ปารินุช
นางสาว ปารินุช บริสุทธิ์ศรี

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาไทยกับกระแสโลกาภิวัตน์


กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาไทยกับกระแสโลกาภิวัตน์

               ในปัจจุบัน องค์การระหว่างประเทศหลายแห่งได้ให้ความสนใจแก่การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ เพราะทรัพย์สินทางปัญญาไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย อาหาร หรือแม้กระทั่งวิถีชีวิตของผู้คนทั่วไป  แต่องค์การระหว่างประเทศประเทศและอิทธีพลต่อการกำหนดนโยบายระหว่างประเทศและอิทธิพลต่อการตรากฎหมายภายในของแต่ละประเทศมากที่สุดก็คือ   องค์การการค้าโลก (World Trade Organization)   และองค์การทรัพย์สินทางปัญญา (World Intellectual Property Organization)                               

                แม้ว่าประเทศไทยได้พัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นเวลาหลายสิบปีแต่ปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศเพียง ๒ ฉบับเท่านั้น  คือ อนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม และความตกลงศิลปกรรม และความตกลงทริปส์   ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานองค์การระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากความตกลง ทั้งสองฉบับ  ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฎิบัติตามแล้วมีความตกลงระหว่างประเทศอีกหลายฉบับที่อยู่ระหว่างประเทศศึกษา ปรับปรุงและแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งโดยองค์การการค้าโลก (World Trade Organization)   และองค์การทรัพย์สินทางปัญญา (World Intellectual Property Organization)                          

                 แม้ว่าในปัจจุบัน  องค์การการค้าโลกจะไม่มีนโยบาลในการสร้างความตกลงฉบับอื่นนอกเหนือไปจากความตกลงทริปส์  แต่ประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญาก็ยังถือเป็นประเด็นที่โต้แย้งกันยาวนานในองค์การการค้าโลก  ผู้ที่รับผิดชอบก็คือคณะมนตรีของทริปส์  โดยในปัจจุบันคณะมนตรีของทริปส์มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ มากมายเช่น ผลกระทบของทรัพย์สินทางปัญญาต่อการเข้าถึงยา ความสัมพันธ์ระหว่างความตกลงทริปส์กับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต   การจัดตตั้งระบบพหุภาคีเพื่อการจดแจ้งและการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการขยายการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสินค้าอื่นนอกเหนือจากไวน์ และสุรา                           

                    องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก ได้พัฒนาความตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับเสร็จ และมีอีกหลายฉบับที่อยู่ระหว่างการเจรจา สาระสำคัญของความตกลงระหว่างประเทศเหล่านี้อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเทศคือ ความตกลงที่เกี่ยวกับสิทธิบัตร ( Patent Agende)  และความตกลงที่เกี่ยวกับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า วาระดิจิทัล  (Digital  Agende)   การดำเนินการนี้เป็นไปเพื่อขยายขอบเขตความคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี โดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก ได้ดำเนินการร่าง สนธิสัญญาอินเทอร์เน็ต   แล้วเสรจ็ตั้งแต่ปี ค.ศ ๑๙๙๖   สนธิสัญญาอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยสนธิสัญญา ๒ฉบับ สนธิสัญญาสิขสิทธิ์ และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง สาระสำคัญ ทั้งสอง ฉบับครองคลุมประเด็นต่างๆ หลายประเด็นด้วยกัน เช่น การห้ามการทำซ้ำชั่วคราว การรับรองสิทธิ์ในการจำหน่ายการคุ้มครองมาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงเทคโนโลยี การคุ้มครองข้อมูล บริหารสิทธิ์ และการจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต         

                   จะเห็นได้ว่า กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศมีอิทธิพลอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนของประเทศไทยต้องต้องให้ความสนใจแก่กระแสการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น  เป็นที่น่ายินดีว่า หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้สร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการพัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และมีบทบาทในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทีเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น   ประสบการณเหล่านี้ได้ช่วยให้ประเทศไทยเข้าใจประเด็นข้อขัดแย้งในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างสึกซึ้ง  และบุคลากรของประเทศไทยก็ได้เพิ่มพูนทักษะการเจรจาในเวทีระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น  จึงมั่นใจได้ว่าในการเจรจาประเด็นต่างๆ ในระดับระหว่างประเทศ  รัฐต้องสามารถบรรลุผลการเจรจาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชนโดยรวมอย่างแท้จริง  

หมายเลขบันทึก: 42443เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยว่าปัจจุบันนี้ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องมาก

ขอบคุญพี่ต๋อย มากนะค่ะ

ผมว่ากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญมากกับการประกอบธุรกิจและการคิดค้นสิ่งสร้างสรรค์ต่างในปัจจุบัน

อ่านแล้วมีความรู้ขึ้นเยอะเลยครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท