หมอเทวดา มีจริงหรือ


ถ้าคุณโชคดี มีญาติเป็นหมอ มีเพื่อนสนิทเป็นหมอ คุณคงไม่ลังเลที่จะโทรไปปรึกษา หอบยาทั้งตะกร้าไปให้ดู หรือแม้แต่ไหว้วานให้มาดูคนไข้ที่บ้าน

 

Version:1.0 StartHTML:0000000167 EndHTML:0000025989 StartFragment:0000000452 EndFragment:0000025973

ลองนึกดูว่า คุณมีญาติผู้ใหญ่ เพิ่งออกจากรพ. ด้วยโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน กลับมาพักฟื้นที่บ้าน พร้อมถังออกซิเจน เพราะยังเหนื่อย ต้องดมออกซิเจนอย่างน้อยวันละสองครั้ง  ต้องกินยา๕ ชนิด ที่ทั้งคุณและคนไข้ก็จำไม่ได้ว่าสรรพคุณเป็นอย่างไร  แม้หมอจะอธิบายแล้ว 

กินๆไป ก็อาจมีผลข้างเคียง หรือผลจากการที่ยาออกฤทธิ์ตีกันกับยาขนานอื่น  เช่น เลือดออกในตา...น่าตกใจมั๊ย

กินๆไป อาการเหนื่อยก็ยังไม่ดีขึ้น(ดั่งใจ) แถมหลังกินอิ่มยิ่งเหนื่อยมากขึ้น เลยอาจพาลโทษว่ายาทำให้เหนื่อย ทำท่าจะเลิกกินยา

บางคนพออาการไม่ดีขึ้นดังใจ ก็ไปหาหมอใกล้บ้านที่ไม่รู้ว่า ญาติ(คนไข้)ของคุณกำลังกินยาอะไรอยู่ และก็ไม่ใส่ใจจะซักให้ละเอียด ก็ให้ยาชนิดเดียวกันกับที่กำลังกิน(ซึ่งคุณก็ไม่รู่่้อีกว่า ซ้ำกัน เพราะหมอใกล้บ้านก็ไม่รู้)   เลยได้ยาสองเด้ง  เสี่ยงต่อฤทธิ์ยาเกินขนาด

คุณจะทำอย่างไรในสถานการณ์ที่ผมกล่าวมานี้

ถ้าคุณโชคดี มีญาติเป็นหมอ มีเพื่อนสนิทเป็นหมอ  คุณคงไม่ลังเลที่จะโทรไปปรึกษา หอบยาทั้งตะกร้าไปให้ดู หรือแม้แต่ไหว้วานให้มาดูคนไข้ที่บ้าน  

แต่จะมีคนไทยสักเท่าใดที่โชคดีแบบนี้กันเชียว

แม้วันนี้ คนไทยเกินกว่าร้อยละ ๙๕ มีหลักประกันสุขภาพ 

แม้ว้นนี้ ทุกตำบลมีสถานีอนามัย ที่มีพยาบาลประจำ  ทุกอำเภอมีรพ.ชุมชน

แม้วันนี้ ในเมืองใหญ่ๆ มีคลินิกและรพ.ทั้งของรัฐและเอกชน ยุบยับไปหมด

แต่ ก็คงเห็นได้ชัดว่า หาคนโชคดีอย่างที่กล่าวข้างต้นยากจัง



ทำอย่างไร คนไทยจึงจะโชคดี แบบนี้กันถ้วนหน้า หนอ

เพื่อชวนคิดหาคำตอบ  ลองคิดต่อไปสิครับว่า คนไทยที่บังเอิญโชคดี เหล่านั้น เขาได้หมอเทวดาที่รู้ไปหมดทุกโรค รู้ไปหมดว่ายาอย่างใหนมีฤทธิ์ มีสรรพคุณอะไร มีผลข้างเคียงอะไร อาจออกฤทธิ์ตีกับยาอื่นอย่างไร  รู้แม้กระทั่งว่า อาการเจ็บป่วย คือโรคหรือความผิดปกติอะไรกันแน่

มีมั๊ยครับ หมอเทวดา พรรณนี้น่ะ

โอ๊ย คงต้องรอชาติหน้าตอนบ่ายๆ กระมั่ง

ผมว่า อย่าไปถามหาเลยครับ  ไม่มีวันเจอดอก  หาไม่คงไม่มีแพทย์แตกแขนงแยกย่อย ไม่มียาใหม่ๆ การผ่าตัดใหม่ เทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นนับไม่ถ้วนอย่างไม่ขาดสาย ดังที่เป็นอยู่หรอก

นี่คือความจริงของโลก เป็นความจริงที่ทุกสาขาวิชา ทุกอาชีพ ต่างเผชิญ  ไม่ใช่ของแปลกใหม่อะไร จริงมั๊ยครับ



เอ แล้วคนโชคดีที่ว่า นี่ ตกลงโชคดีจริงรึเปล่าว



สำหรับคนที่เชื่อว่าตนเองโชคดี ดูเหมือน เขาคงเชื่อว่า เขาได้ความช่วยเหลือจาก หมอที่วางใจได้ และสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก แม้ตระหนักว่า หมอคนนั้นไม่ได้เป็นหมอเทวดาอย่างที่กล่าวมา บางครั้ง หมอที่วางใจได้ ก็แนะผิด วินิจฉัยผิด แต่เขาก็ ไม่โกรธแค้น เพราะเขาเชื่อว่า ความผิดพลาดนั้นไม่ได้มาจากเจตนาแอบแฝง แต่เป็นความไม่รู้เสียมากกว่า



หมอที่วางใจไ้ด้ และเข้าถึงได้สะดวก อาจเป็นหมอหัวใจ หมอกระดูก จิตแพทย์ หมอทั่วไป หมอเด็ก หมอนรีเวช หรือแม้แต่พยาบาล ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นหมอสาขาใด สิ่งที่หมอเหล่านี้มีเหมือนกันคือ

) ความปรารถนาดีต่อคนไข้อย่างบริสุทธิ์ (ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง)

) ความรู้ ความเข้าใจพื้นเพ ชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมของคนไข้ และครอบครัวของคนไข้มากเป็นพิเศษ(ไม่ได้แปลว่ารุ้หมดทุกอย่างนะครับ)

) ความรู้ ว่าในวงการแพทย์ด้วยกัน(เท่าที่เขารู้จัก ซึ่งย่อมมากกว่าชาวบ้านแน่นอน) หมอคนไหน เก่งด้านไหน อ่อนด้านไหน ไว้ใจได้แค่ไหน รพ.ไหนเก่งด้านใด อ่อนด้านใด ไว้ใจได้แค่ไหน

) ตระหนักว่าตนเองมีข้อจำกัดอะไร ไม่ถนัด ไม่รู้อะไร และพร้อมจะขอความช่วยเหลือจากหมอคนอื่นที่เก่งกว่า

บางคนได้ยิน คำว่า "หรือ แม้แต่พยาบาล" อาจเกิดคำถามในใจว่า จริงหรือ พยาบาลจะมีสิ่งเหล่านั้นที่หมอมีนะ



ผมยังจำเรื่องราวที่เพื่อนแพทย์ร่วมรุ่นเล่าสู่กันฟังได้่ว่า สมัยเป็นแพทย์ฝีกหัด

"ผมเรียนวิธีผ่าตัดเอานิ่วในกรวยไตออกจากพี่พยาบาล"

ฉันผ่าตัดไส้ติ่งที่ซ่อนอยู่หลังลำไส้ใหญ่ได้สำเร็จ ก็เพราะพี่พยาบาลคนนั้นแหละแนะวิธีผ่าตัดให้"

รู้มั๊ย ตอนตรวจปัสสาวะยืนยันการตั้งครรภ์ครั้งแรก ใครสอนฉัน ก็เพื่อนพยาบาลในหอคนไข้ สูติกรรมที่รพ.นั่นเอง"

ฯลฯ



เป็นไงครับ ตกลงพยาบาล(บางคน) เป็นครูแพทย์ได้สบาย แต่เพราะพวกเธอไม่มีใบรับรอง ก็เลยถูกมองว่า ไม่รู้อะไร มากเท่าแพทย์



เพื่อนรุ่นน้องของผมตอนไปเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมินิโซต้า สหรัฐอเมริกา เกิดป่วยขึ้นมา ต้องกินยาเลยไปคลินิกดูแลนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ปรากกฎว่า คนที่ตรวจรักษาคือ พยาบาล ครับ



ในประเทศตะวันตก มีการทดลองให้พยาบาลรักษาคนไข้ความดันเลือดสูง หรือ เบาหวานที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน หรือโรคร่วม เปรียบเทียบกับให้แพทย์รักษา ปรากฎว่า ผ่านไปหนึ่งปี ผลการรักษาไม่ต่างกัน ยกเว้น คนไข้พอใจการดูแลของพยาบาลมากกว่า เพราะพยาบาลมักยินดีให้คำปรึกษา แนะนำ และฟังคนไข้บ่นมากกว่าแพทย์



ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีอนามัยเกือบหนึ่งหมื่นแห่งกระจายอยู่ทุกตำบลทั่วประเทศ หลายแห่งมีพยาบาลมากกว่า ๑คน ในรพ.ชุมชนเจ็ดร้อยกว่าแห่ง กระจายในแต่ละอำเภอ มีพยาบาลทำหน้าที่ช่วยแพทย์ตรวจรักษาคนไข้ บางแห่งทำหน้าที่แทนแพทย์ โดยเฉพาะนอกเวลาราชการ แม้แต่ในรพ.ขนาดใหญ่ นอกเวลาราชการ พยาบาลทำหน้าที่ดมยาสลบแทนแพทย์ ดูแลคนไข้ฉุกเฉินแทนแพทย์

ทั้งหมดนี้ คือ ทรัพยากรบุคคลในวงการแพทย์ไทย ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะสวมบทบาท หมอที่วางใจได้ และสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก ถ้า...

  1. แพทย์ มีใจที่จะเผื่อแผ่ ความเป็น หมอที่วางใจได้ และสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก ให้กว้างไกลออกไปพ้นวงศ์ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทตัวเอง ซึ่งไม่จำเป็นว่าแพทย์ต้องปฎิบัติเช่นนี้ด้วยตนเอง แต่แพทย์อาจฝึกฝน ส่งเสริม สนับสนุนพยาบาลและบุคลากรอื่นๆในรพ. ในเครือข่ายของตนให้ทำแทน

  2. ข้อมูลการดูแลรักษาคนไข้ในทุกรพ. ทุกคลินิก ทุกสถานีอนามัย เชื่อมต่อกันได้อย่างไร้พรมแดน(แต่มีระบบคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลอย่างแน่นหนา) ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ไม่ยากด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศอันทรงพลังในปัจจุบัน(เพียงนาทีเดียวเฉพาะเฟสบุ๊คมีคนเข้าไปใช้ ๑ล้าน ๗แสนครั้ง)

ฯลฯ

















 

 

หมายเลขบันทึก: 424524เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2011 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท