เก็บตกเล่าความเรื่องของ"มะนาว..."


มะนาวเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี แต่ปัญหาคือจะมีผลผลิตน้อยในช่วงฤดูแล้ง และให้ผล

 

ผลิตมากล้นตลาดในช่วงฤดูฝน ส่งผลกระทบต่อราคาผลผลิตเป็นอย่างมาก เกิดเป็นปัญหาวิกฤตมะนาว ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้หาแนวทางและดำเนินการแก้ปัญหาแบบครบวงจร (package) ตั้งแต่เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู การยืดอายุการเก็บรักษาและการแปรรูปโดยจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่แก่เกษตรกร ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนผลการดำเนินงาน

 แนะนำอาชีพเกษตร : โครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการเพาะปลูกมะนาวนอกฤดูกาล และการแปรรูปมะนาวครบวงจร
1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดู ได้จัดสร้างโรงเรือนหลังคาพลาสติก
ขนาด 18×18 ตารางเมตร พร้อมระบบน้ำจำนวน 1 หลัง สำหรับสวนมะนาวต้นแบบ และจัดทำหนังสือคู่มือ ? เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู? จำนวน 4,000 เล่ม เพื่อใช้ในกาสาธิตฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยได้ทำการฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว นักวิชาการเกษตรและผู้สนใจไปแล้ว 8 รุ่น รวมทั้งสิ้น 560 คน ขณะเดียวกันมีการติดตามการนำเทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดูที่เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการให้คำแนะนำในวิธีการปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการผลิตมะนาวนอกฤดู
2. การหาแนวทางยืดอายุการเก็บมะนาวได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ได้พัฒนาสารเคลือบผิว
ช่วยชะลอการเสื่อมเสีย สารเคลือบผิวที่ใช้เป็นสารละลายผสมระหว่าง star-fresh กับ gibberellic acidและ star-fresh กับ glucomannan ทั้งสองวิธีสามารถยืดอายุการเก็บมะนาวที่อุณหภูมิห้องจาก 1สัปดาห์เป็น 3-5 สัปดาห์

3. การถนอมน้ำมะนาวสด จากการศึกษาพบว่า การลวกผลมะนาวก่อนนำมาคั้นน้ำจะได้น้ำมะนาวที่มีคุณภาพดีกว่าน้ำมะนาวซึ่งคั้นจากผลมะนาวที่ไม่ผ่านการลวก จากนั้นนำมาพาสเจอไรซ์ที่อุณหภูมิ 85?C เป็นเวลา 30 วินาที และเติมสารจับโลหะ SHMP เข้มข้นร้อยละ 0.7 ซึ่งยังคงคุณภาพของน้ำมะนาวให้ใกล้เคียงกับน้ำมะนาวสดที่สุด โดยไม่พบการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์เป็นเวลา 6-7 สัปดาห์นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมะนาวที่เติมกรดอะมิโนซีสเตอีนความเข้มข้น 20 มิลลิโมล สามารถลดการเกิดสีน้ำตาลและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และกายภาพได้ดีกว่า KMS เมื่อนำไปทดสอบตลาด พบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับน้ำมะนาวที่ทดลองเป็นอย่างดี

4. การแปรรูปน้ำมะนาวสดเป็นน้ำมะนาวเข้มข้น โดยการนำน้ำมะนาวสดมาทำการระเหยน้ำออกประมาณ 50-60% แล้วเติมสาร antioxidants, stabilizers สารน้ำตาลโมเลกุลใหญ่, สารกันบูดก่อนจะบรรจุในถุง aluminium foil ที่อุณหภูมิ 5-10?C วิธีนี้จะเก็บรักษาน้ำมะนาวได้นาน 1 ปี การวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาวิธีการผลิตเพื่อให้สามารถเก็บรักษาน้ำมะนาวเข้มข้นได้นาน 1 ปี ที่อุณหภูมิ 25?C สำหรับสภาพพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลไฟฟ้า

85l P19770121 01 b แนะนำอาชีพเกษตร : โครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการเพาะปลูกมะนาวนอกฤดูกาล และการแปรรูปมะนาวครบวงจร
5. การผลิตมะนาวผง ได้พัฒนากรรมวิธีการผลิตมะนาวผงที่มีคุณภาพและเก็บรักษาได้นานเป็นมะนาวผงสีขาว ละลายน้ำให้สีเหมือนมะนาวสด กำลังผลิตในระดับอุตสาหกรรมสามารถผลิตได้จากการเตรียมน้ำมะนาว 160 ลิตร ผลิตมะนาวผงได้ 32.6 กก. กำลังการผลิต 1.65 กก. ต่อ ชม. เก็บได้นาน
6 เดือน ถึง 1 ปี และกำลังอยู่ระหว่างการร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาระดับอุตสาหกรรมต่อไป

6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะนาว ได้จัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยจัดให้แก่

(1) กลุ่มเกษตรกร แม่บ้าน ณ แหล่งปลูกมะนาว เน้นวิธีการผลิตและการปฏิบัติ

(2) กลุ่มเจ้าหน้าที่เคหะกิจเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรท้องถิ่นต่อไป 

(3) กลุ่มผู้ประกอบการหรือผู้สนใจทั่วไป การทำน้ำมะนาวพร้อมดื่ม ไอศกรีมมะนาว เยลลี่มะนาว (ซึ่งทำให้เกิดเจลด้วยคาร์ราจีแนน) และการตรวจสอบค่าทางด้านเคมี กายภาพและจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังได้ทดลองทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ได้แก่ มะนาวดอง มะนาวแช่อิ่ม ทอฟฟี่มะนาว มะนาวแก้ว แยมผิวมะนาว (มาร์มาเลด) ซอสพริกมะนาวดอง และเปลือกมะนาวสามรส

โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะนาวแบบง่าย ๆ นี้ แก่กลุ่มแม่บ้าน ณ สหกรณ์การเกษตรบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และกลุ่มแม่บ้านเคหะกิจการเกษตร จ.ราชบุรี ซึ่งกลุ่มแม่บ้านทั้งสองจังหวัดได้ทำผลิตภัณฑ์จากมะนาวขายส่งเสริมรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษา ค้นคว้าการแปรรูปมะนาวดองโดยใช้มะนาวที่มีผิวเหลือง ดองโดยลวกน้ำร้อนก่อนจะ shock ด้วยน้ำเย็น เพื่อลดระยะเวลาในการดองทดสอบที่ระดับความเค็มต่าง ๆ กัน ผลจากการทดลองสามารถขยายขอบเขตการ
ถ่ายทอดให้กับกลุ่มแม่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและเจ้าหน้าที่เคหะกิจเกษตรจังหวัดนครปฐม รวมทั้งการค้นคว้าทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ และพัฒนาการทำน้ำมะนาวพร้อมดื่มบรรจุขวดพลาสติก โดยมีการฆ่าเชื้อแบบพาสเจอไรซ์ให้สามารถยืดอายุการเก็บไว้ได้อีกระยะหนึ่ง

7. การผลิตน้ำมันหอมระเหย จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะผลิตน้ำมันหอมระเหยจากมะนาวไทย (lime oil) ในระดับอุตสาหกรรมย่อย เช่น การสกัดน้ำมันหอมระเหย ในโครงการนี้ใช้เครื่องกลั่น ขนาดความจุ 20 ลิตร ออกแบบโดยอาศัยหลักการของการสกัดด้วยไอน้ำจัดสร้างขึ้นเป็นเครื่องต้นแบบของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก ราคาประหยัดซึ่งได้ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร เมื่อ24 กรกฎาคม 2543 (เลขที่คำขอ 0003000332) และได้รับอนุมัติแล้วหมายเลขอนุสิทธิบัตรเลขที่ 354

จากการเปรียบเทียบคุณภาพของน้ำมันหอมระเหยของมะนาวไทยกับต่างประเทศ พบว่ามีน้ำมันหอมระเหยของไทยมีคุณภาพดีกว่าน้ำมันหอมระเหยจากต่างประเทศ ในการทดลองกลั่นที่สภาวะต่าง ๆ พบว่าการกลั่นที่อุณหภูมิ 125-135?C ความดัน 40 psi ให้ผลผลิตสูงสุดคือ 1.97% ต่อน้ำหนักสด แต่การกลั่นที่ให้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพและปริมาณที่น่าพอใจ คือ ที่อุณหภูมิ 120-130?C ความดัน 33psi และพบอีกด้วยว่า น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากผิวของผลสดของมะนาวพันธุ์แป้นสีเขียวที่แก่จัดมีกลิ่นหอม
และคุณภาพดีที่สุด ทางเลือกอีกทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตมะนาว คือ การพัฒนาผลผลิตน้ำมะนาวหอมระเหยจากมะนาวไปเป็นผลิตภัณฑ์ในขั้นที่สอง คือ
ผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ เช่น สบู่ชนิดก้อน สบู่เหลว สบู่เจล โลชั่น และผลิตภัณฑ์ปรับอากาศ ซึ่งคณะผู้วิจัยอยู่ระหว่างการพัฒนาสูตรของผลิตภัณฑ์ให้เกิดความคงตัวเทคโนโลยีในเรื่องนี้ได้รับการเผยแพร่และถ่ายทอดโดยการจัดอบรมแก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และเกษตรกรชาวสวนมะนาว จ.เพชรบุรี และประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ

8. การพัฒนาเครื่องคั้นน้ำมะนาว เป็นเครื่องจักรกลอย่างง่าย ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมแปรรูปมะนาวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากเครื่องคั้นน้ำมะนาวมีความสามารถในการทำงานรวดเร็วกว่าการบีบคั้นด้วยมือมาก คือ มีอัตราการทำงานเฉลี่ย 4,600 ผล
ต่อชั่วโมง สามารถบีบแยกน้ำมะนาวออกจากผลได้คิดเป็นประมาณ 80% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการบีบคั้นด้วยมือ

9. การวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตมะนาวผง น้ำมะนาวเข้มข้น และมะนาวปรุงรสเข้มข้นแช่แข็งจากการวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตมะนาวผง พบว่าต้นทุนการผลิตมะนาวผงของนักวิจัยในโครงการสามารถทำการผลิตโดยมีต้นทุนต่ำ สามารถนำไปผลิตเป็นการค้าได้ การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตน้ำมะนาวเข้มข้น พบว่าต้นทุนการผลิตเองในโครงการค่อนข้างสูง โอกาสผลิตเพื่อการค้าจึงมีน้อย การวิเคราะห์ต้นทุน
การผลิตน้ำมะนาวปรุงรสเข้มข้นแช่แข็ง พบว่าเหมาะสมต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรมครัวเรือน และการแปรรูปเป็นน้ำมะนาวพร้อมดื่ม หรือไอศกรีมหวานเย็นต่อไป การศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์นี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

แหล่งที่มาของข้อมูล Mr.Keajon

หมายเลขบันทึก: 425014เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท