กุลมาตา
นาง ธันยา พิชัยแพทย์(นามสกุลเดิม) แม็คคอสแลนด์

ธรรมะเรื่องการสร้างฐานะของคฤหัสถ์(จาก...พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต อันธสูตร)


พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายวันหนึ่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีบุคคล ๓ ประเภท คือ คนตาบอดสนิท คนตาบอดข้างเดียว และคนตาดีทั้ง ๒ ข้าง”

 

 

 

 

 

 

 

ถกเถียงกันตั้งแต่วงเล็กๆ จนถึงวงกว้างๆ

เรื่องการสร้างฐานะของคฤหัสถ์หรือบุคคลทั่วไป

ซึ่งมิใช่ “นักบวช” หรือพูดให้ฟังง่ายๆ

คือกลุ่มคนทางโลกที่ยังต้องทำมาหากิน

ต้องกินต้องใช้ ต้องเก็บสะสมไว้ยามจำเป็นยามชรา

..

จากประสบการณ์..ดิฉันพบว่า

มีคนสามกลุ่มใหญ่ๆ ที่ประพฤติต่างกัน

ในเรื่องการสร้างฐานะดังนี้

 

กลุ่มที่หนึ่ง..ไม่สะสมทรัพย์ไม่สร้างฐานะได้มาก็ใช้หมดไป

แถมเป็นหนี้ หรือมีทรัพย์สมบัติเดิมก็ผลาญทำลาย

เดือดร้อนทุกข์ยาก บางคนถึงกับโกง

ฉ้อฉลเอาเปรียบคนอื่นทุกวิถีทางที่จะทำได้

ซึ่งหลายคนก็ไปจบชีวิตในคุกในตารางตามกรรม

 

กลุ่มที่สอง..กลุ่มนี้ทั้งหาเงินทั้งใช้อย่างที่เรียกว่าตัวเป็นเกลียว

หาได้เท่าไหร่ไม่พอใจอยากให้รวยมากขึ้นๆ

ก็เป็นสาเหตุให้โกงกินกัน ยิ่งกว่ากลุ่มแรกเสียอีก

 

กลุ่มที่สาม..กลุ่มนี้ล่ะ..สุดยอด..สร้างฐานะตามกำลัง

มีกินมีใช้ มีเก็บพอเพียงตามหลักของในหลวงท่าน

และทำบุญบริจาคการกุศลด้วย ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียว

ไม่มีหนี้หรือหนี้พอสมควรไม่เดือดร้อน

..

ดิฉันไม่อยากถกเถียงกลุ่มคนโกง เอาเปรียบดิฉัน

หรือบุคคลอื่นด้วยความคิดแคบๆ ของตัวเอง

จึงศึกษาข้อธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

ปรากฎว่าพระพุทธองค์ท่านตรัสสอนไว้ใน

"พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  ติกนิบาต  อันธสูตร" ดังนี้

..

 

 

อันธสูตร
“คนตาบอดในทรรศนะพระพุทธศาสนา”

พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายวันหนึ่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีบุคคล ๓ ประเภท  คือ  คนตาบอดสนิท  คนตาบอดข้างเดียว และคนตาดีทั้ง ๒ ข้าง”
 

พระองค์ทรงอธิบายต่อไปว่า

“คนตาบอดสนิท”  หมายถึงคนที่ไม่สามารถตั้งเนื้อตั้งตัวทางทรัพย์สิน  ไม่สามารถทำทรัพย์สมบัติของตระกูลให้เจริญไพศาลได้  ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรมีโทษอะไรไม่มีโทษ (นี้เป็นคนตาบอดสนิททั้งทางโลกและทางธรรม)
 

“คนตาบอดข้างเดียว”  หมายถึงคนที่ประสบความสำเร็จในทางแสวงหาทรัพย์สินและทำความเจริญงอกงามแก่ทรัพย์ที่หามาได้นั้น  แต่ล้มเหลวทางศีลธรรม ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ

(นี้เรียกว่าทางโลกไม่บอด แต่ทางธรรมบอด)

 

“คนตาดีทั้งสองข้าง”  หมายถึงคนที่ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ทางทรัพย์สินและประสบความสำเร็จในทางธรรม คือรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรมีโทษ

(นี้เรียกว่าทางโลกก็ไม่บอด ทางธรรมก็ไม่บอด)
 

ข้อความนี้มาจาก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาตร คัดมาเป็นเครื่องเตือนใจ ควรแยกว่าคฤหัสถ์กับบรรชิตไม่เหมือนกัน ชาวพุทธเป็นคฤหัสถ์นั้น 

พระพุทธองค์ทรงสอนให้แสวงหาทรัพย์สินในทางสุจริตเพื่อเลี้ยงตนและครอบครัว  และเพื่อเจือจุนสังคม  ไม่เคยสอนให้คฤหัสถ์ทำตนเป็นคนยากจน  แต่ทรงเน้นว่า เมื่อร่ำรวยแล้วให้สละทรัพย์สินที่มีช่วยเหลือสังคม  และเมื่อประสบความสำเร็จทางทรัพย์สินแล้วให้ก้าวไปสู่ความเจริญทางคุณธรรมด้วย  อย่างนี้จึงจะชื่อว่า “คนตาดีทั้งสองข้าง” 

ส่วนภิกษุนั้นทรงสอนให้มักน้อยในปัจจัยสี่ แต่พัฒนาด้านจิตใจ ลด ละ กิเลสตามลำดับจนหมดสิ้นไปในที่สุด

คฤหัสถ์ชาวพุทธเป็นอาเสี่ยน่ะดี แต่ภิกษุจะทำตนเป็น”หลวงเสี่ย” มีแต่ทางเสียครับ

 

 

อ้างอิงจากhttp://www.phrasiarn.com/?topic=332.10;imode

 

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า

คนตาบอดมืด   เคราะห์ร้ายทั้ง ๒ ทาง  คือ  โภค

 ทรัพย์อย่างที่ว่าก็ไม่มี  ความดีก็ไม่ทำ

 

 ส่วนอีกคนหนึ่งนี้ เรียกว่า  บุคคลตาเดียว  ไม่

 เกี่ยวในเรื่องธรรมและอธรรม   แสวงหาแต่โภค

 ทรัพย์   เป็นคนครองกามที่ฉลาดรวบรวมทรัพย์

 ด้วยการขโมย การโกงและการปลิ้นปล้อน  

 บุคคลตาเดียวนั้นละจากโลกนี้แล้วไปนรก  ย่อม

 เดือดร้อน

 

 ส่วนผู้ที่เรียกว่าคนสองตา    เป็นบุคคลประเสริฐ   

 ให้ทรัพย์ที่ได้ด้วยความขยัน   จากกองโภคะที่ตน

 หาได้โดยชอบ(เป็นทาน)   มีความคิดสูง  มีใจไม่

 เคลือบแคลง   ย่อมเข้าถึงฐานะอันเจริญ    ซึ่ง

 เป็นฐานะที่ถึงแล้วไม่เศร้าใจ

 

 ควรหลีกคนบอดและคนตาเดียวเสีย ให้ไกล   

 ควรคบแต่คนสองตาซึ่งเป็นบุคคลประเสริฐ

 

 (จาก...พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  ติก

 นิบาต  อันธสูตร)

 

 

 

ชีวิตของแต่ละบุคคลที่ดำเนินไปในแต่ละวันนั้น  แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นผลของกรรม  โดยเป็นผลของกุศลกรรม และเป็นผลของอกุศลกรรม    อีกส่วนหนึ่งเป็นการสร้างเหตุใหม่ที่จะให้เกิดผลข้างหน้า คือ กุศลกรรม และ อกุศลกรรม    ในกรรมสองอย่างนั้น  อกุศลกรรม เป็นที่พึ่งไม่ได้   กุศลกรรมเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งได้       ชีวิตของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น    จึงมีทั้งทำดีบ้าง  ทำชั่วบ้าง   เป็นไปตามการสะสม

สำหรับผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมและมีความเข้าใจไปตามลำดับ  ย่อมรู้ว่าอะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล  อะไรควรทำ  อะไรควรเว้น  ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยเกื้อกูลให้การดำเนินชีวิตเป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงาม  มีความสุจริตทั้งทางกาย ทางวาจา  และทางใจ ได้

จากบุคคล ๓ จำพวกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในอันธสูตรนั้น  ไม่ควรเอาแบบอย่าง ๒ บุคคลแรก   กล่าวคือ  บุคคลที่ ๑ (คนตาบอด) เป็นผู้ไม่ได้กระทำความดีเลย  ชีวิตก็ลำบากอยู่แล้วยังไม่กระทำที่พึ่งให้แก่ตนอีก และบุคคลที่ ๒ (คนตาเดียว)  เป็นผู้ที่ไม่รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด  มุ่งกอบโกยเอาประโยชน์ของตนอย่างเดียว  สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และตัวเองก็ต้องเดือดร้อนเพราะการกระทำไม่ดีของตนเองอีกด้วย  ดังนั้น ท่านจึงให้เว้นบุคคล ๒ จำพวกแรก ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย  แต่พึงคบหาสมาคมกับบุคคลผู้ที่มีปัญญา มีความเข้าใจถูกเห็นถูก  ซึ่งเป็นผู้มีตาดีทั้งสองข้าง ที่รู้ทั้งวิธีการหาทรัพย์อย่างถูกต้อง      เมื่อได้ทรัพย์มาแล้วก็รู้จักแบ่งปัน  และมีความเข้าใจพระธรรมด้วย  เพราะการคบค้าสมาคมกับบุคคลประเภทนี้ มีแต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย.

http://www.our-teacher.com/our-teacher/article/4%20admonishment/52-blind%20man.htm

 

 

 



ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณข้อคิดดีๆที่นำมาแบ่งปันนะคะ

คุณยาย  ค.ห.๑

 

สวัสดีเช่นกันค่ะคุณยายคนสวย

นำคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระสูตร

มายืนยันกันดีกว่า

หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงท่าน

ก็ทำให้พวกเราตาดีทั้งสองข้างนะคะ

 

ทรัพย์ก็ไม่มี ความดีก็ไม่ทำ เป็นอันว่าจบกันชีวิต แล้วจะเหลืออะไรดีละครับคราวนี้ 

ท่านกวีธรรมโสภณ ค.ห.๒

 

นั่นสิคะ..ไม่สร้างตัว แถมไม่ทำความดี โกงทรัพย์คนอื่นอีก

พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่สรรเสริญ

แต่ก็ไม่สำนึกกันค่ะ นับวันจะมีมากขึ้น

"ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาวินาศ" แน่ตามคำสอนท่านพุทธทาส

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท