รายงานการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยสงคราม


สรุปรายงานการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยสงคราม

ศูนย์อนามัยที่ ๕ 

ประจำวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

๑.     จัดตั้งทีมเคลื่อนที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 2 ทีม

๒.     จัดเตรียมวัสดุ สารเคมี ชุดทดสอบเฝ้าระวังอาหารและน้ำ  เวชภัณฑ์ที่จำเป็น

๓.  เข้าร่วมประชุมกับคณะผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต ๑๔ เพื่อทราบสถานการณ์และแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่ประสบภัยสงคราม ที่โรงพยาบาลปราสาท

๔.     สำรวจข้อมูลทั่วไปและสถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จุดอพยพ จำนวน ๕ แห่ง

๕.     ให้คำแนะนำด้านการจัดการน้ำดื่มน้ำใช้ การจัดการขยะ สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย จำนวน ๕ เรื่อง/๑๕ ครั้ง

๖.  เก็บตัวอย่างน้ำดื่มวิเคราะห์หาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียด้วยชุดทดสอบ อ๑๑ จำนวน ๑๕ ตัวอย่าง และวิเคราะห์หาคลอรีนอิสระตกค้างในน้ำประปา จำนวนด้วยชุดทดสอบ อ๓๑ จำนวน ๔ตัวอย่าง

๗.     สนับสนุนยาทากันยุง จำนวน ๒ ลัง และเจลล้างมือ จำนวน ๔ ลัง

๘.     เข้าร่วมประชุมสรุปการดำเนินงานในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ที่โรงพยาบาลปราสาท

๙.     สรุปรายงานสถานการณ์ดำเนินงานประจำวัน

 

 การดำเนินงานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสงคราม ณ จุดอพยพ

ประจำวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ 

 

จุดอพยพ 

สถานการณ์ 

ปัญหา

การดำเนินการ

๑. จุดอพยพโรงเรียนบ้านกันทราราม ตำบลกันตรวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

          ผู้อพยพส่วนใหญ่มาจากตำบลกาบเชิง จำนวนประมาณ ๖๓๐ คน ส่วนใหญ่เป็นหญิงและเด็ก โดยได้นำอุปกรณ์เครื่องนุ่งห่มพวก ผ้าห่ม หมอนมาด้วย ทางโรงเรียนได้จัดให้ผู้อพยพนอนให้ห้องเรียนและใต้ถุนของอาคารเรียน ลักษณะการอพยพจะเดินทางมาตอนกลางคืนและเดินทางกลับบ้านในตอนเช้า สถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสรุปได้ดังนี้

          อาหาร: ได้รับการสนับสนุนวัตถุดิบจากเทศบาลตำบลกันตรวจระมวลและชาวบ้านช่วยกันทำอาหารแจกจ่ายแก่ผู้อพยพ ที่ปรุงประกอบอาหารจะใช้เต๊นท์กางและโต๊ะวางวัตถุดิบเพื่อปรุงประกอบอาหาร เช่น ไข่ แตงกวา

          น้ำดื่ม: ได้รับการสนับสนุนน้ำดื่มบรรจุขวดจากโรงพยาบาลปราสาท และในช่วงเย็นได้รถปรับคุณภาพน้ำจากศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเขต ๖ ประจำการเพื่อบริการน้ำดื่มแก่ผู้อพยพ โดยมีรถขนน้ำดิบมาจากประปาส่วนภูมิภาคในเขตเทศบาลตำบลกาบเชิง โดยได้รับการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำจากศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเขต ๖

         น้ำใช้: ใช้น้ำประปาจากก๊อกของโรงเรียนในการปรุงประกอบอาหารและชำระล้างร่างกาย หากไม่พอก็จะใช้น้ำในสระข้างโรงเรียนในการชำระร่างกาย

          ส้วม: ใช้ห้องส้วมของทางโรงเรียนซึ่งมีอยู่จำนวน ๒ จุด รวม ๑๒ ห้อง มีความเพียงพอ

          การจัดการขยะ: มีถังรองรับขยะและเทศบาลมีถุงดำเพื่อรองรับขยะจากผู้อพยพ

   

๑. ผู้อพยพใช้น้ำประปาของทางโรงเรียนส่วนใหญ่แต่ในช่วงที่มีคนเยอะบางคนจะไปใช้ที่สระน้ำข้างโรงเรียน ซึ่งมีความขุ่น

 

๑. แนะนำอาจารย์ให้ผู้อพยพใช้น้ำประปาของทางโรงเรียน

๒. เก็บตัวอย่างน้ำดื่มน้ำใช้ตรวจวิเคราะห์หาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน ๔ ตัวอย่าง

๓. สนับสนุนยาทากันยุง จำนวน ๑ ลัง

๔. สนับสนุนเจลล้างมือ จำนวน ๒ กล่อง

 

จุดอพยพ

สถานการณ์

ปัญหา

การดำเนินการ

 

      

 

 

. จุดอพยพองค์การบริหารส่วนตำบลสะกาต อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

          ผู้อพยพมาจาก ๕ หมู่บ้าน อบต.จัดเตรียมเต็นท์สำหรับผู้อพยพ บริเวณเขต อบต. ส่วนใหญ่เป็นหญิงและเด็ก ผู้อพยพ จำนวนประมาณ ๖๐๐ กว่าคน นำผ้าห่มและหมอนมาเอง    สถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสรุปได้ดังนี้

อาหาร: ได้รับการสนับสนุนวัตถุดิบจากเทศบาลตำบลสะกาตและชาวบ้านช่วยกันทำอาหารแจกจ่ายแก่ผู้อพยพ

          น้ำดื่ม: อบต.สนับสนุนน้ำดื่มบรรจุขวดและยังมีปัญหาน้ำดื่มไม่เพียงพอ จึงได้แนะนำให้ขอรับการสนับสนุนที่โรงพยาบาลปราสาท

          น้ำใช้: ใช้น้ำประปาของ อบต.

          ส้วม: ใช้ห้องส้วมของอบต.

          การจัดการขยะ: เบื้องต้นยังไม่พบปัญหาเรื่องการจัดการขยะ

๑. อบต.สูบน้ำจากสระใส่ในถังน้ำจ่าย  โดยไม่ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ

๒. ปริมาณน้ำดื่มไม่เพียงพอ

๑. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยคลอรีนก่อนที่จะนำน้ำไปบริโภค

๒. แนะนำให้อบต.ขอรับการสนับสนุนน้ำดื่มจากโรงพยาบาลปราสาท

๓. เก็บตัวอย่างน้ำดื่มน้ำใช้เพื่อวิเคราะห์หาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน ๓ ตัวอย่าง

๔. สนับสนุนเจลล้างมือ จำนวน ๒ กล่อง

จุดอพยพ

สถานการณ์

ปัญหา

การดำเนินการ

๓. จุดอพยพโรงเรียนบ้านโคกสะอาด ตำบลคูตัน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

          ผู้อพยพจำนวน ประมาณ ๑๕๐๐ คน จะมาที่ศูนย์อพยพช่วงเย็น โดยทางโรงเรียนได้จัดให้ผู้อพยพพักบนห้องเรียนและใต้ถุนอาคารเรียน โดยผู้อพยพได้นำเครื่องนุ่งห่มมาเอง และเมื่อประมาณ ๑๕. ๐๐ น. ทางผู้อพยพได้ขนข้าวของสัมภาระกลับบ้านเนื่องจากได้รับแจ้งจากคนที่ยังอยู่ในหมู่บ้านว่าสถานการณ์ได้คลื่คลาย และอีกจุดบริเวณใกล้เคียง คือ วัดโคกสะอาดจุดนี้ผู้อพยพได้กลับบ้านหมดแล้ว สถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสรุปได้ ดังนี้

อาหาร: ทางโรงเรียนสนับสนุนอาหารให้สำหรับผู้อพยพ และบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากวัด เช่น ข้าวสาร

          น้ำดื่ม: ได้รับการสนับสนุนน้ำดื่มบรรจุขวดจากวัด

          น้ำใช้: ใช้น้ำประปาบาดาลของโรงเรียนในการปรุงประกอบอาหารและชำระล้างร่างกาย

          ส้วม: ใช้ห้องส้วมของโรงเรียนซึ่งมีอยู่จำนวน ๒ จุด

          การจัดการขยะ: ยังไม่พบปัญหาเรื่องการจัดการขยะ

๑. มีปัญหาน้ำประปาจากประปาหมู่บ้านขุ่นไม่สามารถนำมาให้ผู้อพยพใช้ได้

๒. ปัญหาเรื่องส้วมเริ่มมีกลิ่นเหม็น

๑. ให้คำแนะนำการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาโดยใช้สารส้มแกว่งในน้ำ

๒. แนะนำให้รักษาความสะอาดของห้องส้วม

๓. เก็บตัวอย่างน้ำดื่มวิเคราะห์เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน ๒ ตัวอย่าง  น้ำใช้ ๑ ตัวอย่าง

จุดอพยพ

สถานการณ์

ปัญหา

การดำเนินการ

๔. โรงเรียนบ้านคูตัน

   อ. กาบเชิง จ. สุรินทร์

          ผู้อพยพจำนวนประมาณ ๑,๕๐๐ คน อพยพมาแล้ว ๒ วัน ส่วนใหญ่ทยอยเดินทางมาช่วงเย็น  ทางโรงเรียนได้จัดที่พักให้บริเวณตึกของอาคารเรียน

           อาหาร: อบต. และโรงเรียนสนับสนุน

          น้ำดื่ม: ใช้น้ำจากระบบประปาภูมิภาคในเขตเทศบาลตำบลกาบเชิง  โดยได้รับความอนุเคราะห์รถบรรทุกน้ำจากศูนย์บรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา  เพื่อบรรทุกน้ำจากประปาภูมิภาคของเทศบาลกาบเชิง มาบริการ ทั้งนี้น้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำดื่มได้ผ่านการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการสนับสนุนรถปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มจากศูนย์ป้องกันและบรรเทา

สาธารณภัย เขต ๙ จังหวัดพิษณุโลก

          น้ำใช้:  ใช้น้ำประปาของโรงเรียนในการปรุงประกอบอาหารและชำระล้างร่างกาย  

          ส้วม: ใช้ห้องส้วมของโรงเรียนซึ่งมีอยู่ ๒ จุด รวม ๑๒ ห้อง ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งาน

          การจัดการขยะ:ใช้ถังรองรับขยะซึ่งอยู่ในบริเวณโรงเรียน

๑. ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องการส้วมเคลื่อนที่เนื่องจากส้วมไม่พอใช้

๑. ให้คำแนะนำในการสร้างส้วมชั่วคราว

๒. เก็บตัวอย่างน้ำดื่มน้ำใช้วิเคราะห์หาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน ๒ ตัวอย่าง

๕. ที่ทำการนิคมสร้าง

ตนเองปราสาท2

อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

           มีผู้อพยพประมาณ ๒๐๐ กว่าคน อพยพมาจากอำเภอพนมดงรัก ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก  เจ้าหน้าที่ได้จัดที่พักให้ในห้องประชุม

          อาหาร: สนับสนุนจากที่ทำการนิคมสร้างตนเองปราสาท โดยจัดให้มีที่ปรุงประกอบบริเวณด้านหลังของอาคารที่ทำการฯ

น้ำดื่ม: น้ำดื่มบรรจุขวดที่ได้รับการบริจาค

          น้ำใช้: ใช้น้ำประปาจากที่ทำการนิคมสร้างตนเองปราสาทในการปรุงประกอบอาหาร และชำระล้างร่างกาย

          ส้วม: ใช้ห้องส้วมของที่ทำการนิคมสร้างตนเองปราสาท

          การจัดการขยะ: มีถังรองรับขยะของหน่วยงาน

๑. ปัญหาน้ำขังโดยรอบ

๒. ปัญหาเรื่องยุงกัด

๑. แนะนำให้ขุดร่องระบายน้ำให้น้ำระบาย

๒. สนับสนุนยาทากันยุงให้กับผู้ดูแล

๓. เก็บตัวอย่างน้ำดื่มวิเคราะห์หาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน ๑ ตัวอย่าง

 

      

หมายเลขบันทึก: 425083เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท