ที่มาของนวัตกรรม


นวัตกรรมคืออะไร มาจากไหน

     การเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา นวัตกรรมที่เกิดขึ้นบางครั้งไม่ได้เกิดจากความตั้งใจให้เกิด เป็นเรื่องที่สอนกันไม่ได้เรียนรู้กันไม่ได้  เช่นเดียวกับคนที่เป็นอัจฉริยะในบางเรื่องไม่สามารถบอกใครๆ ได้ว่าเหตุผลใด ตนเองจึงมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆไม่จำเป็นที่คนที่เป็นอัจฉริยะจะเป็นผู้สร้างนวัตกรรมขึ้นมาในโลกนี้เท่านั้น  คนธรรมดาก็สามารถสร้างได้  เพราะความคิดของแต่ละคนจะมีภูมิปัญญาที่มีแนวคิดแตกต่างกันไปดังนั้นนวัตกรรมของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกันและแตกต่างกันไป

     นวัตกรรมอาจเกิดจากบุคลากรระดับบนลงล่าง TDI (Top down Innovation) หรือจากระดับล่างขึ้นบน BUI (ฺBottom up Innovation)  ก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะนี้มีข้อดีและข้อเสียดังนี้        

     นวัตกรรมจากบนลงล่าง  (TDI)

     ข้อดี  -ผู้ที่คิดขึ้นมาเป็นกลุ่มผู้มีอำนาจในองค์กร -สามารถอธิบายแนวความคิดให้กับบุคลากรระดับล่างได้ง่าย-สามารถจัดเงินทุนและทรัพยากรอื่นๆ ได้ง่าย  

     ข้อเสีย -บุคลากรระดับล่าง ไม่มีส่วนร่วมในการคิด -การสรรหาทรัพยากรต่างๆทำได้ยาก

     นวัตกรรมจากล่างขึ้นบน (BUI)

     ข้อดี  -สามารถเกิดจากบุคคลที่หลากหลาย และเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ชอบการเปลี่ยนแปลง -บุคลากรระดับล่างมีส่วนร่วมมากขึ้น   

     ข้อเสีย - ขาดแรงจูงใจ  ถ้าคิดแล้วไม่นำไปใช้    

     ปีเตอร์ ดรักเกอร์  ได้กล่้าวไ้ว้เกี่ยวกับ  นวัตกรรม ในหนังสือ The Essential Drucker เขาได้เขียนถึงกลยุทธ์ 4 ประเด็นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างนวัตกรรม ดังนี้ 1.ต้องเป็นคนแรก  และตั้งเป้าไว้ที่ตำแหน่งผู้นำตลาด 2.เป็นนักเลียนแบบที่สร้างสรรค์  ในกรณีที่คิดเองไม่ได้ 3.ค้นหาและเตรียมบุคลากรที่เชี่ยวชาญในตลาดเฉพาะกลุ่ม 4.กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงบุคลิกของสินค้า การตลาด รวมถึงองค์กร  

     นอกจากนี้ ดรักเกอร์  ยังได้เขียนถึงหลักของ ผู้ประกอบการพึงกระทำ (Dos) และสิ่งที่ไม่พึงกระทำ (Donts) ดังต่อไปนี้    

     สิ่งที่พึงปฏิบัติ (Dos) 1.แหล่งที่มาของโอกาส เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์แหล่งที่มาได้แก่ 1.1 ความสำเร็จและความล้มเหลวที่ไม่คาิดคิดมาก่อนของตัวองค์กรและบริษัทคู่แข่ง 1.2 ความไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะในกระบวนการประดิษฐ์คิดค้น  1.3 การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างอุตสาหกรรมและโครงสร้างการตลาด  1.4 สถิติประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป   1.5 การเปลี่ยนแปลงในความหมายและการรับรู้ และความรู้ใหม่ๆ  2.สัมผัสความเป็นจริง ออกไปสังเกต ไต่ถาม  และรับฟัง  3.ต้องใช้ง่าย  มีความเป็นธรรมดาสามัญ 4.เริ่มจากเล็กๆ เป็นนวัตกรรมที่ต้องการเงินทุนไม่มาก  และให้เน้นไปที่ตลาดขนาดเล็กก่อน  5.เป็นผู้นำ  ข้อนี้สำคัญ  หากนวัตกรรมไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อที่จะเป็นผู้นำตั้งแต่เริ่มแรกแล้วก็จะดูเหมือนว่าจะไม่ได้เป็นสิ่้งประดิษฐ์ หรือความคิดที่ใหม่เพียงพอ  

      สิ่งที่ไม่พึงกระทำ (Donts) 1.พยายามไม่ฉลาด  นวัตกรรมใดๆ ก็ตามที่ดูฉลาดเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหรือการนำไปใช้ สิ่งเหล่านั้นมักมีแนวโน้มที่จะประสบความล้มเหลว  2.อย่าพยายามทำหลายๆ สิ่งในเวลาเดียวกัน ควรมุ่งความสนใจไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แ่ก่นของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องเป็นเทคโนโลยีหรือความรู้ที่ยิ่งใหญ่ การคิดค้นใหม่ๆ เรื่องหนึ่งต้องการความเป็นหนึ่งของผลงาน 3.พยายามคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่ออนาคต ควรสร้างนวัตกรรมเพื่อปัจจุบันเท่านั้น สิ่่งประดิษฐ์ใหม่ๆ อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะเริ่มมีผลสะท้อนกลับ

      เงื่อนไข 3 ประการต่อความสำเร็จของนวัตกรรม 1.การสร้างนวัตกรรม เป็นงานต้องการความรู้ ความเฉลียวฉลาด  มีความยากลำบากต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง  มีจุดมุ่งหมาย มีความอดทนสูง รวมทั้งความต่อเนื่องและความรับผิดชอบอย่างจริงจัง 2.การสร้างนวัตกรรมต้องสร้างมาจากจุดเด่นของผู้ประดิษฐ์คิดค้นและจุดเด่นขององค์กรเพื่อพัฒนานวัตกรรมนั้นๆ3.การสร้างนวัตกรรมต้องให้ความสำคัญกับตลาดที่นวัตกรรมนั้นๆ ได้นำเสนอต่อตลาด    

      การสร้างนวัตกรรมในองค์กร ไม่ใช่เพียงแต่จะจ้างบุคคลที่มีความสามารถให้มาทำงานที่เหมาะสมหรือมีเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเท่านั้น  การสร้างปััจจัยตางๆ เหล่านี้มีความจำเป็นที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการคิดและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นมาในองค์กร 1.ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี  เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกคน 2.รู้จักปกป้องสิทธิของตนเองรวมถึงเคารพสิทธิของผู้อื่่นตามสมควร  3.มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดี 4.รู้จักคิดในสิ่งที่ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน ฉีกตัวเองออกมาจากวิธีคิดที่เป็นระบบ ระเบียบตามขั้นตอนแบบเดิม  เพื่อให้ได้แนวคิดใหม่ๆ 5.รู้จักคิดปะติดปะต่อ นำสิ่งที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ๆ

      บรรณานุกรม 1."นวัตกรรม ศิลปะการคิดค้นสำหรับผู้ประกอบการ", วารสาร MBA ฉบับเดือนพฤษภาคม 2545. 2."ศิลปะการคิดค้นนวัตกรรมของ IDEO", วารสาร MBA ฉบับเดือนพฤษภาคม 2545. 3."แบบแผนการสร้างนวัตกรรม" , วารสาร MBA ฉบับเดือนเมษายน 2546. 4."สุดยอดกลยุทธ์" อนุวัฒน์ ทรัพย์พืชผล , แมคกรอ-ฮิล อินเตอร์แนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพรส์มอิงค์ 1996.                                                                                                                                      

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 424866เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2011 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท