ฉุงฉิง
ณัฐสุดา ฉุงฉิง พึ่งวิรวัฒน์

ข่าวการปรับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพประจำปี 2553


SAR ปี2553

  ปีการศึกษา 2553 มีการปรับเปลี่ยนค่อนข้างมากตามระบบประกันคุณภาพภายในของ สกอ. (Internal Quality Assurance = IQA) และตามการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. (External Quality Assurance = EQA)
1. ตัวบ่งชี้ปรับเปลี่ยน
2. ลดจำนวนตัวบ่งชี้
3. ปรับเกณฑ์เป็น 5 คะแนน และเกณฑ์ยากขึ้น
4. การประเมินคุณภาพภายใน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ + 1 (สถานศึกษา 3 D ) และตามมาตรฐานคุณภาพของ สมศ. ซึ่งแบ่งตัวบ่งชี้เป็น 3 กลุ่ม คือ ตัวบ่งชี้พื้นฐาน อัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริม ซึ่งต้องดำเนินการทุกปี
5. การประเมินคุณภาพภายนอก ประเมินเฉพาะตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานของ สมศ. ประเมิน 5 ปีครั้ง โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดย สมศ.
6. ทุกคณะ/หน่วยงานจัดการเรียนการสอน ต้องกรอกข้อมูล (Common Data Set = CDS) พร้อมหลักฐานเอกสาร และจัดทำ E-SAR ในระบบ CHE QA Online ของ สกอ. ซึ่งสำนักงานประกันคุณภาพจะจัดอบรมให้ทุกหน่วยงานก่อนการจัดทำ SAR  มหาวิทยาลัยไม่ต้องกำหนดรูปแบบการจัดทำ SAR เพราะยึดรูปแบบของ สกอ.
7. คณะกรรมการประเมิน จะประเมินและประธานจะตรวจสอบและสรุปรายงานผลการประเมินให้ สกอ. ทางระบบ CHE QA Online เช่นกัน
8. ทุกคณะ/หน่วยงานจัดการเรียนการสอนและมหาวิทยาลัยส่งรายงานสรุปผลการประเมิน ให้ สกอ. ภายใน 120 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา (ภายใน 30 กันยายน)
              มหาวิทยาลัยไม่ต้องกำหนดรูปแบบของสรุปรายงานผลการประเมินเพราะยึดรูปแบบของ สกอ.
9. มหาวิทยาลัยสรุปรายงานผลการประเมินพร้อมข้อเสนอและกำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำ ร่างแนวทางการพัฒนา/แผนการพัฒนา เสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา และให้ข้อเสนอแนะและนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแผนการพัฒนา และดำเนินการต่อไป
           หมายเหตุ : ระดับคณะดำเนินการเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยโดยนำเสนอกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
10. ในปีการศึกษา 2553 เนื่องจากปรับเปลี่ยนเป็นปีแรกจะยึดตามตัวบ่งชี้ของ สกอ. และ สมศ. เท่ากัน
          ทุกคณะหน่วยงานสามารถดูรายละเอียดตัวบ่งชี้ของ สกอ. ได้จาก website ของสำนักงานประกันคณภาพ
           ส่วนตัวบ่งชี้ของ สมศ. ยังเป็นฉบับร่าง แต่ก็มีหลายตัวบ่งชี้ที่นิ่งแล้ว

หมายเลขบันทึก: 425281เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท