แอกเซสกริด : ทางเลือกใหม่ของการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา


เทคโนโลยี Grid computing เจริญเติบโตมาจากงานวิจัยเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ การสนับสนุน ความจำเป็นสำหรับการศึกษาและการพัฒนาการฝึกอบรม ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าของ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคมเทคโนโลยี Grid computing เป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกัน เพื่อการพัฒนาสื่อและการส่งความรู้ ในปัจจุบันเทคโนโลยี Grid computing กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยที่จะเน้นไปที่การแบ่งปันทรัพยากรในการประมวลผลในระดับใหญ่ (largescale resource sharing) เพื่อที่จะรองรับการประมวลผลที่ต้องการประสิทธิภาพในการคำนวณสูง (High Performance Computing : HPC) แอกเซสกริด (Access Grid : AG) เป็นเทคโนโลยีประยุกต์ประเภทหนึ่งของเทคโนโลยี Gridcomputing ที่ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประชุมทางไกล ที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมหลายกลุ่มจากหลายสถานที่พร้อมกัน โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับแอกเซสกริด ประวัติความเป็นมาบทบาท ประโยชน์ คุณสมบัติ ข้อดีของแอกเซสกริดเมื่อเทียบกับการประชุมทางไกล รูปแบบของการใช้งานแอกเซสกริด การใช้งานแอกเซสกริดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลหรือโน้ตบุ๊ค การใช้งานระบบ แอกเซสกริดแอกเซสกริดกับการเรียนการสอน ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ประโยชน์จากแอกเซสกริดในต่างประเทศ แหล่งข้อมูลสำคัญที่พัฒนาแอกเซสกริดในประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานและเป็นการกระตุ้นให้มีการนำแอกเซสกริดมาใช้เพื่อพัฒนาความร่วมมือกันของสถาบันการศึกษาและองค์กรอื่นๆ แอกเซสกริดคืออะไร แอกเซสกริดเป็นระบบการประชุมทางไกลของกลุ่มบุคคลหรือบุคคลที่ใช้สนับสนุนการมีปฏิสัมพันธ์กัโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แอกเซสกริดสามารถแสดงภาพแบบมัลติมีเดีย มีระบบเสียงแบบหลายจุด ใช้กล้องถ่ายวีดิทัศน์ได้หลายตัวพร้อมกัน และสามารถแบ่งปัน ถ่ายโอนข้อมูล ถามตอบ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมกับผู้นำเสนอได้อย่างง่ายและสะดวกแอกเซสกริดยังสนับสนุนการประชุมที่มีขนาดใหญ่หลายสถานที่พร้อมกันทั้งที่อยู่ในประเทศเดียวกันหรือต่างประเทศเพื่อการทำ งานร่วมกัน การสัมมนาการบรรยาย การเรียนการสอนและการฝึกอบรมแอกเซสกริดได้ถูกออกแบบสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่ม (group-to-group) ซึ่งจะแตกต่างจากการใช้แอกเซสกริดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลหรือโน๊ตบุ๊คที่เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ด้วยเหตุนี้การจัดสภาพแวดล้อมของการประชุมจึงสามารถจัดได้ทั้งแบบทางการและไม่ทางการได้ โหนดแอกเซสกริดได้ถูกออกแบบที่ประกอบด้วยระบบเสียงคุณภาพสูงและเทคโนโลยีที่ให้ภาพคุณภาพสูงเช่นกันในปัจจุบันได้มีโหนดของแอกเซสกริดเกิดขึ้นมากมายนับร้อยในอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และมากกว่า 20 ไซด์เป็นองค์กรระหว่างประเทศ แอกเซสกริด เป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มบุคคลหรือบุคคล ทั่วไปในสถานที่ทำงานต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างความสะดวกในประเทศ และต่างประเทศ ข้อมูลต่างๆสามารถแชร์/โอนย้ายกันได้ง่ายและสะดวก เช่น ข้อมูล(Data) URL (Browser) โปรแกรมนำเสนออย่าง Powerpoint CAI และคำถาม (Question Tool) แอกเซสกริดจะมีลักษณะคล้ายกับระบบการประชุมทางไกล (videoconferencing)แต่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้มากกว่าเนื่องจากว่าแอกเซสกริดง่ายที่บุคคลในแต่ละสถานที่จะเข้าร่วมได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นแอกเซสกริดยังเป็นบริการที่ให้ฟรีสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ บทบาทของแอกเซสกริด จากการเพิ่มปริมาณหรือความต้องการในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคล องค์กรในสถานที่ต่างๆและด้วยความเจริญก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม การติดต่อสื่อสารกันด้วยภาพและเสียงจึงเป็นสิ่งจำเป็นของการดำเนินงาน ในปัจจุบันเราจึงสามารถใช้แอกเซสกริดเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้เพราะแอกเซสกริดเป็นมัลติแคสที่สามารถแสดงภาพขนาดใหญ่ โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ด้วยภาพและเสียงเสมือนอยู่ในห้องเดียวกันแอกเซสกริดอาจจะเป็นรูปแบบของการประชุมทางไกลในยุคถัดไป โดยผู้ประดิษฐ์คิดค้นแอกเซสกริดของArgonne National Laboratory ได้ทดลองใช้เทคโนโลยีแอกเซสกริดเพื่อสนับสนุนการประชุม ทางไกลของสมาชิกที่มาเข้าร่วมประชุมกันแบบเผชิญหน้า โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้อุปกรณ์ของแอกเซสกริดในการทำงาน หรือการประชุมกันตามปกติ แอกเซสกริด เป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบหลายทางด้วยมัลติมีเดียที่สามารถแสดง ภาพขนาดใหญ่ โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ด้วยภาพและเสียงเสมือนอยู่ในห้องเดียวกัน ซึ่งแอกเซสกริดใช้เป็นเครื่องมือในสนับสนุนการประชุมระหว่างกลุ่มที่อยู่กันคนละสถานที่ เช่นการประชุม การทำ งานร่วมกัน การสัมมนา การบรรยาย การเรียนการสอนและการฝึกอบรมซึ่งแอกเซสกริดเป็นการ สื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่ที่แตกต่างจากการสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันเป็นรายบุคคลในปัจจุบันมีองค์กรที่ใช้แอกเซสกริดอยู่ใน 47ประเทศ แต่ละองค์กรจะมี node หรือมากกว่า 1 node หรือเรียกว่า "designed spaces" ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีด้านเสียงและภาพที่มีคุณภาพสูงโดยแต่ละ node จะร่วมกันวิจัยเพื่อพัฒนาการกระจายข้อมูลและภาพสำหรับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันเสมือนอยู่ในสภาพเดียวกัน บทบาทของแอกเซสกริด จากการเพิ่มปริมาณหรือความต้องการในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคล องค์กรในสถานที่ต่างๆและด้วยความเจริญก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม การติดต่อสื่อสารกันด้วยภาพและเสียงจึงเป็นสิ่งจำเป็นของการดำเนินงาน ในปัจจุบันเราจึงสามารถใช้แอกเซสกริดเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้เพราะแอกเซสกริดเป็นมัลติแคสที่สามารถแสดงภาพขนาดใหญ่ โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ด้วยภาพและเสียงเสมือนอยู่ในห้องเดียวกันแอกเซสกริดอาจจะเป็นรูปแบบของการประชุมทางไกลในยุคถัดไป โดยผู้ประดิษฐ์คิดค้นแอกเซสกริดของArgonne National Laboratory ได้ทดลองใช้เทคโนโลยีแอกเซสกริดเพื่อสนับสนุนการประชุม ทางไกลของสมาชิกที่มาเข้าร่วมประชุมกันแบบเผชิญหน้า โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้อุปกรณ์ของแอกเซสกริดในการทำงาน หรือการประชุมกันตามปกติการประชุมทางไกลด้วยแอกเซสกริด ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์ โต้ตอบกันได้เป็นการสื่อสารที่ทำให้เกิดกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกัน หรือกลุ่มทำงานมาตัดสินใจร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถที่จะส่งไฟล์ข้อมูลสำหรับการอภิปรายกันได้ตามเวลาจริง

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 424936เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2011 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท