สรุปงานวิจัย และเรื่องที่สนใจ


Knowledge Managementการจัดการความรู้ 
ปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน กำลังอยู่ในกระแสสังคมที่เรียกว่า สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge - based Society and Economy) สังคมดังกล่าวมีแนวคิดที่ว่าความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง การพัฒนาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความเข้มแข็ง จึงเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ ในระบบเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนความรู้เป็นนวัตกรรมโดยอาศัยเทคโนโลยีระดับสูง การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะทำให้สัดส่วนความรู้ที่อยู่ภายในกับภายนอกตัวบุคคลเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีความจำเป็นและความต้องการในการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit knowledge)  ให้มีสภาพกลายเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดเจน (Explicit knowledge) ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำ          ให้สังคมไทยไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน หรือแม้กระทั่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชนต่างให้ความสำคัญกับ การจัดการความรู้           
ความหมาย
การจัดการความรู้หมายถึง ความสามารถในการจัดการความรู้ ประกอบด้วยการสร้างความรู้ การประมวล การแลกเปลี่ยน และการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในหน่วยงาน           
เป้าหมายของ KM
            เป้าหมายประการแรก คือ เพื่อเป็นองค์กรเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และการสร้างและใช้ความรู้ ในการปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ส่วนในแง่ของบุคคลในหน่วยงาน เช่น ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐ ก็จะเป็นข้าราชการเป็นบุคคลเรียนรู้ ควรมีภาวะผู้นำ และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใช้บริการ           
องค์ประกอบของ KM

องค์ประกอบของ KM ที่สำคัญเป็นเรื่องของกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process)องค์ประกอบแรก เป็นทัศนะของการปรับเปลี่ยนมุมมองในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการความรู้ ส่วนหนึ่งคือ ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นที่จะต้องขยายขอบเขตไปยังบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ในด้านต่าง ๆ ในฐานะที่เป็น ผู้สร้างความรู้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานของตน โดยอาจจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ให้เกิดขึ้น และประการที่ 2 เป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางของการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืนสำหรับการฝังรากของการจัดการความรู้ลงในกระบวนการของการดำเนินงาน ทั้งนี้ความสำเร็จดังกล่าวตั้งอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญคือสมองประสานใจนั่นคือ ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพจะต้องมีทัศนะ ความคิดเห็น และความรู้สึกเชิงบวก รวมทั้งมีความมั่นใจและเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

ชื่อเรื่อง :  การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับช่วงชั้นที่ 2
ผู้วิจัย                :  อัจฉรา  สุดสังข์     เทียมจันทร์  พานิชย์ผลินไชย     รัตนะ  บัวสนธ์   
สรุปย่อการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อพัฒนาชุดฝึกการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ระดับช่วงชั้นที่ 2 ซึ่งสามารถนำเสนอขั้นตอน ได้ดังนี้
1.    สำรวจปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับองค์ประกอบทางการอ่านภาษาไทยของครูการศึกษาพิเศษ พบว่าองค์ประกอบด้านการอ่านทุกประเภท ภาพรวมมีปัญหาในระดับมากถึงมากที่สุด ส่วนรูปแบบการนำเสนอของบทอ่าน ภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมาก
2.    การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยนั้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าประสิทธิภาพ 83.11/80.22
3.    การทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านพบว่า นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่ใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านแล้ว มีความสามารถในการอ่านหลังใช้ชุดฝึกสูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึก อย่างมีนัยความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการอ่านสูงกว่านักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่ไม่ได้ใช้ชุดฝึกทักษะการอ่าน อย่างมีนัยความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมการอ่านที่ดี ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเครียดหรือเกร็ง ไม่พบอาการไม่แน่ใจ ไม่มั่นคงทางอารมณ์ มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่หลงตัวอักษร ส่ายหน้า หรือสั่นศีรษะ และจับหนังสืออ่านชิดหน้าจนเกินไป
4.   
การประเมินผลการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยนั้น ครูผู้สอนการศึกษาพิเศษประเมินผลการใช้ชุดฝึกทักษะ ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านผลผลิต ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านกระบวนการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียนที่ใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านแล้ว ประเมินผลภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 42527เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท