตอร์ม่าน (Focal plane shutter) มีลักษณะเป็นม่านสีดำสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 แผ่น อยู่ชิดกับระนาบของฟิล์ม เมื่อกดชัตเตอร์ก็จะวิ่งตามกันจากซ้ายไปขวา หรืกจากบนลงล่าง(ม่านโลหะ) เปิดให้แสงผ่านไปตามเวลาที่กำหนด ชัตเตอร์แบบนี้จะพบในกล้อง SLR ความไวสูงสุดมีค่าสูงถึง 1/2000วินาที หรือ1/4000 วินาทีก็มี

5. ช่องมองภาพ (View finder) เป็นฉากรับภาพที่ผู้ถ่ายมองดูภาพวัตถุผ่านเลนส์ เพื่อช่วยในการปรับภาพและจัดวางองค์ประกอบในภาพถ่ายได้อย่างเหมาะสมและง่าย ขึ้น ในช่องมองภาพจะมองเห็นเครื่องวัดแสงที่เป็นจุดสีเขียว สีแดง ตัวเลขบอกค่าหน้ากล้อง และความเร็วชัตเตอร์

6. เครื่องหาระยะชัด (Range finder) เป็นการปรับภาพที่เห็นในช่องมองภาพให้สัมพันธ์กับเลนส์ถ่ายภาพ ลักษณะการปรับภาพในช่องมองภาพจะขึ้นอยู่กับของกระจกรับภาพ ในกล้อง SLR ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Ground glass focusing จะมองเห็นภาพมีลักษณะเดียวกับภาพที่ปรากฎบนฟิล์ม ถ้าภาพไม่อยู่ในระยะโฟกัสภาพจะเบรอไม่คมชัด เมื่อปรับโฟกัสโดยหมุนที่กระบอกเลนส์จนกระทั่งภาพปรากฎคมชัดที่สุด ก็จะได้ภาพที่ได้ระยะโฟกัสพอดี แบบ Microprism เป็นวงกลมอยู่ตรงกลางเพื่อให้ปรับภาพละเอียดมาก สามารถดูได้ชัดเจนมากขึ้น หรือแบบ Split - Image ในช่องมองภาพจะเห็นภาพถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ถ้าปรับวงแหวนของเลนส์จนกระทั่งส่วนของวัตถุทั้ง 2 ต่อกันสนิทเป็นภาพเดียวกัน ก็จะได้ระยะโฟกัสพอดี หรือแบบแบบ Split - Image อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยแบบ Microprism พื้นกระจกทั่วไปเป็นแบบ ground grass

7. ปุ่มลั่นไกชัตเตอร์ (Shutter release button) ส่วนมากจะอยู่ส่วนบนด้านขวาของกล้อง เมื่อกดปุ่มนี้จะมีกลไกทำให้ชัตเตอร์ทำงานเปิด ปิดตามระยะเวลาที่กำหนดของความเร็วชัตเตอร์

8. วงแหวนหาโฟกัส (Focusing knob) จะอยู่ในตำแหน่งวงแหวนนอกสุดของเลนส์ เป็นการปรับหาระยะชัดของวัตถุ จะมีตัวเลขแสดงระยะของวัตถุ มีหน่วยเป็นฟุตหรือเมตร

12. ฐานเสียบแฟลช (Hot shoe) เป็นช่องสำหรับเสียบฐานแฟลชเข้ากับกล้อง จะมีหมุดสัมผัสระหว่างวงจรในตัวกล้องกับการปล่อยไฟแฟลชโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องต่อเชื่อมสายกับตัวแฟลช

 ส่วนประกอบของกล้อง SLR ระบบ Digital

  • เลนส์- มีหน้าที่รวมแสงจากวัตถุ เพื่อให้ตกลงบนฟิล์มถ่ายภาพ CCD หรือ CMOS ของกล้องได้
  • ตัวกล้อง (Body) - ส่วนใหญ่จะทำจากอะลูมิเนียม หรือ พลาสติกอัดแข็ง เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทาน โดยรูปร่างจะแบ่งออกตามประเภทของกล้อง
  • Image sensor - หรือตัวรับภาพซึ่งมีทั้งแบบฟิล์ม และแบบ Digital โดยแบบ Digital นั้นจะมีอุปกรณ์เช่น CCD, CMOS เป็นตัวรับภาพ ซึ่งทั้งฟิล์มและตัวรับภาพดิจิตอลนั้น จะทำหน้าที่ในการรับแสง โดยฟิล์มจะไปเก็บในรูปแบบปฏิกิริยาเคมีบนเนื้อฟิล์ม ส่วนแบบดิจิตอลจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าและทำหน้าที่ประมวลผลต่อไป CCD และ CMOS ซึ่งทำจาก Silicon ด้วยกันทั้งคู่ ต้นทุนการผลิต CCD จะสูงกว่า แต่ CCD จะมี Noise มากกว่ากว่า CMOS อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ขึ้นกับความสามารถของโปรแกรมของกล้องนั้นๆอีกด้วย บริษัทผู้ผลิตกล้อง ส่วนใหญ่มักจะใช้ CCD จาก Sony ซึ่งมีปัญหาใน CCD บางรุ่น
  • แบตเตอรี่ - แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบตเตอรี่ชนิด Li-ion (ลิเทียม ไอร์ออน) และ NiMH (นิกเกิล เมธัลไฮดราย) ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติเด่นคนละแบบ ซึ่งกล้องขนาดเล็กมักใช้ Li-ion เนื่องจากมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา และเก็บประจุได้มาก ส่วน NiMH มักจะพบในกล้องระดับกลาง และ D-SLR จนถึง SLR เนื่องจาก เก็บประจุไฟได้มาก และสามารถหาเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย (สามารถใช้ แบตเตอรี่ชนิด AA ทดแทนได้)
  • ปุ่มควบคุม - แล้วแต่รุ่นและผู้ผลิต ปุ่มเหล่านี้จะเป็นตัวปรับเปลี่ยนฟังก์ชัน
  • แฟลช - แฟลชจะเป็นตัวเพิ่มแสงในกรณีที่ภาพมืดเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดการสั่นไหวของภาพ แต่การใช้แฟลชจะทำให้ อุณภูมิสีของภาพ เปลี่ยนแปลงไป ในกล้องดิจิตอลคอมแพค จะตั้งค่าแฟลชอัตโนมัติ

http://e-learning.yru.ac.th/e-learning/mod/resource/view.php?inpopup=true&id=1158

หมายเลขบันทึก: 425595เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท