ผ้าทอยกดอกวัดต้นแก้ว


ผ้าทอเวียงยองถือเป็นสิ้นค้า OTOP ระดับห้าดาวของตำบลเวียงยองและของจังหวัดลำพูน

ประวัติผ้าทอยกดอก

            ผ้าทอยกดอกลำพูนนั้นเริ่มตั้งแต่สมัยของเจ้าหญิงส่วนบุญ พระชายาของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจาก พระชายาเจ้าดารารัศมีในสมัยรัชกาลที่ ๕ นำมาเผยแพร่ ฝึกหัดผู้คนในคุ้มหลวง และได้นำมาทอกันเองตามบ้าน นับว่าเป็นผ้าที่มีลักษณะเฉพาะ และแสดงถึง เอกลักษณ์ของจังหวัดลำพูน ลวดลายการทอนั้นมีความสวยงาม สื่อถึงความเป็นท้องถิ่น สามารถทอได้ทั้งผ้าฝ้าย และผ้าไหม ปัจจุบันได้รับการคัดเลือก ให้เป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่โดดเด่นของจังหวัดลำพูน และของตำบลเวียงยอ 

  วัสดุที่ใช้ในการทอ

              วัสดุที่ใช้ในการทอผ้านั้นประกอบด้วย เส้นใย สีย้อมธรรมชาติ และ สีย้อมทางวิทยาศาสตร์ เส้นใยที่นิยมใช้ในการทอผ้าทั่วๆไปนั้น แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่

              ๑. ฝ้าย เป็นเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากพืช ซึ่งปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ส่วนดอกฝ้ายที่แก่จัดแตกเป็นปุยสีขาว ยาวประมาณ ๒.๕ ๖ ซม.ขึ้นอยู่กัน แต่ละสายพันธุ์ นำฝ้ายที่ปลูกนั้นไปผ่านกรรมวิธีจนเป็นเส้นด้ายแล้วจึงนำมาทอเป็นผืนผ้าไหมและฝ้ายประเภทต่างๆ

                ๒. ไหม เป็นเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากสัตว์ อาหารของไหม ของใบไหม เริ่มจากเป็นหนอนไหม ตัวดักแด้ และเป็นตัวผีเสื้อ กัดรังไหมออกมา ขณะเป็นตัวดักแด้ จะสร้างรังไหมโดยใช้ใยห่อหุ้มตัวเองจนโตเต็มที่แล้วก็จะเป็นรังไหม เส้นใยที่ได้นั้นเราก็ได้มาจากรังไหมก่อนที่มันจะเป็นตัวผีเสื้อนี้เอง นำรังไหมที่ได้ไปต้มในน้ำร้อน เพื่อให้ขี้ผึ้งที่หุ้มเส้นใยอ่อนตัว สาวออกมาเป็นเส้นไหมยาวติดต่อกันจนหมดรังไหม แล้วนำไปผ่านกรรมวิธีการต่างๆ จนได้เป็นเส้นไหมออกมาแล้วนำไปทอเป็นผ้าไหม

                ๓. เส้นใยประดิษฐ์  เป็นชื่อเรียกของผู้ทอผ้าทั่วๆไป ใช้เรียกเส้นใยกึ่งสังเคราะห์ที่ผลิตจากเซลลูโลสของพืช เช่น เนื้อไม้และเศษฝ้าย และเส้นใยสังเคราะห์ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีการทางเคมี จากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จนได้เป็นเส้นใย

  

สีย้อมที่ใช้ในการย้อมเส้นด้ายและเส้นไหม 

               สีย้อมที่ใช้ย้อมผ้าไหม เส้นใยประดิษฐ์ ในการทอผ้านั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

                ๑.สีธรรมชาติ ส่วนมากจะได้มาจากพืชและส่วนของพืชชนิดต่าง เช่นแก่นขนุน หัวหรือเหง้าขมิ้นชัน เปลือกกระหูด ต้นคราม ลูกมะเกลือ ดอกคำฝอย รากยอป่า มูลครั่ง เป็นต้น

               ๒.สีวิทยาศาสตร์ เป็นสีที่ผสมขึ้นโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น สีเบสิค สีแอสิค สีไดเร็ด สีรีแอ็คทีฟ สีแวต เป็นต้น

                นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ต่างๆที่สำคัญอีกมากมายหลายอย่างที่ใช้ในการทอผ้า เช่น หัวม้วนกี่ ,รางโว้นหรือรางคัน, จะขัดหรือฟืม, โครงกี่, ระวิง, กวง, บะกวัก, หลอดด้ายเดิน, ไน, หลอดด้ายกระสวย เป็นต้น 

  

ภาพฝ้ายหรือไหมสีต่างๆ

ภาพกี่และโรงทอผ้าของกลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุวัดต้นแก้ว ภายในวัดต้นแก้ว

ขั้นตอนการทอ      

                ๑.การกวักฝ้าย คือการนำเอาฝ้ายปีดที่เก็บไว้มากลิ้งด้วยอุปกรณ์ ๓ ชนิด คือ กวง  หางเหน  และ บะกวัก โดยนำฝ้ายปีดมาใส่กวง นำบะกวักมาใส่หางเหน ใช้มือดึงฝ้ายมาผูกติดกับบะกวัก แล้วใช้ไม้แกว่งหมุน ที่บะกวัก ให้รอบหางเหน เส้นด้ายก็จะดึงกวงแกว่งไป ด้ายฝ้ายในกวงก็จะย้ายมาอยู่ในบะกวัก

 

 ภาพการกวักฝ้าย

                ๒. การโว้น  คือการเดินเส้นฝ้ายเพื่อเตรียมเป็นเส้นฝ้ายยืน เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการออกแบบ เริ่มการดึงฝ้ายจากบะกวักผ่านราวไม้มาคล้องกับฝักขอ ดึงพร้อมๆกันคราวละ ๔๐ เส้น เรียกว่า ๑ หลบ ผ้าถุง ผ้าซิ้นจะใช้ประมาณ ๓๐ หลบ เมื่อจัดเตรียมเสร็จจะเรียกชุดเส้นฝ้ายนี้ว่า ๑ เครือหูก

  

          

 

          ภาพการโว้นหูก

 

                 ๓. การสืบหูก คือการนำฝ้ายที่โว้นเสร็จแล้วมาใส่กี่ คลี่เพื่อกระจายเส้นฝ้ายออก แล้วนำมาผูกติดกับฟืม ในการผูกนี้ต้องใช้ความพยายามมาก เพราะใช้ฝ้ายแต่ละเส้นผูกติดกันจนครบตลอดรูฟืมทั้งหมด

ภาพการสืบหูก

 

                ๔.การเก็บเขาย่ำ คือการร้อยเส้นฝ่าย ๒ จุด ที่เส้นฝ้ายสลับกับเส้นไนล่อนทั้งด้านบนและด้านล้างของเส้นฝ้ายยืนทุกเส้น เพื่อตะกรอฝ้ายขึ้น-ลง

                                ๕. การเก็บเขาดอก คือการออกแบบลวดลายตามที่ต้องการ ลายที่เป็นเอกลักษณ์ได้แก่ ลายดอกพอกุล ลายแก้วเชิงดวง เป็นต้น โดยออกแบบบนสมุดกราฟก่อน

                ๖. การทอผ้า ( ทอด้วยมือ ) โดยใช้กี่พื้นเมืองมีขั้นตอนดังนี้

  • Ø        ยกเขาดอกสอด
  • Ø        สอดไม้หลาบแล้วดึงไม้หลาบขึ้น
  • Ø        พุ่งกระสวย
  • Ø        เหยียบไม้แป ( อยู่ด้านล่างเพื่อเหยียบตะกรอ )
  • Ø        กระแทก ๒-๓ ครั้ง เพื่อความหนาแน่น และคุณภาพของเนื้อผ้ายกดอก

 

      ภาพลวดลายผ้าทอที่ทอเสร็จแล้ว

               ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่าในการทอผ้าเพื่อนำมาใช้ของคนในสมัยก่อนนั้น กว่าจะได้ผ้าแต่ละชิ้น แต่ละผืนนั้นต้องใช้ทั้งความพยายาม ความเอาใจใส่ และใช้เวลานานมากกว่าเราจะได้ผ้าผืนหนึ่ง และผ้าแต่ละผืนที่ได้นั้นล้วนสวยงามและมี่คุณค่าอย่างยิ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้การทอผ้ายกดอกนั้นเริ่มจะหายไปมากแล้ว ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ชาวตำบลเวียงยองเขาได้ช่วยกันอนุลักษณ์ผ้าทอยกดองนี้เอาไว้เพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักและยังคงเหลือไว้อยู่ให้คู่กับจังหวัดลำพูนต่อไป

ภาพการทอผ้าด้วยกี่

 

ขอขอคุณข้อมูลจาก ท่านพระครูไพศาลธีรคุณและกลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุวัดต้นแก้ว

 

 

หมายเลขบันทึก: 424626เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2011 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เป็นบทความที่มีคุณค่ามากเลยครับ
  • เขียนต่อนะครับ เขียนต่อไป...
  • ปณิธิ ภูศรีเทศ

ขอบคุณมากครับ พอดีผมพึ่งหัดทำก็เลยดูไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ผิดพราดประการใดก็โปรดชี้แนะด้วยนะครับ

ผ้าทอยกดอกลำพูน ถือว่าเป็นผ้าชั้นหนึ่ง สวย แพง และมีคุณค่ามาก มีชื่อเสียงในระดับประเทศ ขอให้สืบทอดไว้ชั่วกาลนาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท