สพฐ.เตรียมยกเครื่องการบริหารจัดการ ร.ร.ในสังกัดทั่วประเทศ


จะไม่มีการบังคับให้ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่อาจจะอยู่ในรูปแบบของโรงเรียนขนาดใหญ่ดูแลโรงเรียนขนาดเล็ก

สวัสดีค่ะ  ทุกท่าน

         วันนี้มีเรื่องดี ๆ สำหรับครู สพฐ.ในโรงเรียนขนาดเล็ก มาฝากค่ะ  ใครที่กลัวว่าโรงเรียนจะถูกยุบ  แล้วไม่มีงานทำ  ก็คงหายกังวลไปได้  ลองมาอ่านนะคะ   

 การพัฒนาและปรับทิศทางการบริหารจัดการโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศ ซึ่งที่ประชุมมีการตั้งข้อสังเกตว่าที่ผ่านมา สพฐ.จะทุ่มเททรัพยากรให้โรงเรียนขนาดเล็กจนทำให้ไม่มีงบประมาณที่จะพัฒนา โรงเรียนขนาดกลาง และขนาดใหญ่ได้เพียงพอ ดังนั้นจึงได้มีการวางแนวทางพร้อมแผนการดำเนินการเรื่องนี้ใหม่ให้มีความชัดเจนมากขึ้น

    นอกจากนี้ ได้มีการเตรียมเรื่องการบริหารจัดการการเรียนการสอน โดยเป็นการเตรียมระบบฐานข้อมูลให้เห็นภาพรวมของประชากรในแต่ละทำเล ที่ตั้ง ของโรงเรียนและจะต้องมีการผนวกข้อมูลประชากรลงไปด้วยว่า ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนแต่ละแห่งนั้นมีแนวโน้มการเพิ่มหรือลดของ ประชากรอย่างไร ซึ่งจะมีการจัดทำการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดสรรทรัพยากรที่ตอบสนองต่อความจำเป็นของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ให้เข้มข้นมากขึ้นด้วย  ขณะเดียวกัน โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จะมีระบบจัดสรรงบประมาณให้เกิดความเสมอภาคร่วมกันได้อย่างไรบ้าง โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ของ สพฐ.ช่วยดูแลหลักสูตรในโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อให้ครูได้มีคู่มือในการจัดการเรียนการสอนได้และไม่เป็นภาระ ส่วนสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จะทำหน้าที่คิดค้นรูปแบบของการจัดการ เรียนการสอนใหม่ให้เข้าสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น พร้อมเชื่อมโยงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา (สพท.) ทั้งนี้การดำเนินงานทั้งหมดตนได้ มอบเป็นการบ้านให้แต่ละหน่วยงานใน สพฐ. กลับไปทำเป็นการบ้านและนำมาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้งในสัปดาห์หน้า

     “การปรับระบบการบริหารจัดการของ สพฐ.นั้น ถือเป็นความพยายามที่เราต้องการช่วยให้การปฎิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 เดินหน้าและเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ส่วน   เรื่องการยุบรวมของโรงเรียนขนาดเล็กหรือไม่นั้นจะต้องดูตามความเหมาะสม ซึ่งจะใช้กฎเกณฑ์มาเป็นตัวบังคับให้ยุบหรือเลิกไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องความรู้สึกของคนในชุมชน และการจัดทำโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลนั้นก็เป็นแนวคิดที่จะช่วยให้ โรงเรียนในชุมชนนั้นๆ มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เพื่อเป็นโรงเรียนของชุมชนอย่างแท้จริง และจะไม่มีการบังคับให้ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่อาจจะอยู่ในรูปแบบของโรงเรียนขนาดใหญ่ดูแลโรงเรียนขนาดเล็ก

        

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ 7
หมายเลขบันทึก: 425093เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท