คบเพลิง กับงู
สมาคมลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ลูกจ้างสาธารณสุขทุกประเภท สิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย

สาส์นจากรัฐนมตรีกระทวงการคลัง จากบันทึกของ อาจารย์บุษยามาศ


ถึงลูกจ้างประจำของส่วนราชการ

สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึง ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ

สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึง ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ

                เนื่องจาก ผู้เขียน ได้อ่านสารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึง ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และเห็นว่ามีประโยชน์ต่อลูกจ้างประจำและผู้อ่าน จึงขอสรุปได้ ดังนี้ค่ะ...

                ลูกจ้างประจำของส่วนราชการเป็นบุคลากรภาครัฐประเภทหนึ่งซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนการทำงานของข้าราชการ และ นอกจากจะได้รับเงินค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานเป็นค่าจ้างแล้ว ยังได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น ๆ จากทางราชการตลอดเวลาที่รับราชการอยู่จนเมื่อพ้นจากราชการ อย่างไรก็ตาม ในระบบปัจจุบัน เมื่อลูกจ้างประจำพ้นจากราชการก็จะได้รับบำเหน็จซึ่งเป็นเงินก้อนในคราวเดียว ไม่มีสิทธิเลือกรับเป็นรายเดือน ทำให้ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไม่มีรายได้เป็นรายเดือน ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของท่านและเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนในเรื่องค่าครองชีพ รวมทั้งให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพภายหลังออกจากราชการ สำหรับกลุ่มคนที่ได้ปฏิบัติงานราชการมาเป็นเวลา 25 ปี กระทรวงการคลังจึงได้เสนอร่างระเบียบกระทรวงการคลังใหม่ เมื่อวันที่ 25 สิหงาคม 2552 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าว โดยให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป ซึ่งร่างระเบียบกระทรวงการคลังดังกล่าว เป็นการปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 ฉบับเดิม โดยกำหนดเพิ่มเติมให้ลูกจ้างประจำได้รับบำเหน็จรายเดือนและบำเหน็จพิเศษรายเดือนได้ ซึ่งผู้เขียนขอสรุปสาระสำคัญย่อ ๆ ดังนี้

                1. กำหนดให้ลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิรับบำเหน็จปกติ ซึ่งมีเวลาทำงานตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษ สามารถขอรับเป็นบำเหน็จรายเดือนหรือบำเหน็จพิเศษรายเดือนแทนก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อลูกจ้างประจำได้รับเงินดังกล่าวจากส่วนราชการผู้เบิกแล้ว จะขอเปลี่ยนแปลงความประสงค์ในการขอรับอีกไม่ได้

                 2. กำหนดให้สิทธิในบำเหน็จรายเดือนและบำเหน็จพิเศษรายเดือน เริ่มตั้งแต่ลูกจ้างประจำออกจากงาน จนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย

                 3. กำหนดให้บำเหน็จรายเดือน คำนวณจากค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนเดือนที่ทำงานหารด้วยสิบสอง ผลลัพธ์เป็นเท่าใดให้หารด้วยห้าสิบ

ตัวอย่าง  ในกรณีที่ลูกจ้างประจำรายหนึ่ง มีเวลาในการรับราชการ 30 ปี (12 X 30 ปี = 360 เดือน)

ค่าจ้างเดือนสุดท้าย 15,260 บาท

การคำนวณ  บำเหน็จรายเดือน  (ระบบใหม่ที่ปรับปรุง)

        บำเหน็จรายเดือน = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย X จำนวนเดือนที่ทำงาน

                                                            12 X 50

                                  = 15,260 X 360      =   9,156  บาท/เดือน

                                             12 X 50

การคำนวณ  บำเหน็จปกติ (ระบบเดิม)

        บำเหน็จปกติ        = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย X จำนวนเดือนที่ทำงาน

                                                               12

                                  = 15,260 X 360       =   457,800  บาท

                                               12

ดังนั้น ถ้าลูกจ้างประจำรายดังกล่าวออกจากราชการ และมีชีวิตหลังออกจากราชการอีก 20 ปี ตามระบบใหม่ที่ปรับปรุง (ซึ่งเป็นทางเลือก) จะได้เงินรวมทั้งหมด 9,156 X 20 X 12 = 2,197,440 บาท (โดยรับเป็นบำเหน็จรายเดือน เดือนละ 9,156 บาท)

                   4. กำหนดให้บำเหน็จพิเศษรายเดือน คำนวณโดยให้เจ้าสังกัดเป็นผู้กำหนดตามจำนวนที่เห็นสมควรแก่เหตุการณ์ประกอบกับความพิการและทุพพลภาพของลูกจ้างประจำ ดังนี้

                       (1) กรณีปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติ ให้คำนวณจากหกถึงยี่สิบสี่เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย ผลลัพธ์เป็นเท่าใดให้หารด้วยห้าสิบ

                       (2) กรณีปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ในระหว่างเวลาที่มีการรบการสงคราม การปราบปรามจลาจล หรือในระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้คำนวณจากสามสิบหกถึงสี่สิบสองเท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย ผลลัพธ์เป็นเท่าใดให้หารด้วยห้าสิบ

                    5. กำหนดให้ลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จปกติ หรือบำเหน็จพิเศษที่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงความประสงค์ขอรับเป็นบำเหน็จรายเดือนและบำเหน็จพิเศษรายเดือน ได้ที่ยังไม่ได้รับเงินบำเหน็จปกติหรือบำเหน็จพิเศษจากทางราชการ ในวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ สามารถแสดงความประสงค์ขอเปลี่ยนบำเหน็จปกติหรือบำเหน็จพิเศษเป็นบำเหน็จรายเดือนและบำเหน็จพิเศษรายเดือน แล้วแต่กรณีแทนได้

                    ซึ่ง ผู้เขียน หวังว่าคงเป็นข่าวดีที่ลูกจ้างประจำทุกท่านคงมีความมั่นใจในอนาคตของตนเองมากขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าลูกจ้างประจำทุกท่านจะช่วยกันปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้การดำเนินงานของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและส่งผลดีต่อประเทศชาติ โดยรวม

ที่มา : วารสารข่าว กสจ. ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552

หมายเลขบันทึก: 424148เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณอาจารย์บุษยามาศ ที่กรุณา ทางสมาคมลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขต้องขอขอบคุณอย่าง

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราก็กำลังศึกษารายละเอียดอยู่เหมือนกันค่ะ ส่วนมากแล้วจะเข้าบล๊อกของอาจารย์บุษยมาศ....ทำให้ทราบข้อมูลความก้าวหน้าต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี 
  • ดีใจแทนลูกจ้างทุก ๆ ท่าน กับสิทธิที่พึงจะได้รับ...ในครั้งนี้ค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ

                          

สวัสดีพี่น้องลูกจ้างส่วนราชการที่รักทุกท่าน  พวกเรามารวมตัวกันร่วมรักสามัคคี  เพื่อประโยชน์สูงสุดที่พึงมีพึงได้จากรัฐบาลกันดีมั้ย?  ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังจะบังคับใช้กฎหมายแรงงาน(ที่หมู่คณะของตนเคยรับปากกับประชาชนตอนหาเสียง?)แล้วพวกเราล่ะได้อะไรมั่ง...5%  ไม่สมดุลย์กับค่าครองชีพเลยแม้แต่น้อยฯ พวกเราแต่ละคนทำงานกันมานาน...20  กว่าปีและหลายๆคนมีปริญญาตรี-โทและเอกก็มี...แต่ผู้บังคับบัญชาส่วนใหญ่ไม่เคยเปิดโอกาส...ให้ลูกจ้างแสดงความสามารถ(ไม่เคยคิดปรับเปลี่ยนให้สัมพันธ์กับการศึกษาของลูกจ้าง***ยกเว้นกรณีที่เป็นคนโปรดของหัวหน้าส่วนฯ***)มิน่าล่ะเมืองไทยของเราถึงเป็นแบบนี้เพราะระบบสวามิภักดิ์ศักดินายังไม่สิ้นไปจากแผ่นดินไทยนี่เองฯคนที่มีความรู้ไม่มีงานทำรึไม่ก็คนที่ทำงานในหน้าที่ตำแหน่งนั้นๆรู้ไม่จริงกับงานประจำที่ตนรับผิดชอบ(เพราะผู้ใหญ่สั่งให้มาทำก็ทำได้แบบสักว่าทำ-ไม่มีอุดมคติในการทำงานเลยแม้แต่น้อย...อุดมการณ์อย่าพูดถึงเลย...ก็ขาดทั้งความรู้และอุดมคติแล้วจะมีอุดมการณ์ในการทำงานได้ไง?   ครับท่าน...สังคมของชาวสยามทั้งในอดีต-ปัจจุบัน...คนประเภทนี้มีมากเหลือเกินฯ  มากจนแต่ล่ะหน่วยงานพิการและเหมือนคนเป็นง่อย?...งานที่ใช้เวลาแค่2-3นาที่   แม่จ้าว+พ่อจ้าว?***ใช้เวลานานนับสัปดาห์...ส่วนงานที่ต้องใช้ความหยักพิเศษ(ของสมอง) พี่ท่าน+น้องท่านทำกันแรมปี...และผลสุดท้ายก็หาสำเร็จไม่???...ข้าพเจ้ากำลังจะเรียนท่านผู้มีอำนาจ...ว่าสมัยนี้ลูกจ้าง???ไม่ได้ไร้การศึกษาเช่นในอดีตแล้วจ้า...บางคนมีปริญญาถึง3ใบ3เอก3สาขาก็มีนะครับท่าน...ว่าแต่ข้าราชการตั้ง2ล้านกว่าคน...จะมีสักกี่...%  ที่ทำได้เช่นนี้...แต่ผู้บังคับบัญชาไม่เปิดโอกาส(สงสัยเป็นเพราะตัวเองความรู้แค่หางอึ่ง?...เลยคิดอะไรที่ต้องใช้สติปัญญาไม่ได้***รู้เฉพาะเรื่องเรื่องเดียวจริงๆ)ชอบสั่งให้คนอื่นทำทั้งๆที่ตนเองนั้นขาดทั้งสติปัญญา+ทักษะ***นี่ข้าพเจ้าเอาเรื่องจริงมาพูดนะครับท่าน***เพราะฉะนั้นตกทอดก็ต้อง30เท่า-ค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณก็ต้องมีเฉกเช่นเดียวกัน-สวัสดิการอื่นก็จะต้องไม่ต่างจากข้าราชการไทย(โดยเฉพาะคำสั่งนายกฯเรื่องบำเหน็จรายเดือนนั้น...น่าจะนำเรื่องนี้เข้า  ครม.ใหม่เพื่อให้ศักดิ์และสิทธิ์แห่งกฎหมายทัดเทียมกัน(ข้าราชการ VS ลูกจ้างประจำ(ข้าราชการวิสามัญ)  พวกเราต้องร่วมรักและสามัคคีกันทั้งลูกจ้างประจำและชั่วคราว(ลูกจ้างชั่วคราวที่รักท่านอย่าลืมสิ!  ว่าเราคือบรรพบุรุษของพวกท่าน)...มิเช่นนั้นเมื่อลูกจ้างประจำสูญพันธุ์แล้วท่านอยู่ได้อย่างใดฦฯลฯ

                                                                            ด้วยความปรารถนาดี

ป.ล.อยากเห็นลูกจ้างประจำฟื้นคืนชีพ...โทร.0872888029(โดยเฉพาะชาว จ. สตูล)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท