9 E-Leader นวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารมืออาชีพ


นวัตกรรม

                                                 9E-Leader  นวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารมืออาชีพ

9E-Leader  เป็นแนวคิดในการพัฒนาผู้นำทางการศึกษาให้เป็นผู้นำมืออาชีพ หรือผู้บริหารมืออาชีพ ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพจะสร้างครูมืออาชีพ  สร้างผู้เรียนให้เป็นพลโลก  สร้างสังคมโลกให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมสันติสุข   มาเริ่มพัฒนาผู้บริหารการศึกษามืออาชีพด้วย 9E-Leader  ตั้งแต่วันนี้เพราะหากไม่มีผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ  ก็ไม่มีครูมืออาชีพ  ไม่มีนักเรียนที่เป็นพลโลก  สังคมก็จะเป็นสังคมที่ขาดการเรียนรู้และมีแต่ความขัดแย้งไร้สันติสุขโดยสิ้นเชิง[1]  9E- Leader  เกิดจากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอย่างหลากหลายดังกล่าวและนำมาประยุกต์เป็นหลักการมีรายละเอียด 9 ประการดังนี้

     1. Educational Innovator (เป็นนักนวัตกรรมทางการศึกษา) หมายถึง คุณสมบัติของนักบริหารการศึกษาที่สรรหา สร้างสรรและใช้นวัตกรรมในการบริหารการศึกษา  มีคุณสมบัติ เช่น รู้จักการเรียนรู้และแก้ปัญหาพัฒนาการบริหารการศึกษาในระดับองค์กรด้วยปัญญา  เป็นผู้ยอมรับในศาสตร์อื่นๆในฐานะสหวิทยาการ  เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการบริหารการศึกษาขององค์กรเป็นผู้ที่ยอมรับในความเปลี่ยนแปลงที่ดีงามของสังคมไทยและสังคมโลกด้วยวิสัยทัศน์  รู้จักนำความเปลี่ยนแปลงทั้งมวลมาเป็นจุดแข็งและโอกาสในการแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้เจริญ  รุ่งเรือง  รู้จักนำทุกสิ่ง  ทุกจุดบนโลกมาเรียนรู้ [2] เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษาได้อย่างมี  ประสิทธิภาพ 

      2. E- Learning/ Internet/ICT (เป็นผู้เรียน  และสร้างองค์ความรู้ผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์)      หมายถึง เป็นผู้ที่เรียนรู้โดยผ่านสื่ออิเล็คทรอนิคส์(ElectronicLearning)ด้วยการใช้ระบบออนไลน์ (ระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์)ได้อย่างชำนิชำนาญและชาญฉลาด  ตระหนักว่าโลกแห่งอินเตอร์เน็ตสำคัญ อย่างยิ่งต่อการเจริญก้าวหน้าขององค์กรและบุคคลในองค์กร[3]  ใช้เครื่องมือสื่อสารที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต เป็น เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่อง Palm organizer  โทรศัพท์มือถือที่รองรับระบบ GPRS  ฯลฯ ใช้การไหลเวียนของ  ข้อมูลด้วยระบบ E-mail

      3. Educational Action Research  Based   (เป็นผู้ใช้การวิจัยปฏิบัติการทางการศึกษาเป็นฐาน)  หมายถึง  เป็นผู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการทางการศึกษาในการปฏิบัติงาน  ทำงานควบคู่ไปกับ  การวิจัย  หรือวิจัยในสภาพการปฏิบัติงานจริงเพื่อพัฒนางาน เพื่อแก้ปัญหา  หรือพัฒนาทักษะใหม่ๆ  เกิดประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องโดยตรง[4] เช่น  นักเรียน  ครู  ผู้ปกครอง ฯลฯ   โดยต้องมีทักษะในการนิยามปัญหาให้ชัดเจน  ตั้งเป้าหมายได้ถูกต้องเหมาะสม  ศึกษา ค้นคว้าหลักการทฤษฎีมาสนันสนุนหรือมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม    เชื่อถือได้  ตั้งสมมุติฐานหรือวัตถุประสงค์ในการค้นหาความจริงได้ชัดเจน  ออกแบบการวิจัยหรือวางแผนได้ดี มีนวัตกรรมในแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ  ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบ  เก็บข้อมูลตามสภาพจริงได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์  ข้อมูลได้เหมาะสม นำเสนอข้อมูลได้อย่างย่นย่อ   เข้าใจง่าย  ใช้ผลการวิจัยได้จริง   

      4. Emotional Quotient    (มีความฉลาดทางอารมณ์ ) หมายถึง  เป็นผู้ที่มีความสามารถรับรู้      เข้าใจ ประเมินและแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม  สามารถจัดการอารมณ์ของตนเองเพื่อเอื้อต่อการใช้ความคิด  รับรู้ เข้าใจและบริหารจัดการอารมณ์ของผู้อื่นได้  [5]สามารถตรวจทาน  กำกับอารมณ์ของตนเพื่อปรับตนให้เข้ากับบุคลและสถานการณ์ต่างๆได้  สร้างสัมพันธภาพ ติดต่อสื่อความเข้าใจกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีความสามารถในการจูงใจตนเอง  และช่วยเหลือจูงใจผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

      5. Evaluator  (เป็นนักกำกับ  ติดตามและประเมิน) หมายถึง เป็นผู้ที่มีความสามารถในการกำกับติดตามงานที่ได้ทำลงไปแล้วให้บรรลุผลสำเร็จ  รู้ว่ามีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไป  มีข้อมูลย้อนกลับ และสามารถปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิมยิ่งขึ้นไปอีก เป็นบุคคลที่ทำงานรวดเร็วมากแต่ผิดพลาดน้อย Dr.Williem Glasser[6] ได้ศึกษาโรงเรียนที่มีคุณภาพพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความสามารถในการกำกับติดตามและประเมินรวมทั้งกระตุ้นให้ครูประเมินตนเองอยู่เสมอ

      6. Easy  life  (ดำรงชีวิตเรียบง่าย)  หมายถึง   เป็นผู้มีรูปแบบของการ ใช้ชีวิตเรียบง่าย   Easy life or simple life   ไม่โลภมาก ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น  ดำรงชีวิตพอเพียง  กินพอดี  นอนพออิ่ม  พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ทำสมาธิเป็น  นิ่งเป็น  เลิกค่านิยมทั้ง 3 ได้แก่  วัตถุนิยม   ทุนนิยม  และบริโภคนิยม[7]      ทุนทางวัฒนธรรมของเรากำลังได้รับการท้าทายจากวัฒนธรรมบริโภคนิยม และวัตถุนิยม   เป็นยุคแห่งยุทธศาสตร์การจัดการทางสังคมและวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับยุคแห่งยุทธศาสตร์การจัดการทางเศรษฐกิจที่อิงฐานความรู้  นักบริหารมืออาชีพมีความจำเป็นต้องเป็นผู้ดำรงทุนทางสังคมด้วยการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย

7. Ecology (สร้างสมดุลย์กับสิ่งแวดล้อม)หมายถึง  ผู้ที่ตัดสินใจดำเนินการสิ่งใด จะใช้ตัวชี้วัดในด้านการสร้างสมดุลย์กับสิ่งแวดล้อมประกอบการตัดสินใจเสมอ  เพื่อมิให้พัฒนาสิ่งหนึ่งและกระทบสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม  ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้  ดังนั้นการรณณรงค์เพื่อที่จะปรับสภาพ   แวดล้อมที่สูญเสียไปให้ดีขึ้น หรือการอนุรักษ์ไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ยังหลงเหลืออยู่จึงเป็นเรื่องที่ถูกให้ความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน     ตัวอย่างผู้ที่ตัดสินใจโดยยึดสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญได้แก่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ[8]โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการที่จะทำนุบำรุง และปรับปรุงสภาพทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นแทบทั้งสิ้น  ดังนั้นนักบริหารการศึกษา     มืออาชีพจึงจำเป็นต้องสร้างสรรค์ในสิ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

       8. Edification (เป็นคนดีแท้) หมายถึง  เป็นผู้ใช้หลัก  สัปปุริสธรรม 7  ในการดำเนินชีวิต ได้แก่  ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่น รู้จักว่าความสุข เป็นผลแห่งการทำความดี ทุกข์เป็นผลแห่งการทำความชั่ว พยายามแสวงหาแต่ผลดีโดยการทำเหตุที่ดี  อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน  มัตตญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดี กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา  ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบริษัท ประชุมชน และสังคม   ปุคคลปโรปรัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล ว่า บุคคลนี้เป็นคนดี ควรคบ  ผู้นี้เป็นคนไม่ดี ไม่ควรคบ เป็นต้น             

       9. Exporter (เป็นนักขาย) หมายถึง ผู้มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจให้ผู้อื่นซื้อ [9]    (ทำตามที่ผู้ขายประสงค์)  ด้วยความเต็มใจ รู้ว่าใครคือลูกค้าของฉัน   ฉันควรจะผลิตสินค้าหรือบริการอะไรให้กับใคร  เพื่อให้สามารถบรรลุผลสำเร็จ       ผู้บริหารทั้งหลายจึงต้องเป็นนักขาย  คือมีศิลปะ    ในการการจูงใจคน หรือการชักจูงบุคคลในองค์กร   และการสื่อสารภายในองค์กรและภายนอกองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ

        เมื่อพิจารณาความเหมาะสมในการที่จะนำ แนวคิด  9E- Leader   ไปใช้พบว่ามีความเหมาะสมกับ การบริหารใน ยุคโลกาภิวัตน์เป็นอย่างมากตรงตามความประสงค์ของบริบทในการจัดการศึกาในปัจจุบัน  คาดว่าจะสร้างความพึงพอใจได้ในระดับมาก มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นนวัตกรรมการบริหารในระดับชาติ  และระดับโลก ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  และเป็นพลเมืองดีของโลกอย่างแน่นอน 

 

Rreference

 1. Ccarrie Gioudemans “Helping Teacher Learn:Principal Leadership for Adult Growth and Development”    

2. Kathy Schock “Guide for Educatorhttp://school.discovery.com/schrockguide/index.html

3.  www.teachers.on.net/eleader/

4. Conklin, E.J., J.E. Smith, C.L. Hunter, and C.M. Smith, 2003. Developing a Research-Based Management Protocol for the Invasive Alien Alga, Kappaphycus alvarezii, in Hawaii, Hawaii Institute of Marine Biology. http://sgnis.org/publicat/conksmit.htm

5. http://basariyolu.com/eng/genel.asp?durum=acik&id=663

6. Williem Glasser The Quality School” 2nd   expanded ed. (New York:Harper Collin Publisher,1992)

7.Kaye Gibbons “Charms For the easy life” http://www.amazon.com/gp/reader/

8.http://mccweb.agri.cmu.ac.th/mccwwwthai/graduate/Agro723/Reading_Materials/Ecology%20Definition.html

9.Robert Tannenbaum และ Warren Schmidt “How to Choose a Leadership Pattern” Harvard Business Review,51 (1973)

  


 
หมายเลขบันทึก: 425495เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2011 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นี่แหละครับผู้บริหารที่ต้องปรับเปลี่ยน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท